วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

สถาปัตยกรรมขอม

• ศิลปะขอมในยุคต่างๆ
• ศิลปะแบบพนมดา (พ.ศ.1057-1143) ด้านสถาปัตยกรรม จะเป็นการสร้างปราสาทด้วยอิฐให้มีลักษณะเป็นคล้ายรูปทรงปิรามิด มีเฉพาะประติมากรรม แต่ไม่มีในทับหลัง
• ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก (พ.ศ.1150-1200) ทับหลัง ลักษณะรูปโค้ง มีพวงมาลัยห้อยและมีตัวมกรที่ส่วนปลายของพวงมาลัย ภายในรูปเหนือวงโค้งแล้วมีรูปคนโผล่ออกมา
• ศิลปะแบบไพรกเมง (พ.ศ.1180-1250) ทับหลัง มีลักษณะต่อเนื่องจากแบบโบว์ไพรกุก แต่ไม่มีตัวมกร บริเวณภายในที่เป็นรูปใบไม้ม้วน และเน้นลวดลายใบไม้และดอกไม้แทน มีปราสาทที่มีความสำคัญ ได้แก่ ปราสาทไพรกเมง ในประเทศไทยพบเห็นได้ที่วิหารอิฐ ปราสาทภูมิโพน จังหวัดสุรินทร์ และทับหลังที่ปราสาทเขาน้อยสีชมพู อยู่ที่จังหวัดสระแก้ว
• ศิลปะแบบกำพงพระ (พ.ศ.1250-1350) เป็นศิลปะมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง มีลวดลายพรรณไม้ ลักษณะเป็นลายวงโค้งและปกคลุมไปด้วยใบไม้จนเหมือนพวงมาลัย และปลายทั้งสองก็จะม้วนออก
• ศิลปะแบบกุเลน (พ.ศ.1370-1420) อยู่ระหว่างยุคเก่าและยุคเมืองพระนคร จึงมีทับหลังที่มีลวดลายที่ดูแปลกใหม่ เพราะได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะจาม มีลักษณะเป็นรูปโค้งและวงรูปเหรียญที่มีลายพวงมาลัยกับลายก้านขด ส่วนบริเวณตรงกลางก็จะเป็นรูปสัตว์หรือมังกร ได้แก่ ปราสาทดัมไรยกรั๊บ ปราสาทอารักษ์ ตั้งอยู่ที่บริเวณเทือกเขาพนมกุเลน
• ศิลปะแบบพระโค (พ.ศ.1420-1440) ทับหลัง มีการแกะลายค่อนข้างลึก ลวยลายพวงมาลัยที่ม้วนออก ส่วนตอนปลายก็จะเป็นมกร นาค หรือลวดลายของใบไม้ ส่วนตรงกลางท่อนพวงมาลัยจะเป็นรูปสัตว์และเทวดา ได้แก่ ครุฑ หน้ากาล พระอินทร์ ศิลปะทับหลังยุคนี้ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของชวาเข้ามาผสมด้วย ได้แก่ ลายหน้ากาล หรือเกียรติมุข ส่วนปลายท่อนของพวงมาลัยก็จะเป็นการสลักรูปของนาคหันหน้าออกจากกัน ได้แก่ ปราสาทพระโค ปราสาทโลเลย และยังได้มีการเริ่มนำหินทรายเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปราสาท ได้แก่ ปราสาทบากองในประเทศไทยมีปราสาท ได้แก่ ปราสาทหินโนนกู่ ทับหลังของปราสาทพนมวัน อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
• ศิลปะแบบบาแค็ง (พ.ศ.1436-1468) ในยุคนี้เริ่มมีการแกะสลักหินกันมากขึ้น เพื่อแสดงถึงการมีอำนาจ มีการใช้หินในการก่อสร้างปราสาท ตัวปราสาท มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และมักจะก่อสร้างอยู่บนยอดเขา ลักษณะของทับหลังจะเป็นท่อนพวงมาลัย ส่วนปลายจะม้วนออกให้เป็นลายใบไม้ บริเวณกลางท่อนพวงมาลัยจะมีการสลักเป็นรูปเทวดาในท่านั่งอยู่เหนือหน้ากาล หรือพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หรือพระวิษณุทรงครุฑ ได้แก่ ปราสาทพนมกรอม ปราสาทบาแค็ง ปราสาทพนมบก ประเทศไทย พบเห็นได้ที่ ปราสาทหินเมืองแขก และทับหลังของปราสาทพนมวัน นครราชสีมา
• ศิลปะแบบเกาะแกร์ (พ.ศ.1465-1490) สถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์ ส่วนมากจะมีขนาดรูปทรงที่ใหญ่โต ส่วนทับหลังจะมีภาพในแบบของบาแค็ง บริเวณตรงกลางจะสลักให้เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา อาทิ รูปพระกฤษณะฆ่าพระยากงส์ และรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พบได้ที่ กลุ่มปราสาทเกาะแกร์ ปราสาทกระวัน ในประเทศไทยพบได้ที่ ปราสาทสังข์ศิลปชัย จังหวัดสุรินทร์
• ศิลปะแบบแปรรูป (พ.ศ.1487-1510) ส่วนใหญ่เป็นการเลียนแบบศิลปะแบบพระโคและบาแค็ง แต่จะไม่ค่อยมีความละเอียด อ่อนช้อย ได้แก่ ปราสาทบ๊าตจุม ปราสาทแปรรูป ปราสาทแม่บุญตะวันออก ในประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินบ้านเมืองเก่า จังหวัดชัยภูมิ
• ศิลปะแบบบันทายสรี (พ.ศ.1510-1543) ทับหลังมีลวดลายละเอียด อ่อนช้อย และสลักรูปดอกไม้เลื้อยออกจากก้าน ตรงท่อนพวงมาลัย จะมีรูปสัตว์ ได้แก่ ครุฑ หน้ากาล หรือช้าง ออกมาคั่น
• ศิลปะแบบคลัง (พ.ศ.1508-1553) ทับหลัง มีลวดลายคล้ายศิลปะแบบบันทายสรี สลักรูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยที่ออกมาจากปาก แล้วใช้มือมายึดที่พวงมาลัยเอาไว้ ได้แก่ ปราสาทตาแก้ว ประเทศไทย พบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ วัดโพธิ์น้อย และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์
• ศิลปะแบบบาปวน (พ.ศ.1553-1623) ทับหลัง มีลักษณะเป็นการเล่าเรื่อง โดยมีภาพบุคคลเป็นส่วนใหญ่ มีรูปของหน้าสัตว์ประหลาดโดยการผสมผสานรวมกับเทวดาที่นั่งอยู่ภายในซุ้ม หรือบางภาพอาจเป็นการเล่าเรื่องของ กฤษณาวตาร ได้แก่ ปราสาทแม่บุญตะวันออก ปราสาทบาปวน ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านพลวงและปราสาทเหมือนธม จังหวัดจังหวัดสุรินทร์ ปราสาทสด็อกก็อกธม จังหวัดสระแก้ว ปราสาทหนองกู่ จังหวัดร้อยเอ็ด ปราสาทวัดภู(ประเทศลาว)
• ศิลปะแบบนครวัด (พ.ศ.1650-1718) ศิลปะนครวัด ส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพของการเล่าเรื่องราว แต่จะไม่มีลวดลายของพรรณไม้ บริเวณตรงกลางภาพจะมีขนาดเล็กและมีรูปสัตว์ใหญ่ๆได้แก่ หงส์ นาค ใช้แทนที่ลายหน้ากาล ได้แก่ ปราสาทบึงมาลา ปราสาทนครวัด ปราสาทเจ้าสายเทวดา ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพนมจิสอ ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทหินพิมาน จังหวัดนครราชสีมา
• ศิลปะแบบบายน (พ.ศ.1720-1780) ศิลปะแบบนี้มีลักษณะที่พิเศษ ได้แก่ มีภาพจำหลักที่ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ภาพของชีวิตทั่วๆไป ได้แก่ ปราสาทนาคพัน ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายกุฎี ปราสาทบายน ปราสาทฉมาร์ ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาทตาเนี๊ยะ ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทตาเหมือน จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทโคกปราสาท จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ปราสาทปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี กำแพงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี พระปรางค์วัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี พระปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัด
• ยุคหลังเมืองพระนคร ความคิดของการสร้างศาสนสถานที่มีขนาดใหญ่โตและปราสาทหินก็ได้เสื่อมไป อีกทั้ง แรงงาน และแหล่งหินก็เริ่มหมด ปราสาทหินหลังสุดท้ายที่ได้มีการสร้าง ได้แก่ ปราสาทต็บตะวันออก หรือปราสาทมังคลาธา ได้ก่อสร้างไว้ใน พ.ศ.1838 ในช่วงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น