ปรางค์วัดอรุณได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมขอมก่อนมาประยุกต์กลายเป็นรูปแบบเฉพาะตัว
ในยุคสมัยหนึ่ง อารยธรรม"ขอม" ถือว่าทรงอิทธิพลมากที่สุดในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"ขอม"ชื่อนี้มีที่มาหลายความเชื่อ แต่ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดก็เห็นจะเป็น ชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ได้ใช้เรียกชนชาติ ซึ่งถึงแม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่าขอมคือกัมพูชาในปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของขอมเท่านั้น
คำว่า "ขอม" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "เขมร" และ "กรอม"(ที่แปลว่า ใต้) เมื่อพูดเร็วเข้า ก็จะกลายเป็น "ขอม" โดยอาณาจักรขอมในอดีตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชา และบางส่วนในลาวและไทย
สำหรับประวัติศาสตร์ขอม เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ผ่านการเปลี่ยนแปลงจากอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ เจนละบกและเจนละน้ำ มาสู่ยุคเมืองพระนครอันลือลั่น โดยอายธรรมขอมแบ่งออกเป็นยุคใหญ่ 3 ยุค คือ ยุคก่อนเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที 11-15) ยุคเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที่ 15-18 ) และยุคหลังเมืองพระนคร(หลังพุทธศตวรรษที่ 19 จนสิ้นอาณาจักรขอม)
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327
ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชปรารถจะสถาปนาพระปรางค์องค์เดิมซึ่งสูง ๘ วา (๑๖ เมตร) ให้งดงาม แต่เมื่องลงมือขุดรากก็เสด็จ สวรรคต รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงดำเนินการต่อจนเสร็จ วัดรอบฐานได้ ๕ เส้น ๑๘ วา(๒๔๓ เมตร)สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๑นิ้ว (๘๑ เมตร)ยกยอลำพุขัน (นภศูล) เสริมยอดด้วยมงกุฏ แต่ยังมีได้ทำการฉลองก็เสด็จสวรรคต รัชกาลที่ ๔ได้ทรงสร้างมณฑปเพิ่ม เติมอีกเป็นอันเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลนี้
ลักษณะทั่วไป จากพื้นฐานขึ้นไปถึงยอดสุด รอบๆ พื้นฐานมีตุ๊กตาจีนสลักด้วยศิลาเป็นรูปคนและ สัตว์ประดับเรียงรายรอบ ล้อมด้วยกำแพง ด้านตะวันออกมี ๓ ประตู ด้านตะวันตก ๒ ประตู ที่ประตู ประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑,๒,๓,๔ และ๕ ตามลำดับ มีที่สังเกตช่วงที่แยกเป็น ฐานซ้อนฐาน ๔ ช่วงด้วยกัน ฐานชั้นล่างสุด มีปรางค์เล็กประจำอยู่ ๔ มุม ถัดขึ้นไป เป็น ฐานชั้นที่สอง มีมณฑปประจำอยู่ ๔ ทิศ แต่ละมณฑปมีพระพุทธรูปเนื่องในพุทธประวัติ ประดิษฐานอยู่ภายใน ทิศเหนือเป็นปางประสูติ ทิศให้เป็นปางปฐมเทศนา ทิศตะวันออกเป็นปาง ตรัสรู้ และทิศตะวันตกเป็นปางปรินิพพาน ฐานชั้นที่ ๓ มีซุ้มรูปกินนร เหนือซุ้มทำเป็นรูปกระบี ่โดยรอบ ฐานชั้นบนสุด มีซุ้มประจำทิศทั้ง๔ เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ภายในซุ้ม เป็นรูปพรพายทรงม้าขาว เหนือขึ้นไปโดยรอบทำเป็นคุฑแบก พระนารายร์แบก ยอดเป็นนภศูลเสริมยอด ด้วย พระมหามงกุฎปิดทอง ทั้งปรางค์เล็ก ปรางค์องค์ใหญ่ มณฑป กำแพงแก้ว ล้วนแล้วแต่ประดับ ด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายสีต่างๆ
วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น