วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วัดหน้าพระเมรุ

สถาปัตยกรรมสมัยทวาราวดี
ได้มีการขุดค้นโบราณวัตถุที่จังหวัดนครปฐมและได้พบเห็นโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย ที่สร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน ส่วนใหญ่สถาปัตยกรรมในสมัยนี้พบเห็นในการก่อสร้างเจดีย์ นอกจากนั้น ยังขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี นอกจากนั้นยังขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นโบราณวัตถุในสมัยเดียวกันกับที่ขุดค้นพบในจังหวัดนครปฐม
สถาปัตยกรรมสมัยนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระสถูปเจดีย์เมืองสัญจิ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นรูปโอคว่ำ มีอาสน์บนยอดและมีฉัตร เช่น พระปฐมเจีดย์ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : วัดหน้าพระเมรุ
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว : ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง(เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า“วัดพระเมรุราชิการาม”ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้น ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นมีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อพ.ศ.2046 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อพ.ศ.2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ถนน. - ต. อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วันทำการ : -
เวลาทำการ : -
เว็บ : -
เบอร์โทรศัพท์ : -
จำนวนนักท่องเที่ยว : -
ลักษณะเด่นพื้นที่ : 1.พระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายในต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้นมีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนแกะสลักไม้เป็นดาวเพดานพระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราชมีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมาก ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์(หรือวิหารน้อย) ซึ่งอยู่ข้างพระอุโบสถ
2.มีพระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย
3.-
4.-
กิจกรรม : 1.ไหว้พระ
2.ถ่ายรูป
3.ปฏิบัติธรรม
4.ทำบุญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น