วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552
แกงสายบัว
เครื่องปรุง
สายบัวหั่นเป็นท่อนขนาดกำลังกิน
ปลาทูนึ่ง 1 ตัว
น้ำกะทิ 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขาม 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอย 3 หัว
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยเม็ด 10-15 เม็ด
วิธีทำ
เริ่มจากการนำเม็ดพริกไทยที่เตรียมไว้มาโขลกให้ละเอียด พร้อมกับหอมแดงซอยและกะปิ เมื่อโขลกจนละเอียดได้ที่แล้วตักใส่ถ้วยพักไว้ แล้วหันมาตั้งหม้อในไฟปานกลาง นำส่วนผสมที่โขลกพักไว้มาลงหม้อ คั่วให้หอมแล้วจึงเติมน้ำกะทิ เคี่ยวส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน
จากนั้นนำสายบัวที่หั่นเตรียมไว้ใสลงไป (เคล็ดลับของสายบัวอยู่ที่เมื่อลอกเปลือกสายบัวแล้วให้นำไปแช่ในน้ำเกลือเล็กน้อยเพื่อไม่ให้สายบัวดำ) จากนั้นนำปลาทูนึ่งมาแกะออกให้เหลือแต่เนื้อแล้วใส่ลงไป(หรือใครจะใส่ลงไปทั้งตัวก็แล้วแต่ความชอบ) อ้อ!กะทิต้องหมั่นคนระวังอย่าให้แตกมัน ก่อนเติมน้ำเปล่าลงไป
ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล น้ำมะขาม น้ำปลา ชิมรสให้ออกรส เค็ม และหวาน ต้มต่อจนสายบัวสุกนุ่ม คนให้ทั่ว จึงปิดไฟ ตักใส่ถ้วยกินกับข้าวสวยร้อน ๆ เพียงเท่านี้ไม่ยุ่งยากอร่อยอย่างไทยแท้ๆเชียว
การสร้างบทความใหม่
การสร้างบทความใหม่
1.ต้องเข้าให้ที่หน้าบล็อกของเรา เช่น http://sirisakpom.blogspot.com/พอเข้าไปแล้ว จะเห็นหน้าหลักของเรา
2. เสร็จแล้วให้ไปคลิกที่บทความใหม่
3.พอคลิกเข้าไปจะเห็นดังภาพนี้
4. ข้างในนั้นจะมีการเขียนข้อมูลได้
แบบแก้ไข Html
แบบ เขียน
เราเลือกอันนั้นก็ได้
ถ้าเป็นแบบแบบแก้ไข Html จะคล้ายเว็บไซค์ จะเห็นเป็นตัวบาร์โค้ด เช่น
สามารถคลิกเข้าเชื่อมต่อกับลิงค์แต่ละภาพได้ด้วย
ส่วนแบบเขียน
จะไม่สามารถคลิกเชื่อมต่อลิงค์ไปได้ ตอนที่เราใช้แบบเขียน จะมีรูปภาพปรากฏ มันจะขึ้นตรงการสร้างข้อมูล เช่น
5.พอเลือกได้แล้วก็หาข้อมูลใส่ และการสร้างข้อมูลใหม่สามารถ ใส่ลูกเล่นอื่นได้ด้วย เช่น
แทรกแท็กตัวหนา
แทรกแท็กตัวเอียง
แทรกลิงค์
แทรกการยกข้อความทั้งย่อหน้า
แทรกรูปภาพ
แทรกวีดีโอ
6.สามารถตั้งชื่อเรื่องที่เราคิดว่าน่าสนใจ
7.สวนข้างล่างสามารถเขียนลงไปได้โดย ที่ต้องการเป็นกลุ่มเป็นกลุ่ม เช่น
เราหาข้อผลไม้ได้ มะม่วง มะขาม มะยม เราสามารถจับกลุ่มนี้เข้าด้วยกันได้
โดยต้องเพิ่ม เพิ่ม Gadget ป้ายกำกับ ก่อนหน้านี้แล้ว
8.สุดท้ายเราสามารถแผ่แพร่ข้อความหรือบันทึกเป็นฉบับร่างก็ได้
ตัวอย่างการใส่ข้อมูล
เราหาข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารเขมร
อันดับแรกการตั้งชื่อเรื่อง เช่น แกงสายบัว
ถ้าได้ข้อมูลที่เราคิดว่าน่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับผู้อ่านแล้ว
ก็นำมาวางไว้ใน ใส่ข้อความ เช่น
อาจจะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มรูปภาพเข้าไป ก็เพียงกด ตรงแทรกรูปภาพ มันจะให้อับโหลดรูปภาพเข้าไป เช่น
กด Browse แล้วเลือกรูปภาพที่เราต้องการ จัดรูปแบบที่ต้องการ แล้วก็อับโหลดรูปภาพ
จะปรากฏโค้ดรูปภาพ
และการเพิ่มลูกเล่นอีกอย่างหนึ่งคือการให้ ข้อ ตรงชื่อเรื่องลิงค์ เว็ปไซค์อื่นได้
โดยกด ตรงแทรกลิงค์
แล้วใส่ URL ลงไป
ถ้าพอใจแล้วเราสามารถใส่ป้ายกำกับบทความ
กดเผยแพร่บทความหรือบันทึกทันที
จะขึ้นหน้าใหม่ออกมา เช่น
เสร็จสามารถดูบล็อกที่เราทำไว้แล้ว
1.ต้องเข้าให้ที่หน้าบล็อกของเรา เช่น http://sirisakpom.blogspot.com/พอเข้าไปแล้ว จะเห็นหน้าหลักของเรา
2. เสร็จแล้วให้ไปคลิกที่บทความใหม่
3.พอคลิกเข้าไปจะเห็นดังภาพนี้
4. ข้างในนั้นจะมีการเขียนข้อมูลได้
แบบแก้ไข Html
แบบ เขียน
เราเลือกอันนั้นก็ได้
ถ้าเป็นแบบแบบแก้ไข Html จะคล้ายเว็บไซค์ จะเห็นเป็นตัวบาร์โค้ด เช่น
สามารถคลิกเข้าเชื่อมต่อกับลิงค์แต่ละภาพได้ด้วย
ส่วนแบบเขียน
จะไม่สามารถคลิกเชื่อมต่อลิงค์ไปได้ ตอนที่เราใช้แบบเขียน จะมีรูปภาพปรากฏ มันจะขึ้นตรงการสร้างข้อมูล เช่น
5.พอเลือกได้แล้วก็หาข้อมูลใส่ และการสร้างข้อมูลใหม่สามารถ ใส่ลูกเล่นอื่นได้ด้วย เช่น
แทรกแท็กตัวหนา
แทรกแท็กตัวเอียง
แทรกลิงค์
แทรกการยกข้อความทั้งย่อหน้า
แทรกรูปภาพ
แทรกวีดีโอ
6.สามารถตั้งชื่อเรื่องที่เราคิดว่าน่าสนใจ
7.สวนข้างล่างสามารถเขียนลงไปได้โดย ที่ต้องการเป็นกลุ่มเป็นกลุ่ม เช่น
เราหาข้อผลไม้ได้ มะม่วง มะขาม มะยม เราสามารถจับกลุ่มนี้เข้าด้วยกันได้
โดยต้องเพิ่ม เพิ่ม Gadget ป้ายกำกับ ก่อนหน้านี้แล้ว
8.สุดท้ายเราสามารถแผ่แพร่ข้อความหรือบันทึกเป็นฉบับร่างก็ได้
ตัวอย่างการใส่ข้อมูล
เราหาข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารเขมร
อันดับแรกการตั้งชื่อเรื่อง เช่น แกงสายบัว
ถ้าได้ข้อมูลที่เราคิดว่าน่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับผู้อ่านแล้ว
ก็นำมาวางไว้ใน ใส่ข้อความ เช่น
อาจจะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มรูปภาพเข้าไป ก็เพียงกด ตรงแทรกรูปภาพ มันจะให้อับโหลดรูปภาพเข้าไป เช่น
กด Browse แล้วเลือกรูปภาพที่เราต้องการ จัดรูปแบบที่ต้องการ แล้วก็อับโหลดรูปภาพ
จะปรากฏโค้ดรูปภาพ
และการเพิ่มลูกเล่นอีกอย่างหนึ่งคือการให้ ข้อ ตรงชื่อเรื่องลิงค์ เว็ปไซค์อื่นได้
โดยกด ตรงแทรกลิงค์
แล้วใส่ URL ลงไป
ถ้าพอใจแล้วเราสามารถใส่ป้ายกำกับบทความ
กดเผยแพร่บทความหรือบันทึกทันที
จะขึ้นหน้าใหม่ออกมา เช่น
เสร็จสามารถดูบล็อกที่เราทำไว้แล้ว
วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552
ปราสาทหินนครวัด
ปราสาทหินนครวัด
: Angkor
สถานที่ตั้ง เมืองเสียมราฐ
ประเทศกัมพูชา
ปราสาทหินนครวัด เป็นสถาปัตยกรรมที่มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก
สามารถ upload ข้อมูลได้ข้างล่างนี้
http://th.upload.sanook.com/A0/094615a11cf881459a52d44dab6cde78
: Angkor
สถานที่ตั้ง เมืองเสียมราฐ
ประเทศกัมพูชา
ปราสาทหินนครวัด เป็นสถาปัตยกรรมที่มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก
สามารถ upload ข้อมูลได้ข้างล่างนี้
http://th.upload.sanook.com/A0/094615a11cf881459a52d44dab6cde78
เรือนไทยภาคอีสาน สถาปัตยกรรมไทย
เรือนไทยภาคอีสาน สถาปัตยกรรมไทย
เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการ ปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวร
ประเภทของเรือนอีสาน
1. ลักษณะชั่วคราว
สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ ได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย
2. ลักษณะกึ่งถาวร
คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก " เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้ เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี " ตูบต่อเล้า " ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็น เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง จะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน
3. ลักษณะถาวร
เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ เรือน เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน ข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้หลังคาเรือนทำเป็นทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลางมุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของอาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง
เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน
- ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
- ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไปเหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่ากาแล
- ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอหม้อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุที่ชาวไทยภาคอีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอหม้อ
องค์ประกอบของเรือนไทยภาคอีสาน
1. เรือนนอนใหญ่ จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า "เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.1 ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง
1.2 ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือปล่อยโล่ง
1.3 ห้องนอนลูกสาว มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้
ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ
2. เกย คือบริเวณชานโล่งที่มีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก หรือที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ อาจไว้ใช้เป็นที่เก็บฟืน
3. เรือนแฝด เป็นเรือนทรงจั่วแฝด เช่นเดียวกับเรือนนอน โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝากไว้กับเรือนนอน แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก
4. เรือนโข่ง มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยก ออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน
5. เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด
6. ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี "ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน" ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ
"ซ็อมลอ มจู เกรือง"
แกงส้มแบบมีเครื่องแกง
"ซ็อมลอ มจู เกรือง" ตำเครื่องอันได้แก่ ตะไคร้ ข่า
แกงใส่กับเนื้อวัว กระดูกหมู หรือเนื้ออื่น ๆ ผักมักจะเป็นผักบุ้ง บางเจ้าใส่ลูกมะสังลงไปด้วย
ความเปรี้ยวนั้นได้มาจากมะสัง และมะขามเปียก
เครื่องปรุง
หัวหอม กระเทียม กะปิ พริกแห้ง เกลือ น้ำตาบปีบ มะขามเปียก
วิธีทำ
ปอกหัวหอม กระเทียม (กระเทียม 2-3 กลีบ หัวหอม 5 หัว) เอาพริกแห้งผ่าเขี่ยเมล็ดออกแล้วแช่น้ำ
พริกแห้งแช่น้ำนุ่มแล้วเขาบีบน้ำออกอย่าติดเมล็ด เอามาโขลกกับเกลือเล็กน้อย พอแหลกก็ใส่กระเทียม สักครู่ก็เอาหัวหอมใส่โขลกให้ละเอียดจึงใส่กะปิ (สักก้อนเท่าหัวแม่มือ หรือถ้าชอบก็ใส่มากกว่าเล็กน้อย)
เอาเครื่องแกงโขลกแล้วมาละลายน้ำ ใส่หม้อตม พอเดือดพล่าน เอาปลาที่หั่นไว้ชิ้นโต ๆ ใส่ลงไป ปิดฝา ครู่เดียวเปิดฝาหม้อใส่ผัก ใส่น้ำตาล (เท่าหัวแม่มือ) ใส่น้ำปลา ใส่น้ำคั้นส้มมะขามชิมดูยกลง
วิธีดังกล่าวนี้ เป็นวิธีแกงส้มทั่ว ๆ ไปในภาคกลาง แต่ในบางที่เขานิยมแปลกออกไป
1. อยุธยานิยมใส่กระชายเล็กน้อยโขลกไปกับเครื่องแกง
2. ทางภาคกลางบางแห่ง ใส่ผิวมะกรูดโขลกไปกับเครื่องแกง
3. ส้มมะขามคั้นกับน้ำอุ่นเอาแต่น้ำนั้น ถ้าไม่มีส้มมะขามเปียกมีวิธีทำคือ เอาผักมะขามแก่หรืออ่อนก็ได้ มาต้มน้ำเปล่าสักครู่ ปล่อยทิ้งให้เย็นแล้วมาคั้นน้ำ จะเป็นน้ำส้มมะขามสดที่รสอร่อยมาก บางท้องที่นิยมใช้มะนาวบีบใส่แทนส้มมะขามเปียก
บางแห่งใช้ลูกมะดันฝานเอาเมล็ดออก ใส่ลงไปหลาย ๆ ลูกแทนมะนาว
บางท้องที่ เช่น อยุธยา ใช้น้ำคั้นจากลูกมะกรูดแทนส้มมะขาม แถมยังเอาเปลือกมะกรูดใส่ลงไปทั้งชิ้นใหญ่ ๆ แบบแกงเทโพ
บางแห่งเป็นต้นฤดูฝน ให้ใส่ใบมะขามอ่อน หรือบางคนใส่ฝักมะขามออกไปด้วย
4. เคยได้รับประทานแกงส้มที่ศรีราชากับชาวบ้าน เขาแกงส้มใส่ปลาเนื้ออ่อน ทั้งตัว (บางทีก็หั่นครึ่งตัวเป็นชิ้นใหญ่ ) ใส่น้ำคั้นส้มมะขาม แล้วยังใส่ใบไม้บางชนิดที่มีรสเปรี้ยวลงไปด้วย มีรสอร่อยเป็นพิเศษ
5. พริกที่ใช้โขลกน้ำแกง บางคนไม่ชอบพริกแห้ง ก็ใช้พริกสด (พริกชี้ฟ้า) ที่นิยมกันมากเป็นแกงส้มป่าสำหรับคอเหล้าใช้พริกขี้หนูสด ใส่น้ำมะนาวแทนน้ำส้มมะขาม
6. เครื่องปรุงเอาข่าโขลกรวมลงไปด้วยกับเครื่องแกง ตะไคร้ไม่จำเป็นถ้าชอบก็ใส่ลงไปบ้างเล็กน้อย รสจะแปลกออกไป
แกงส้มทรงเครื่อง จะปรุงแต่งเครื่องแกงเพิ่มลงไปให้อร่อย เช่น
แบ่งปลาที่จะแกงต้มน้ำเสียก่อน แล้วแกะเนื้อมาโขลกรวมกับเครื่องแกง ทำให้น้ำข้นอร่อยดี ส่วนมาก
นิยมกันทั่วไป
บางคนดัดแปลงน้ำแกง โดยเอาปลาทูนึ่งมา 3 – 4 ตัว แกะเอาก้างออก แล้วเอาเนื้อที่แกะโขลกรวมไปกับเครื่องแกงด้วย เมื่อน้ำแกงเดือดใส่ผักแล้ว จะเอาปลาทูนึ่งหรือปลาทูสด ใส่ลงไปทั้งตัว สัก 4-5 ตัว เป็นแกงส้มปลาทูที่อร่อยมาก
แต่ถ้าจะพลิกแพลง คือ เนื้อปลาทูที่โขลกกับเครื่องแกงใส่น้ำแกงต้มจนเดือด แล้วจะใส่กุ้งนางหรือกุ้งชี้แฮ้ที่ปอกทั้งตัวลงไป จะมีรสชาติพิเศษ บางคนก็ใส่หมูหั่นเป็นชิ้น ๆ ลงไป รสเป็นอีกแบบหนึ่ง
ผักที่ใส่แกง ส้มมี ผักบุ้ง หัวไขเท้า หัวฟักข้าว มะละกอดิบ ฟัก ฟักทอง ใบผักกาด ใบผักกวางตุ้ง ถั่วฝักขาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก ใบมะกอก ใบมะขามอ่อน เปลือกแตงโม (ปอกเอาผิวออก) แตงกวา แตงร้าน ใบชะอม เม็ดสะตอ ใบไม้ที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิด หน่อไม้สด หน่อไม้ดอง กะหล่ำปลี มะเขือเปราะ มะเขือยาว ฯลฯ
จะนิยมผักอย่างเดียวในหม้อเดียว หรือใช้หลายอย่างแล้วแต่ชอบ จะใช้หน่อไม้สดปนกับผักสดก็ได้ไม่จำกัด
แกงส้มป่า ไม่มีขีดจำกัด ใส่อะไรก็ได้แล้วแต่ชอบ บางคนใส่ใบโหระพาปนไปด้วย ผักสดบางอย่างก็มี บางคนใช้ผักสารพัดอย่างรวมกันลงไปถึง 5-6 อย่าง
แม้จะใส่ปลา กุ้ง หมู จนกระทั่งลูกชิ้นก็ได้ ซึ่งเรียกว่า สามกษัตริย์ ข้อสำคัญต้องออกรสเปรี้ยวกับหวานเล็กน้อย เค็มให้พอดี
แกงส้มเป็นแกงพื้นเมือง แบบเดียวกับแกงเลียงของเดิมเขาเครื่องเครามีไม่มาก มีการใส่อะไรลงไปก็แล้วแต่รสนิยมของคนแต่ละท้องที่ ปรุงไม่เหมือนกัน
แกงส้ม ทางภาคใต้เขาใส่กระเทียม ไม่นิยมใส่หัวหอม โขลกเครื่องแกง ใส่พริกขี้หนูแห้ง ใส่ขมิ้น กะปิมาก ๆ ให้มีรสเผ็ดนำหน้าเรียกว่า แกงเหลือง เขานิยมใส่หน่อไม้เหลือง ใส่ผักสดต่าง ๆ
แกงส้มลูกผสม คือ ใส่ปนเปกันหลายอย่าง แล้วแต่ชอบ ดังเช่น
(ก) ใส่น้ำกะทิแทนน้ำแกง ส่วนเครื่องปรุงก็เป็นแบบแกงส้มรสจึงใกล้เคียงไปกับแกงคั่ว
(ข) บางคนใช้ปลาแห้ง เช่น ปลาช่อนแห้ง หรือปลาสลิดแห้งแกงส้ม ใส่น้ำแกง เป็นกะทิ เครื่องปรุงเป็นแกงส้มทั่วไปที่รู้จักกันดีและนิยมกันมากในหมู่ชาวไทยโบราณ คือ ในต้นฤดูฝนใส่ใบมะขามอ่อนแทนผัก แล้วเอาผักสดสีแดงลอยลงไปทั้งเม็ดหลายเม็ด
(ค) แกงส้มจะใส่ปลาย่างก็ได้ ให้รสอร่อยพิเศษกว่าธรรมดา
(ง) แกงส้มใส่ปลากรอบ ในฤดูแล้งที่หาปลายาก บางทีก็ใช้ปลาแห้งทุกชนิดทำ
(จ) แกงส้มด้วยกุ้งแห้ง ส่วนมากจะนิยมโขลกกุ้งแห้งป่นไปกับเครื่องแกงด้วย แล้วเอากุ้งแห้งเป็นตัวใส่ลงไปด้วย
เคล็ดในการแกงส้มให้อร่อย
1. แกงส้มปลาช่อน ต้องใส่หัวปลา แล้วใส่พุงปลาลงไปด้วย แกงส้มปลาช่อน ใช้แกงกับผักบุ้ง ผักกระเฉด (น้ำเดือดใส่ผักกระเฉดแล้ว ต้องรีบยกขึ้นจากเตา ผักจะกรอบน่ารับ
ประทาน) หน่อไม้ดอง ผักกาดขาว หัวไชเท้า
2. แกงส้มกุ้ง มักนิยมใส่ลูกฟักขาว เปลือกแตงโม ถั่วฝักยาว เม็ดอ่อนเถาคัน ผักตำลึง ผักกาดขาว และผักกวางตุ้ง
3. แกงส้มปลาดุก ปลาดุกเป็นปลาที่คาว เครื่องแกงจังมักนิยมโขลกกระชายลงไปด้วย บางคนใส่ผิวมะกรูดเล็กน้อย ที่อร่อยมักแกงกับหน่อไม้ดอง
ทางแถบเมืองชายทะเล ใช้ปลาในลำน้ำใกล้ทะเล เช่น ปลากดและปลาแขยง แกงส้ม ใช้เครื่องปรุงแบบเดียวกับปลาดุก
4. แกงส้มปลาเนื้ออ่อนทุกชนิด มักนิยมใส่ผักชนิดเปรี้ยวและถั่วฝักยาว เคี่ยวจนอ่อนนุ่ม ใบตำลึง ใบไม้ ใช้พริกสดหรือพริกขี้หนูปรุงเครื่องแกง
5. แกงส้มปลาสวาย ปลาสวายนี้ถือว่าเป็นระดับคลาสลิคของแกงส้มในชนบท เพราะผู้แกงจะต้องมือถึงจริง ๆ จึงจะแกงได้อร่อย วิธีทำให้อร่อย ใช้เครื่องปรุงดังอธิบายไว้ข้างต้น โขลกกับพริกสด (จะใช้พริกชี้ฟ้าหรือพริกขี้หนูก็ได้) ละลายน้ำแกงแลวตั้งหม้อจนเดือด ใส่ปลาสวายชิ้นใหญ่ ๆ ลงไป (ไม่นิยมใช้น้ำแกงข้น คือ โขลกปลาลงไปด้วย) ฉีกใบ มะกรูดใส่ บีบมะนาว ใส่น้ำตาลเล็กน้อย หลังจากใส่ผัก (มักใช้ผักบุ่งต้มจนนุ่ม พร้อมกับใส่ปลา) ยกมารับประทานขณะร้อน ๆ จึงจะต้องโฉลก ข้าวสวยก็ต้องร้อน ๆ
(เนื่องจากปลาสวายมีความคาวมาก บางคนจึงต้องใส่ผิวมะกรูดโขลกลงไปด้วย บางทีก็ใช้น้ำมะกรูดผสมกับน้ำมะนาว เพื่อให้เปรี้ยวนำหน้า ปลาสวายมีความมันมาก ถ้าผู้แกงมี ฝีมือจะไม่คาวเลย และรสความมันนั้นอร่อยยิ่งกว่าปลาอื่น ๆ )
วิธีนี้ อาจนำมาใช้ได้กับแกงปลาเทโพ แกงปลากด และปลาแขยงกับปลาเนื้ออ่อน รวมทั้งปลาทะเลทุกชนิด
6. แกงส้มปลาหมอ ปลาหมอ เมื่อถึงฤดูของมัน เนื้อจะอร่อยมีความมันย่อง เป็นพิเศษ นอกจากจะใช้ต้มเค็มหรือเอาปลาหมออ่อน ๆ ที่ใช้เรียกว่า ปลาหมอตกกรอมาต้มเค็ม (โดย ไม่ให้เค็มจัด) รสชาติวิเศษนัก ไม่มีอะไรเทียม ต้มโดยตั้งไฟอ่อน ๆ เรียกว่ารุมไฟ ต้มไปทั้งวันจากเช้าถึงเย็น เวลากินเคี้ยวไปทั้งตัว เป็นอาหารที่อร่อยอย่างมาก
ปลาหมอที่จะนำมาแกงส้ม เมื่อขอดเกล็ดแล้วควักไส้ออก แล้วเอามีดบั้งข้าง ๆ ตัวปลา ใช้ปลาหมอตัวใหญ่แกงกับผักประเภทใบไม้รสเปรี้ยว หรือผักบุ้ง เป็นแกงส้มที่อร่อย รส ไม่เหมือนปลาชนิดอื่น (แต่ปลาหมอนั้นมีข้อเสียที่ก้าง ด้วยก้างของมันแข็งและงองุ้ม มักติดคอได้ง่าย ถ้าไม่ชำนาญในการกินมักก้างติดคอ แต่ปลาหมอเป็นปลาเนื้ออร่อย
มีมัน เล็กน้อย เมื่อแกงส้มแล้วมีรสวิเศษยิ่งนัก)
7. แกงส้มปลากระบอก ปลากระบอก เป็นปลาที่มีเกล็ด มีความคาว นิยมเอามาทอดรับประทานขณะกรอบ หรือเอามาแกงส้มใส่หน่อไม้ดอง หรือผักสดทุกชนิด ปลากระบอกตัว
ไม่ใหญ่นัก สมัยก่อนหาได้ง่ายตามลำคลอง มักจะทอดแหได้ทีละมาก ๆ เป็นปลาพื้น ๆ ที่นิยมใส่แกงส้มกัน เช่นเดียวกับปลากดและปลาดุก
สมัยนี้ ปลากระบอกไม่นิยมเอามาแกงส้มเสียแล้ว ด้วยเป็นของหายากในลำน้ำ ลำคลอง ในตลาดก็ไม่
ค่อยมีคนจับเอามาขาย เมื่อได้ปลากระบอกมา จึงนิยมเอามาขอดเกล็ดแลใส่เกลือทำปลาเค็ม หรือแล่เอามาทาเกลือป่นเล็กน้อย ตากแดดเพียงแดดเดียว แล้วทอดรับประทานกับแกงส้ม เป็นที่นิยมกันในสมัยโบราณ
สิ่งที่รับประทานประกอบกับแกงส้ม
แกงของคนไทยนั้นที่นิยมรับประทานกับข้าวสวย โดยเฉพาะแท้ ๆ ไม่มีกับข้าวอื่นประกอบ ก็มีพวกแกง ต้มยำ ต้มโคล้ง และแกงจืด ส่วนแกงเผ็ดประเภทแกงคั่วหรือแกงส้มนั้น นิยมมีเครื่องเคียงมารับประทานประกอบกัน จะมีรสวิเศษยิ่งขึ้น เช่น แกงคั่วนิยมรับประทานกับปลาเค็ม หรือกับผักสด หรืออาจาด ซึ่งเข้าใจว่าเอาแบบมาจากแขก
แกงส้มก็เหมือนกัน รับประทานกับปลาเค็มทุกประเภท เช่น ปลาเค็มปิ้งหรือทอด คือ ปลากุเลา ปลาอินทรี ปลาสละ กับปลาเค็มทุกชนิด จะถูกเรื่องกันอย่างมาก
ยังมีสิ่งอื่น ๆ คือ หอยเค็มทอด เนื้อเค็มทอด ไข่เจียว ไข่เค็มต้ม
ส่วนใหญ่มักจะเป็นของเค็ม ๆ ด้วยแกงส้มมีรสเปรี้ยวจัดนำหน้า จะถูกกับรสเปรี้ยวอย่างยิ่ง
แกงส้มที่มีรสจัดและเผ็ดจัด มักมีผักสดประกอบ เช่น รับประทานกับถั่วฝักยาว แตงกวา และผักอื่น ๆ โดยมีปลาเค็มร่วมผสมด้วย
การรับประทานกับข้าว ให้ผสมผสานกันนั้น เป็นศิลปะสำคัญอย่างหนึ่งในการกัน ถ้ารู้จักปรุงรสก็จักทำให้เจริญอาหารเป็นเอก การรับประทานสิ่งใดโดด ๆ ก็ไม่มีอะไรผิดแปลกอย่างไร
แต่ผู้มีรสนิยมในการรับประทาน เราจะแนะนำให้รู้จักการรับประทานประกอบกัน ซึ่งถ้ารู้จักรับประทานแล้ว จะมีรสวิเศษเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ
"ซ็อมลอ มจู ยวน"
แกงส้มแบบญวน "ซ็อมลอ มจู ยวน"
เป็นแกงปลา โดยจะผัดปลากับน้ำมันขลุกขลิกเพื่อตัดคาวก่อน
แล้วลงหม้อ ใส่ฟัก ผักอีกสองสามชนิด เช่น สับปะรด มะเขือเทศดิบ มะขามเปียก
รสจะเปรี้ยวประชันกับเนื้อปลาที่หวาน ตอกไข่เป็ดใส่ด้วย
โรยผักขะแยงและโหระพาที่ซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ
เครื่องปรุงแกงส้มญวน
ปลาช่อน หนัก 500 กรัม 1 ตัว
สับปะรดหั่นหนา 1 ซม. 1 ชิ้น
มะเขือเทศสีดาผ่าครึ่ง 5 ลูก
ขิงหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
มะนาว 1 ชิ้น
ผักชีฝรั่งซอย 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสวนทุบ 5 เม็ด
กระเทียมเจียว 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
มะขามเปียกคั้นใสๆ 1/4 ถ้วย
น้ำซุป 4 ถ้วย
วิธีทำแกงส้มญวน
1. ขอดเกล็ดปลา ผ่าท้องควักไส้ออก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 ซม. พักไว้
2. ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟ ใช้ไฟกลาง พอเดือดใส่สับปะรด ขิง มะเขือเทศ ปลาช่อน พอปลาสุก
3. ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำมะขามเปียก น้ำปลา เกลือ เคี่ยว 2 นาที ใส่ผักชีฝรั่งพอสุกเขียว บีบมะนาว โรยด้วยกระเทียมเจียว พริกขี้หนูทุบ ตักใส่ถ้วย เสิร์ฟ
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552
พระปรางค์สามยอด ลพบุรี
พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทเขมรในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรกัมพูชา แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร
สถานที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ เป็นปราสาทศิลาแลงแบบเขมรเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน ภายในบริเวณนอกจากปราสาททั้ง 3 องค์นี้แล้ว ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานมีการต่อเติมวิหารก่ออิฐถือปูนเชื่อมต่อกับปราสาทประธานเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199 -2231)
ประวัติ
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 หน้า 904 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2479 และได้กำหนดเขตที่ดินให้มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ 3 ไร่ 2งาน 54 ตารางวา ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 119 ง ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545[1]
[แก้] ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
พระปรางค์สามยอดในปัจจุบัน (ด้านทิศตะวันออก)เป็นปราสาทเขมร 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน (อันตรละ) โดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ปราสาทประธานมีความสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ โครงสร้างของปราสาททำจากศิลาแลงฉาบปูน มีการประดับประดาตามส่วนต่างๆ ของปราสาทด้วยปูนปั้น อันเป็นลักษณะของงานสถาปัตยกรรมในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) ที่นิยมใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เช่น ปรางค์พรหมทัตที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประดิษฐานพระรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทวัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ที่สร้างเป็นปราสาทศิลาแลง 3 องค์เรียงกันในลักษณะเดียวกับพระปรางค์สามยอด และปรางค์องค์กลางของวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น
[แก้] ลวดลายประดับ
ส่วนยอดหรือศิขระ สร้างด้วยหินทรายเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายซ้อนกัน 3 ชั้น ถัดลงมาเป็นการยกเก็จสามเก็จตรงด้านและมุมประดับด้วยกลีบขนุนทำจากศิลาแลง และบางส่วนทำจากปูนปั้นเป็นรูปบุคคลยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนที่ยกเก็จชั้นที่ 4 เดิมทั้ง 4 ทิศ จะมีการปั้นเทพประจำทิศอยู่ในกลีบขนุนและตอนล่าง ได้แก่ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณประจำทิศตะวันออก พระวรุณทรงหงส์ ประจำทิศตะวันตก ท้าวกุเวรทรงมกร ทิศเหนือ และ พระยมทรงกระบือ ทิศใต้ ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วน สันหลังคาของมุขกระสันประดับด้วยบราลีศิลาแลงปั้นเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ในซุ้มเรือนแก้ว ปัจจุบันเสียหายทั้งหมด
บัวรัดเกล้าเรือนธาตุ
มีการประดับลวดลายปูนปั้นประกอบไปด้วย แถวบนสุดเป็นลายดอกไม้กลม ถัดลงมาปั้นปูนเป็นรูปกลีบบัวหงาย แถวถัดลงมาเป็นลายดอกซีกดอกซ้อน รูปหงส์ ลายกลีบบัวหงาย ลายก้านขด และดอกบัวตูม เรียงเป็นแถว ลวดลายละ 1 แถวรวมเป็น 3 แถว จบด้วยลายกรวยเชิงเป็นรูปเกียรติมุข (หน้ากาล) คายเฟื่องอุบะ
ตอนกลางของเรือนธาตุ
มีลายปูนปั้นประดับเป็นลายก้านขดที่แถวบนสุด ถัดลงมาเป็นบัวฟันยักษ์คว่ำ หน้ากระดานเป็นลายกระจังประกอบกันเป็นลายกากบาทแทรกด้วยลายประจำยามลายเล็กและลายดอกซีกดอกซ้อน ถัดลงมาเป็นลายกลีบบัวหงาย ลายกระหนกวงโค้ง ลายดอกบัว ตอนล่างสุดเป็นลายกรวยเชิงตามลำดับ
บัวเชิงเรือนธาตุ
ด้านบนสุดเป็นรูปใบหน้าของชาวจามที่เป็นศัตรูกับชาวเขมรที่ถูกประดิษฐ์เป็นใบหน้าของยักษ์ประกอบกับลายกรวยเชิง อันเป็นที่นิยมมากในศิลปะแบบบายนของกัมพูชา ถัดลงมาเป็นลายดอกบัว สันลูกแก้วอกไก่เป็นลายรักร้อย และบัวฟันยักษ์คว่ำ ลายก้านขด และดอกซีกดอกซ้อน ลายละหนึ่งแถวตามลำดับ
ในส่วนของลวดลายหน้าบันและทับหลังนั้นปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการปั้นปูนประดับลงบนศิลาแลงเมื่อเวลาผ่านไปรูอากาศของศิลาแลงจะมีการขยายตัวทำให้ลวยลายปูนที่ปั้นประดับอยู่นั้นกะเทาะออกมารวมถึงลิงที่มาอาศัยก็มีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย[2]
นอกจากนี้ในสมัยอยุธยาตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์และดัดแปลงพระปรางค์สามยอดเพื่อใช้เป็นพุทธศาสนสถานอีกครั้ง ดังจะเห็นได้จากการซ่อมแซมส่วนที่เป็นเพดาน โดยยังคงเห็นร่อยรอยของการปิดทองเป็นรูปดาวเพดาน และการสร้างฐานภายในพระปรางค์สามยอดหลายฐานลักษณะคล้ายกับฐานชุกชีด้วยอิฐ อันเป็นวัสดุที่แตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของพระปรางค์สามยอดซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลาแลง
[แก้] รูปเคารพในพระปรางค์สามยอด
พระพิมพ์พบในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาปัจจุบันไม่พบหลักฐานรูปเคารพประธานในพระปรางค์สามยอด พบเพียงฐานสนานโทรณิที่ใช้เป็นแท่นรองสรง แต่จากรูปแบบของพระพิมพ์รูปปราสาท 3 องค์ที่พบภายในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่นิยมเรียกกันว่า "พระพิมพ์รัตนตรัยมหายาน" ทำให้ทราบว่า แต่เดิมภายในปราสาทประธานของพระปรางค์สามยอดคงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง พระโลเกศวรสี่กรในปราสาททิศใต้ และพระนางปรัชญาปารมิตาในปราสาททิศเหนือ เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระพิมพ์ โดยพระพิมพ์ดังกล่าวสร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานจากกัมพูชา[3]
สำหรับพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ได้แก่ พระอาทิพุทธะ หรือพระมหาไวโรจนะ ซึ่งทรงเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 6 ของพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานที่จารึกของกัมพูชาเรียกว่า พระวัชรสัตว์[4] ในศิลปะเขมรนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก ส่วนพระโลเกศวรอันเป็นพระนามที่ปรากฏในจารึกของกัมพูชาใช้เรียกพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ทรงเป็นบุคลาธิษฐานของความเมตตากรุณาและสัญลักษณ์ของอุบาย (อุปายะ) และพระนางปรัชญาปารมิตา เทวนารีผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของปัญญาอันล้ำเลิศบุคลาธิษฐานของคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร รูปเคารพทั้ง 3 นี้นิยมสร้างในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน โดยประกอบกันเป็นความหมายเชิงพุทธปรัชญาของลัทธิวัชรยาน กล่าวคือ พระโลเกศวรทรงเป็นตัวแทนของอุบาย หรือวิธีการอันแนบเนียนซึ่งใช้ไขเข้าสู่ปราชฺญา หรือปัญญาที่มีพระนางปรัชญาปารมิตาเป็นสัญลักษณ์ อันจะนำไปสู่การบรรลุพุทธสภาวะหรือศูนฺยตา ซึ่งแทนด้วยพระวัชรสัตว์นาคปรก
สำหรับรูปเคารพอื่นๆ ที่พบในพระปรางค์สามยอดนั้น ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งกรมศิลปากรได้อัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
[แก้] วิหารหน้าพระปรางค์สามยอด
เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สภาพของวิหารคงเหลือเพียงผนังทั้ง 2 ข้างและผนังหุ้มกลองทางด้านทิศตะวันออก ส่วนเครื่องบนพังทลายไปหมดแล้ว ประตูของผนังหุ้มกลองด้านทิศตะวันออกก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งหรืออาร์ช (arch) แบบตะวันตก ส่วนประตูทางเข้าที่ผนังด้านข้างของวิหารและหน้าต่างที่ผนังด้านหลังของวิหารก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งกลีบบัว (pointed arch) แบบศิลปะอิสลาม ป้จจุบันเหลือเพียงซุ้มหน้าต่างด้านทิศเหนือเท่านั้น โครงสร้างผนังของก่ออิฐหนาทึบสลับกับศิลาแลงบางส่วน อันเป็นเทคนิคที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่นเดียวกับกับอาคารที่สร้างขึ้นรัชสมัยนี้ที่นิยมก่อสร้างด้วยอิฐแทรกด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ เช่น พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ในพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาคารหลายหลังในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ด้านหลังของวิหารยกเก็จเป็นกะเปาะเชื่อมต่อกับประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ซึ่งการยกเก็จเป็นกะเปาะนี้เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวิหารซึ่งนิยมสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เช่น พระที่นั่งจันทรพิศาล ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และวิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ทำจากศิลา
[แก้] อายุเวลาของพระปรางค์สามยอด
อายุเวลาของพระปรางค์สามยอด พิจารณาจากรูปแบบการก่อสร้างที่ใช้ศิลาแลงเป็นโครงสร้าง พอกด้วยปูน และประดับด้วยลวดลายปูนปั้น อันเป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่นิยมมากในศิลปะบายนของกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และยังสอดคล้องกับรูปแบบของพระพิมพ์รูปปราสาทสามยอด ที่ภายในแต่ละยอดประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก พระโลเกศวรสี่กร และพระนางปรัชญาปารมิตา อันเป็นรูปเคารพที่เคยประดิษฐานภายในปราสาททั้ง 3 หลังของพระปรางค์สามยอดด้วย โดยพระพิมพ์ดังกล่าวสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานที่รุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่งในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกัมพูชา จากเหตุผลดังกล่าว จึงสันนิษฐานได้ว่าพระปรางค์สามยอดสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ที่ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1724 ถึงประมาณ 1757
ส่วนวิหารด้านหน้าของพระปรางค์สามยอดคงสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยพิจารณาจากเทคนิคการสร้างซุ้มโค้งของประตูและหน้าต่างที่ก่ออิฐตะแคงเป็นซุ้มโค้งหรืออาร์ช (arch) อันเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มนิยมสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ดังตัวอย่างจากซุ้มโค้งของบ้านวิชาเยนทร์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งสร้างในรัชสมัยดังกล่าวเช่นกัน นอกจากนี้ ผนังของวิหารซึ่งมีการเสริมศิลาแลงเข้าไประหว่างอิฐเพื่อให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้นก็เป็นเทคนิคที่นิยมในรัชสมัยนี้เช่นเดียวกัน ดังปรากฏในอาคารหลายหลังที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
[แก้] อิทธิพลทางด้านศาสนาและการเมือง
จากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า พระปรางค์สามยอดสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้ เพื่อประดิษฐานรูปพระวัชรสัตว์นาคปรก พระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา อันเป็นรูปเคารพที่นิยมสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานของกัมพูชาในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่พุทธศาสนาลัทธิวัชรยานเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในกัมพูชา เทียบได้กับศาสนาประจำอาณาจักรภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระองค์ ดังจารึกปราสาทพระขรรค์ที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่า หลังทรงครองราชย์ได้ 10 ปี ได้ทรงสร้างเทวรูปทำด้วยทองคำ เงิน สัมฤทธิ์ และศิลา เพื่อส่งไปพระราชทานยังเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์เป็นจำนวนถึง 20,400 องค์ และทรงส่งพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่องอีก 23 องค์ไว้ตามเมืองใหญ่ ๆ ในอาณาจักร เช่นที่ “ละโว้ทยปุระ” (จังหวัดลพบุรี) “สุวรรณปุระ” (จังหวัดสุพรรณบุรี) “ศัมพูกปัฏฏนะ” (เมืองหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย) “ชยราชบุรี” (จังหวัดราชบุรี) “ชยสิงหบุรี” (เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี) “ชยวัชรบุรี” (จังหวัดเพชรบุรี) ซึ่งในขณะนั้นเมืองละโว้ในรัชสมัยของพระองค์ก็มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรกัมพูชาด้วย ดังปรากฏในจารึกของกัมพูชาว่า เจ้าชายอินทรวรมัน (ต่อมา คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2) พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กับพระนางชัยราชเทวี ทรงครองเมือง “ลโวทย”[5]
ต่อมาหลังการล่มสลายของพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานในกัมพูชา พระปรางค์สามยอดจึงได้รับการดัดแปลงให้เป็นพุทธสถานในนิกายเถรวาท ดังเห็นได้จากการสร้างวิหารเชื่อมต่อกับปราสาทประธานในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งทรงสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ในเมืองลพบุรี ในช่วงระยะเวลาที่เสด็จแปรพระราชฐานมายังเมืองลพบุรีเกือบตลอดรัชกาล
[แก้] อ้างอิง
^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00117882.PDF
^ ณัฐพล อาจหาญ และวัชชพันธ์ บุญณลัย, "พระปรางค์สามยอด," รายงานการศึกษาค้นคว้าประกอบการศึกษากระบวนวิชา 116400 ศิลปะในประเทศไทยสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 สาขาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551
^ พิริยะ ไกรฤกษ์, อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ, เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์, 2544) , น. 113, 116 - 117.
^ พิริยะ ไกรฤกษ์, อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ, เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์, 2544) , น.105.
^ Inscriptions du cambodge, vol.2 (Hanoi & Paris: EFEO, 1942) , p.176.
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง หมู่ 6 และ หมู่ 9 ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ปราสาทเมืองต่ำเป็นประสาทอิฐ กำแพงแก้วและซุ้มประตูทำด้วย หินทราย ส่วนกำแพงด้านนอกทำด้วยศิลาแลง เนินปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีสระน้ำล้อมรอบ ความเด่นของปราสาทเมืองต่ำ คือ มีการจำหลักส่วนต่าง ๆ ด้วยลวดลายอันประณีตสวยงาม อยู่ใกล้กับโบราณสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สระน้ำขนาดใหญ่ที่คนขุดขึ้นในสมัยสร้างปราสาท ซึ่งมีขนาดกว้างประมาณ 510 เมตร ยาวประมาณ 1090 เมตร ขอบสระกรุด้วยศิลาแลงสอบลงไปถึงพื้นดินเดิม สระนี้มีน้ำขังอยู่ตลอดปี (บริษัทสุรามหาราช จำกัด 2540:229-231)
ที่เรียกชื่อว่า ปราสาทเมืองต่ำ เนื่องจากสถานที่ตั้งอยู่พื้นที่ราบ เมื่อเทียบกับปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนาสถาน ศิลปะขอมแบบบาปวน อายุประมาณ พ.ศ. 1551-1630 หรือราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 (กรมศิลปากร 2536:127-130) ลักษณะของปราสาทมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. ปรางก่ออิฐ 5 องค์ เรียงเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ แถวหลัง 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานชั้นเดียว แผนผังของปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ตัวปรางค์ก่อด้วยอิฐขัดเรียบ
แถวหน้า
ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงกลางเยื้องมาข้างหน้าเล็กน้อย ระหว่างปรางค์บริวารทั้งสองมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์บริวารอีก 4 องค์ ทับหลังเป็นหินทราย จำหลักภาพเทวะนั่งยกเข่าซ้ายอยู่บนแท่นเหนือเศียรเกียติมุข ส่วนบนของทับหลังจำหลักภาพฤาษีนั่งประนมมือเป็นแถว จำนวน 7 ตน
ปรางค์ด้านทิศเหนือ มีขนาด 4.40X4.40 เมตร มีประตูทางด้านทิศตะวันออก ทับหลังหินทรายจำหลักภาพพระอิศวรทรงโคนนทิ พระหัตถ์ซ้ายอุ้มนางปราพตี พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูลโคนนทีนี้ยืนอยู่บนแท่นเหนือเศียรเกียรติมุขซึ่งคายท่อนพวงมาลัย ขอบบนสุดจำหลักภาพฤาษีนั่งรัดเข่าประนมมือ จำนวน 10 ตน
ปรางค์ด้านทิศใต้ มีขนาด 4.40X4.40 เมตร มีประตูทางด้านทิศตะวันออก ทับหลังหินทราย จำหลักภาพเทวะนั่งชันเข่าขวาอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข ซึ่งคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง ขอบบนของทับหลังจำหลักภาพฤาษีนั่งจำนวน 9 ตน
แถวหลัง
ปรางค์ด้านทิศเหนือ มีขนาด 4X4 เมตร ประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทับหลังหินทรายจำหลักภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ
ปรางค์ด้านทิศใต้ มีขนาด 4X4 เมตร ประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทับหลังหินทรายจำหลักภาพพระอรุณนั่งชันเข่าในซุ้มเหนือแท่นซึ่งมีหงส์ 3 ตัว ยืนแบกอยู่เหนือเศียรเกียรติมุขที่กำลังคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองด้าน
2. ระเบียงคดและซุ้มประตู ก่อด้วยอิฐ มีขนาด ประมาณ 38.60X38.60 เมตร มีซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยหินทราย ระเบียงคดนี้ลักษณะเป็นห้องแบบระเบียงคดทั่วไป หลังคาเป็นหินทรายทำเป็นรูปประทุนเรือ มีประตู 3 ด้านพื้นของซุ้มประตูยกสูงขึ้นจากพื้นลานโดยรอบ ประตูกลางซึ่งเป็นประตูหลักมีขนาดประมาณ 2.10X1.15 เมตร ด้านข้างของซุ้มประตูทำเป็นช่องหน้าต่างทึบด้านละ 2 ช่อง ด้านนอกติดลูกกรงลูกมะหวด
ที่หน้าบันซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกด้านนอกจำหลักภาพเทวะนั่งชันเข่า อยู่เหนือเศียรเกียรติมุข เหนือขึ้นไปเป็นนาค 5 เศียรครอบ 2 ชั้น ทั้ง 2 ข้าง ทับหลังหินทรายจำหลักภาพเกียรติมุขคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้ง 2 ข้าง
เสากรอบประตูกลางจำหลักภาพสิงห์ยืนเท้าสะเอวจับพุ่มกนกและโคนเสาเป็นภาพฤาษีนั่งยอง ๆ ประนมมือ
ที่หน้าบันซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกด้านในจำหลักภาพสิงห์ท่ามกลาง ลิง และช้าง ประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา ทับหลังจำหลักภาพพระกฤษณะตอนปราบนาคกาลียะ
3. สระน้ำ ตั้งอยู่ที่ลานขนาด 10X10 เมตร รอบนอกระเบียบคดทั้ง 4 ด้าน สระน้ำทั้ง 4 สระนี้มีขนาดประมาณ 20X40 เมตร กรุพื้นสระด้วยหินทรายซ้อนเป็นชั้น ๆ ปากผายก้นสอบ ที่มุมขอบสระทุกมุมทำเป็นตัวพญานาคชูคอ สองข้างบาทวิถี ระหว่างซุ้มประตูระเบียงคดกับซุ้มประตูกำแพงทุกด้านมีบันไดลงสู่สระน้ำอยู่ทั้งสองข้างทาง เหนือบันไดทำเป็นเสาซุ้มประตูทั้งสองข้างปัจจุบันล้มลงทั้งหมด
4. กำแพงแก้วและซุ้มประตู ตั้งอยู่รอบนอกห่างจากสระน้ำประมาณ 10 เมตร กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 140X114.50 เมตร บนสันกำแพงเซาะเป็นรางตื้น ๆ สำหรับวางท่อหินสี่เหลี่ยมสี่ด้านทำเป็นซุ้มประตูจตุรมุข มีประตูด้านละ 3 ช่องมุงหลังคาด้วยหินทรายโค้งเป็นรูปประทุนเรือ ทับหลังหินทรายเหนือประตูของซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก จำหลักภาพพระกฤษณะปราบนาคกาลียะที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกมีร่องรอยแสดงว่ายังตกแต่งลวดลายไม่เสร็จ ระหว่างประตูทั้ง 3 ช่อง เป็นหน้าต่างหลอกติดลูกกรงลูกมะหวดเลียบกำแพงศิลาแลง มีทางเท้าปูด้วยก้อนศิลาแลง ขนาดกว้าง 1 เมตรรอบทุกด้าน
ทะเลเมืองต่ำ
ทะเลเมืองต่ำ หรือสระบารายที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นมาในสมัยที่สร้างปราสาท อยู่ห่างจากตัวปราสาทเมืองต่ำไปทางทิศเหนือราว 200 เมตร สร้างขึ้นเพื่อการอุปโภค การชลประทานของชุมชน มีขนาดกว้างประมาณ 510 เมตร ยาวประมาณ 1,090 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร ก่อขอบสระด้วยศิลาแลง 3 ชั้น บนขอบสระด้านยาว คือ ด้านทิศเหนือและทิศใต้มีท่าน้ำเป็นชานกว้าง ขนาดกว้างประมาณ 6.90 เมตร ยาว 17 เมตร ปูพื้นด้วยศิลาแลงลาดลงไปยังฝั่งน้ำ ซึ่งก่อบันไดท่าน้ำเป็นทางลงสระรวม 5 ขั้น ท่าน้ำทั้ง 2 ฟากนี้อยู่ในแนวตรงกันประมาณกึ่งกลางของขอบสระ (กรมศิลปากร 2540:70)
บางรายแห่งนี้น่าจะมีทางรับน้ำด้านทิศตะวันตกจากเขาปลายนัด (ไปรนัด) และเขาพนมรุ้ง ตรงบริเวณที่เรียกว่า สะพานขอม และระบายน้ำออกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้
ความโดดเด่นของปราสาทเมืองต่ำ นอกจากจะได้ชมสถาปัตยกรรมและศิลปะที่สวยงามของโบราณสถานแห่งนี้แล้ว ยังได้ชมหมู่บ้านที่ตั้งเรียงรายเป็นกลุ่มอยู่กับปราสาทนี้ด้วย ชาวบ้านอยู่ที่นี่มานานจนมีความรู้สึกว่าปราสาทคือส่วนหนึ่งของชุมชน การดำเนินชีวิตของชาวบ้านโคกเมืองสัมพันธ์กับความงามของปราสาท กลายเป็นความสงบร่มเย็นน่าสนใจไม่น้อย
การเดินทางไปปราสาทเมืองต่ำ ไปได้หลายทาง ส่วนใหญ่ใช้เส้นทางบุรีรัมย์-นางรอง-พนมรุ้ง เข้าไปปราสาทเมืองต่ำระยะทางแยกเข้าไปประมาณ 83 กิโลเมตร หรือจะไปเส้นทางบุรีรัมย์-ประโคนชัย เข้าประสาทเมืองต่ำ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ สายประโคนชัย-บ้านกรวด ซึ่งเป็นเส้นแยกสายตะโก-พนมรุ้ง-ละหานทรายก็ได้ (แผนที่)
ปรางค์วัดอรุณ
ปรางค์วัดอรุณได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมขอมก่อนมาประยุกต์กลายเป็นรูปแบบเฉพาะตัว
ในยุคสมัยหนึ่ง อารยธรรม"ขอม" ถือว่าทรงอิทธิพลมากที่สุดในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"ขอม"ชื่อนี้มีที่มาหลายความเชื่อ แต่ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดก็เห็นจะเป็น ชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ได้ใช้เรียกชนชาติ ซึ่งถึงแม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่าขอมคือกัมพูชาในปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของขอมเท่านั้น
คำว่า "ขอม" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "เขมร" และ "กรอม"(ที่แปลว่า ใต้) เมื่อพูดเร็วเข้า ก็จะกลายเป็น "ขอม" โดยอาณาจักรขอมในอดีตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชา และบางส่วนในลาวและไทย
สำหรับประวัติศาสตร์ขอม เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ผ่านการเปลี่ยนแปลงจากอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ เจนละบกและเจนละน้ำ มาสู่ยุคเมืองพระนครอันลือลั่น โดยอายธรรมขอมแบ่งออกเป็นยุคใหญ่ 3 ยุค คือ ยุคก่อนเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที 11-15) ยุคเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที่ 15-18 ) และยุคหลังเมืองพระนคร(หลังพุทธศตวรรษที่ 19 จนสิ้นอาณาจักรขอม)
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327
ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชปรารถจะสถาปนาพระปรางค์องค์เดิมซึ่งสูง ๘ วา (๑๖ เมตร) ให้งดงาม แต่เมื่องลงมือขุดรากก็เสด็จ สวรรคต รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงดำเนินการต่อจนเสร็จ วัดรอบฐานได้ ๕ เส้น ๑๘ วา(๒๔๓ เมตร)สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑นิ้ว (๘๑ เมตร)ยกยอลำพุขัน (นภศูล) เสริมยอดด้วยมงกุฏ แต่ยังมีได้ทำการฉลองก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๔ได้ทรงสร้างมณฑปเพิ่ม เติมอีกเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลนี้
ลักษณะทั่วไป จากพื้นฐานขึ้นไปถึงยอดสุด รอบๆ พื้นฐานมีตุ๊กตาจีนสลักด้วยศิลาเป็นรูปคนและ สัตว์ประดับเรียงรายรอบ ล้อมด้วยกำแพง ด้านตะวันออกมี ๓ ประตู ด้านตะวันตก ๒ ประตู ที่ประตู ประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑,๒,๓,๔ และ๕ ตามลำดับ มีที่สังเกตช่วงที่แยกเป็น ฐานซ้อนฐาน ๔ ช่วงด้วยกัน ฐานชั้นล่างสุด มีปรางค์เล็กประจำอยู่ ๔ มุม ถัดขึ้นไป เป็น ฐานชั้นที่สอง มีมณฑปประจำอยู่ ๔ ทิศ แต่ละมณฑปมีพระพุทธรูปเนื่องในพุทธประวัติ ประดิษฐานอยู่ภายใน ทิศเหนือเป็นปางประสูติ ทิศให้เป็นปางปฐมเทศนา ทิศตะวันออกเป็นปาง ตรัสรู้ และทิศตะวันตกเป็นปางปรินิพพาน ฐานชั้นที่ ๓ มีซุ้มรูปกินนร เหนือซุ้มทำเป็นรูปกระบี ่โดยรอบ ฐานชั้นบนสุด มีซุ้มประจำทิศทั้ง๔ เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ภายในซุ้ม เป็นรูปพรพายทรงม้าขาว เหนือขึ้นไปโดยรอบทำเป็นคุฑแบก พระนารายร์แบก ยอดเป็นนภศูลเสริมยอด ด้วย พระมหามงกุฎปิดทอง ทั้งปรางค์เล็ก ปรางค์องค์ใหญ่ มณฑป กำแพงแก้ว ล้วนแล้วแต่ประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายสีต่างๆ
ในยุคสมัยหนึ่ง อารยธรรม"ขอม" ถือว่าทรงอิทธิพลมากที่สุดในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"ขอม"ชื่อนี้มีที่มาหลายความเชื่อ แต่ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดก็เห็นจะเป็น ชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ได้ใช้เรียกชนชาติ ซึ่งถึงแม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่าขอมคือกัมพูชาในปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของขอมเท่านั้น
คำว่า "ขอม" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "เขมร" และ "กรอม"(ที่แปลว่า ใต้) เมื่อพูดเร็วเข้า ก็จะกลายเป็น "ขอม" โดยอาณาจักรขอมในอดีตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชา และบางส่วนในลาวและไทย
สำหรับประวัติศาสตร์ขอม เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ผ่านการเปลี่ยนแปลงจากอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ เจนละบกและเจนละน้ำ มาสู่ยุคเมืองพระนครอันลือลั่น โดยอายธรรมขอมแบ่งออกเป็นยุคใหญ่ 3 ยุค คือ ยุคก่อนเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที 11-15) ยุคเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที่ 15-18 ) และยุคหลังเมืองพระนคร(หลังพุทธศตวรรษที่ 19 จนสิ้นอาณาจักรขอม)
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327
ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชปรารถจะสถาปนาพระปรางค์องค์เดิมซึ่งสูง ๘ วา (๑๖ เมตร) ให้งดงาม แต่เมื่องลงมือขุดรากก็เสด็จ สวรรคต รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงดำเนินการต่อจนเสร็จ วัดรอบฐานได้ ๕ เส้น ๑๘ วา(๒๔๓ เมตร)สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑นิ้ว (๘๑ เมตร)ยกยอลำพุขัน (นภศูล) เสริมยอดด้วยมงกุฏ แต่ยังมีได้ทำการฉลองก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๔ได้ทรงสร้างมณฑปเพิ่ม เติมอีกเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลนี้
ลักษณะทั่วไป จากพื้นฐานขึ้นไปถึงยอดสุด รอบๆ พื้นฐานมีตุ๊กตาจีนสลักด้วยศิลาเป็นรูปคนและ สัตว์ประดับเรียงรายรอบ ล้อมด้วยกำแพง ด้านตะวันออกมี ๓ ประตู ด้านตะวันตก ๒ ประตู ที่ประตู ประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑,๒,๓,๔ และ๕ ตามลำดับ มีที่สังเกตช่วงที่แยกเป็น ฐานซ้อนฐาน ๔ ช่วงด้วยกัน ฐานชั้นล่างสุด มีปรางค์เล็กประจำอยู่ ๔ มุม ถัดขึ้นไป เป็น ฐานชั้นที่สอง มีมณฑปประจำอยู่ ๔ ทิศ แต่ละมณฑปมีพระพุทธรูปเนื่องในพุทธประวัติ ประดิษฐานอยู่ภายใน ทิศเหนือเป็นปางประสูติ ทิศให้เป็นปางปฐมเทศนา ทิศตะวันออกเป็นปาง ตรัสรู้ และทิศตะวันตกเป็นปางปรินิพพาน ฐานชั้นที่ ๓ มีซุ้มรูปกินนร เหนือซุ้มทำเป็นรูปกระบี ่โดยรอบ ฐานชั้นบนสุด มีซุ้มประจำทิศทั้ง๔ เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ภายในซุ้ม เป็นรูปพรพายทรงม้าขาว เหนือขึ้นไปโดยรอบทำเป็นคุฑแบก พระนารายร์แบก ยอดเป็นนภศูลเสริมยอด ด้วย พระมหามงกุฎปิดทอง ทั้งปรางค์เล็ก ปรางค์องค์ใหญ่ มณฑป กำแพงแก้ว ล้วนแล้วแต่ประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายสีต่างๆ
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)