วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปราสาทบาปวน

ปราสาทบาปวน
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1603)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบาปวน
• ศาสนา :ศาสนาฮินดู
• ปราสาทบาปวน จัดเป็นปราสาทแรกในกลุ่มปราสาทเมืองพระนคร มีทางเดินผ่านตัวปราสาทเป็นสะพานหินยกระดับทอดยาว ทางเดินเข้าผ่านโคปุระรูปกากบาท 3 ทาง ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่ตั้งของปราสาทอยู่ในเขตพระราชวังหลวง เป็นปราสาทที่มียอดสูง มีหลักฐานจากการบันทึกของจิวต้ากวนราชทูตจากเมืองจีนในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กล่าวไว้ว่า ยอดปราสาทบาปวนเคลือบด้วยสำริดแลอร่ามแต่ไกล หากยอดไม่หักพังเสียก่อน คาดว่าปราสาทบาปวนอาจมีความสูงกว่าปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน ปัจจุบันนี้ปราสาททรุดโทรมมากและกำลังได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง
• สะพานยกระดับอยู่องค์ปราสาท ทางเข้าจากโคปุระทิศตะวันออกมีสะพานยกระดับ ด้านล่างมีเสากลมรองรับทางเดินสู่ไปปรางค์ประธาน
• ภาพสลัก เช่น ภาพการล่าสัตว์ การต่อสู้ระหว่างนักรบ บนโคปุระทางเข้าและระเบียงคตของตัวปราสาทด้วยศิลปะแบบบาปวน




ลานช้าง• ปีที่สร้าง : สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 18
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• ลานช้าง ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองพระนครหลวง หันหน้าเข้าสู่ลานกว้างเรียกว่าสนามหลวง ลักษณะเป็นระเบียงยาวประมาณ 350 เมตร สูงจากพื้น 3 เมตร ผนังฐานพลับพลาสร้างด้วยหินสลักเป็นรูปช้างและครุฑพ่าห์พื้นพลับพลาเป็นหินตั้งอยู่ด้านหน้าประตูพระราชวังมีมุขยื่นออกมาทั้งสองด้าน คือมุขช้างเอราวัณและมุขรูปครุฑพ่าห์มีบันไดขึ้นลงได้ 5 ทาง บันไดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นทางพระราชดำเนินที่จะใช้ลงไปยังสนามหลวงของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
• จุดประสงค์ของการสร้างลานช้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับพระมหากษัตริย์นั่งทอดพระเนตรการสวนสนาม การซ้อมรบ และการเฉลิมฉลองต่างๆ ตลอดจนการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
• ภาพสลักนูนสูงรูปช้างและครุฑ ฐานระเบียงมีภาพสลักนูนสูงเป็นรูปช้างตลอดแนว เรียกว่า ลานช้าง และมีภาพครุฑแบกที่สวยงามเรียกว่าระเบียงครุฑหรือลานพระเกียรติ
• ภาพสลักนูนสูงรูปม้าห้าหัว ด้านทิศเหนือของลานช้างบริเวณใกล้ฐานลานพระเจ้าขี้เรื้อน มีภาพม้าห้าหัวหรือม้าพลาหะอันเป็นอวตารปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่คอยช่วยเหลือผู้คนให้พ้นจากปีศาจร้าย
• ภาพสลักนูนสูงรูปหงส์ ทางด้านทิศตะวันออกตรงข้ามกับทางเข้าประตูชัยของนครธม มีภาพสลักรูปหงส์ และบนฐานลานช้าง ถ้ามองไปยังทิศตะวันตก จะพบโคปุระซึ่งนำไปสู่ปราสาทพิมานอากาศและพระราชวังหลวง

ลานพระเจ้าขี้เรื้อน• ปีที่สร้าง : สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 – 19
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• ลานพระเจ้าขี้เรื้อน สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 โดยที่ไม่ทราบชื่อ จึงถูกขนานนามขึ้นใหม่ เชื่อกันว่าเป็นศาลตัดสินโทษ ผนังของลานสันนิษฐานว่าถล่มและได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมดมีความยาว 25 เมตร สูง 6 เมตร
• ภาพสลักนูนสูงที่ระเบียง เป็นภาพพญายมมีนางนาคอยู่ทั้งสองข้าง กล่าวถึงเมืองบาดาล อันเป็นที่พักอาศัยของนาค ที่มุมระเบียงมีภาพสลักนูนสูงของนาค 9 เศียร และ 5 เศียรอยู่ข้างบน ภาพพญายมจะถือพระขรรค์นั่งในท่าขัดสมาธิและชันเข่าถ้าเป็นสตรีมักจะมีศิราภรณ์ (คล้ายๆมงกุฏ) สวมใส่บนศีรษะ นั่งในท่าพับเพียบหรือชันเข่า มือประนมถือดอกบัว มีบางรูปที่แขว่งพระขรรค์แขนตั้งวงโค้งวางมืออยู่บนศีรษะอย่างสวยงาม ภาพสลักนูนสูงแถวที่สอง เป็นรูปยักษ์และรูปครุฑ ซึ่งมีทั้งรูปจริงและรูปจำแลง ภาพสลักแถวที่สามเป็นรูปเทวดา




ปราสาทพิมานอากาศ
• ปีที่สร้าง :สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบคลัง
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
• ปราสาทพิมานอากาศ เป็นปราสาทหลังเดียวที่ก่อสร้างด้วยหินทรายอยู่บนฐานศิลาแลง ซ้อนกันเป็น 3 ชั้น คล้ายปิรามิด ความสูงของฐานปราสาทพิมานอากาศทั้ง 3 ชั้นราว 12 เมตร รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้ามีบันไดลาดชันทั้ง 4 ด้าน ส่วนทางเข้าชมพระราชวังต้องเดินผ่านฐานขึ้นบนพลับพลาสูงไปตามบันไดครุฑ เพราะพระราชวังนี้ต้องอยู่บนพลับพลาสูง เมื่อขึ้นไปสู่พลับพลาสูงจะเห็นประติมากรรมรูปสิงห์ ศิลปะสมัยบายนยืนผงาดอยู่เชิงบันไดทั้งสองข้าง บนฐานพลับพลาสูงแห่งนี้ยังมีร่องรอยการปลุกสร้างพลับพลาในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้ออกว่าราชการตรวจพลสวนสนาม หรือประกอบพิธีทางศาสนา ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยอีกแล้ว เพราะสิ่งก่อสร้างทำจากไม้
• ปราสาทพิมานอากาศ ตั้งอยู่บนฐานสูงสามชั้นแต่ละชั้นสูง 4 เมตรชั้นล่างสุดมีขนาดกว้าง 28 เมตร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ยาว 35 เมตร ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ฐานปราสาททั้งสามชั้นเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทได้ ซึ่งมีบันไดอยู่กลางฐานทั้งสี่ทิศหลัก แต่ส่วนใหญ่แตกหักพังทลาย ที่มีสภาพดีที่สุดคือทิศตะวันตก สองด้านของบันไดทางขึ้นขนาบข้างด้วยประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ และรูปช้างที่มุมฐานทั้งสามชั้น ตัวปราสาทบนฐานชั้นบนสุดด้านนอกเป็นระเบียงคตทำจากหินทราย ด้านในเป็นตัวปราสาทสร้างบนฐานสูง 2.5 เมตร จากบันทึกของจิวต้ากวนกล่าวว่าในปราสาทแห่งนี้กษัตริย์ขอมตะต้องเสด็จมาบรรทมกับนางนาคเก้าเศียรที่จะแปลงร่างเป็นสาวงามทุกคืน ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าขานกันในหมู่ชาวจีนที่มีอาศัยอยู่ในเมืองพระนครหลวงสมัยนั้น
• สระน้ำหลวง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 45 เมตร ยาว 125 เมตร ขอบสระเป็นหินทรายล้อมรอบหลายชั้นลาดลงด้านล่าง เชื่อว่าสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และแกะสลักภาพเพิ่มเติมในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่บริเวณด้านทิศใต้ของสระมีกำแพงยาวต่อขึ้นไปทางทิศตะวันตกอีกเล้กน้อย สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อกั้นชั้นดินจากปราสาทพิมานอากาศไม่ให้ไหลลงสระ จุดเด่นของกำแพงคือภาพสลักที่สมบูรณ์ ภาพบางตอนคล้ายภาพที่ผนังลานพระเจ้าขี้เรื้อน
• สระน้ำด้านทิศตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกของโคปุระด้านทิศเหนือ มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร มีลักษณะเป็นสระน้ำหินทรายลึก 4.5 เมตร เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังที่สร้างในบริเวณนี้ครั้งแรก
• ระเบียงและสระน้ำ ด้านทิศตะวันตกและสระน้ำหลวง อยู่ทางทิศตะวันตกของโคปุระด้านทิศเหนือ ด้านนอกเป็นกำแพงศิลาแลง สภาพค่อนข้างทรุดโทรม ถัดเข้าไปเป็นสระน้ำขนาดเล็กและระเบียงต่ำๆ จุดเด่นอีกแห่งคือภาพสลักบนกำแพง
• ระเบียงทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นระเบียงรูปไม้กากบาท มีเสากลมอยู่ด้านล่าง แต่ถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุม เดินเข้าไปค่อนข้างลำบาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น