วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ดนตรีตะวันตก

ดนตรีตะวันตก



คุณสามารถดาวโหลดข้อมลูได้ที่นี้
http://th.upload.sanook.com/A0/119df638c856095a3266076814f7a2f2

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เจดีย์แบบทวาราวดี

ศิลปกรรมแห่งศรีรามเทพนครนั้นสามารถแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ
สถาปัตยกรรม และ ปฏิมากรรม
สถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนครที่หลงเหลืออยู่มักจะเป็นสถูปเจดีย์ซึ่ง
นักประวัติศาสตร์ ศิลป์ ได้แบ่งออกเป็น ๖ แบบ
๑.เจดีย์แบบทวาราวดี
๒.เจดีย์แปดเหลี่ยมมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๘ ทิศ ๓.เจดีย์แปดเหลี่ยมองค์ระฆังกลม มีซุ้มตื้นๆหรือไม่มีซุ้ม ประดิษฐาน พระพุทธรูป ๔.เจดีย์ แบบอู่ทอง
๕.เจดีย์แบบหินยานลังกามีองค์ระฆังใหญ่และฐานเตี้ย ๖.เจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงมีช้างหรือสิงห์ล้อมรอบเจดีย์ ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่สังเกตได้ชัดคือสถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนคร นั้น จะมีเทคนิคการก่อสร้างโดยใช้อิฐ¢นาดใหญ่ก่อเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ โดยไม่สอปูน แต่ใช้วัสดุพิเศษเชื่อมอิฐแต่ละก้อนเข้าด้วยกันอย่างแนบสนิทต่างกับ สถาปัตยกรรมสมัย กรุงศรีอยุธยาที่มักจะใช้วิธีการก่ออิฐถือปูนแบบธรรมดา
ท่านคงมีคำถามแล้วว่าอาณาจักรศรีรามเทพนครตั้งอยู่ที่ส่วนไหนของพระนครศรีอยุธยา จากถนนสายเอเซีย บนเส้นทางหลักเข้าสู่เกาะเมืองอยุธยาในปัจจุบัน ท่านจะต้องเห็น เจดีย์องค์หนึ่งตั้งเป็นตะหง่านอยู่บนเกาะวงเวียนกลางถนนเจดีย์องค์นี้คือเจดีย์วัด


สามปลื้ม เมื่อพิจารณาจากลักษณะของเจดีย์ที่มีสัดส่วน องค์ระฆังกลมยาวกว่าส่วน ฐานแปดเหลี่ยมและการก่ออิฐแบบไม่สอปูนจาก ช่องที่ผู้ บูรณÐได้เว้นเอาไว้ไม่ได้ฉาบปูนทับไปจนหมด เจดีย์วัด สามปลื้มนี้เป็นเจดีย์องค์หนึ่งของศรีรามเทพนครแน่นอน อันที่จริงแล้วเจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นเจดีย์องค์หนึ่ง ภายในวัด โบราณ แต่ในช่วงการตัดถนนเข้าสู่เกาะเมือง ไม่ทราบว่า ทำไมต้องตัดผ่านวัดแห่งนี้ ซึ่งกาลนั้นเป็นการทำลาย โบราณสถานอย่างร้ายแรง อาจเป็นเพราะคนไทย ในยุคนั้น ไม่ค่อยเล็งเห็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเท่าที่ควร เมื่ออ้อมวงเวียนซึ่งมีองค์เจดีย์วัดสามปลื้มตั้งอยู่ตรงกลางเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง ถนนแคบๆ แผนที่พระนครศรีอยุธยาแสดงที่ตั้งโบราณสถา¹ และวัดวาอารามต่างๆ (สำหรับแผนที่ใหญ่เปิดดูได้ที่นี่) ท่านก็จะ เข้าสู่
ภาพซ้ายเป็นภาพของพระวิหารหลัง
หนึ่งภายใน วัดมเหยงส์ เชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด หนึ่งของกรุงอโยธยาบริเวณทิศตะวันออก ของเกาะเมืองอยุธยาบริเวณ นี้เชื่อว่า เคยเป็นส่วนหนึ่งของศรีรามเทพนคร ในครั้งอดีต บริเวณนี้มีโบราณสถาน ที่สำคัญๆ ของศรีรามเทพนครอยู่หลายแห่งด้วยกัน ทำให้นักโบราณคดีบางท่านเชื่อว่า แถวๆน ี้แหละคือศูนย์กลางของศรีรามเทพนครตาม ข้อสันนิษฐานว่าบริเวณ ดังกล่าวเป็น ศูนย์กลางของศรีรามเทพนครก็ต้องมีพระราชวังหลวงเหลืออยู่เป็นแน่ แต่ลักษณะการ ก่อสร้างพระราชวังส่วนมากทำจากไม้ซึ่งยากที่จะหลงเหลือให้เห็นร่องรอย แต่เราก็ สามารถสืบค้นหาสถานที่ตั้งได้จากหลักฐานบันทึกใน พระราชพงศาวดารเหนือที่ระบุ ไว้ว่า
"ศักราชได้ ๓๑๑ ปีมะเส็ง เอกศก(พ.ศ. ๑๔๙๒) พระเจ้าหลวงได้ ราชสมบัติ ๙ ปี....จึงสั่งให้ยกวัง เป็น วัดเรียกว่า วัดเดิม แต่นั้นมา"

พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย

พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย
ศรีวิชัยจัดอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๗ พระพุทธรูปศรีวิชัยรุ่นแรก
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะ ทรวดทรงได้สัดส่วนตามลักษณะธรรมชาติ
จึงกล่าวได้ว่ามีความงามกว่าแบบคุปตะ ยังสามารถบอกได้ว่าศิลปะศรีวิชัยรับ
อิทธิพลมาจากปาละด้วย คือรูปพระโพธิสัตว์ นางอัปสร เครื่องตกแต่งประดับ
กายมีลวดลายเหมือนกัน เหมือนกับสืบทอดมาจากสมัยคุปตะ ลักษณะเรียบง่าย
ไม่รกรุงรุงเหมือนปาละ

ลักษณะของพระพุทธรูปของสมัยศรีวิชัยจะมีพระวรกายอวบอ้วน ได้สัดส่วน
กว่าสมัยทวารวดี พระหัตถ์และพระบาทไม่โต ได้สัดส่วนกับพระวรกาย พระ
เนตร และพระโอษฐ์เล็ก พระเกตุมาลาเป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดี ขมวดพระ
เกศาเล็กกว่า

ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วแตกต่างจากทวารวดี ซึ่งทำเป็นท่าห้อยพระ
บาท พระพุทธรูปที่พบเป็นปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ และนั่งขัดสมาธิเพชร
ปางลีลา ปางเสด็จดาวดึงส์ ปางโปรดสัตว์ ปางประทานอภัย และปางนาคปรก
ส่วนปางอื่นๆจะเป็นพระพิมพ์