วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วัดพระบรมธาตุไชยา

สถาปัตยกรรมศรีวิชัย
ได้รับอิทธิพลจากชวา เช่น จันทิปะวน โดยแพร่เข้ามาทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซียและไทย ลักษณะขององค์เจดีย์ เป็นแปดเหลี่ยมย่อมุมและมีเจดีย์ทิศตั้งล้มอยู่และก่อด้วยอิฐชนิดไม่ถือปูน เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
วัดพระบรมธาตุไชยา
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาติ ให้ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารมหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 มีนามว่า วัดพระธาตุไชยา และต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้เลื่อนฐานะวัดพระธาตุไชยา ขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนาม ใหม่ว่า วัดบรมธาตุไชยา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ หลักฐานทางเอกสาร ที่แน่ชัด สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัด ได้แก่พระบรมธาตุเจดีย์ รูปแบบสถาปัตยกรรม ศิลปะศรีวิชัย ที่สมบูรณ์ที่สุด เท่าที่ยังเหลืออยู่ ในปัจจุบัน สันนิษฐาน ว่าสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ ศิลปะ และนักโบราณคดี หลายท่าน อาทิ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าส ุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี นายมานิต วัลลิโภดม พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงเชื่อว่าไชยา น่าจะเป็นกรุงศรีวิชัย ตามที่ปรากฏ หลักฐาน ในศิลาจารึกที่ 23 เนื่องจากได้พบ โบราณวัตถุ โบราณสถานสมัยศรีวิชัย เป็นจำนวนมาก วัดพรระบรมธาตุไชยา แห่งนี้เดิมเคย ปรักหักพัง รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่า นานเท่าใดจ นกระทั่ง พระครูโสภณ เจตสิการาม(หนู ติสโส) เจ้าคณะเมืองไชยา วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง (ต่อมาได้รับ พระราชทาน สมณศักดิ์ เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชา ลังกาแก้ว และท่านเจ้าคุณ ชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ ตามลำดับ) เป็นหัวหน้า ชักชวนบรรดา เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ร่วมกับ พุทธศานิกชนทั่วไป ได้บูรณะพระอาราม รกร้าง แห่งนี้ ระหว่างปี พ.ศ. 2439 – 2453 รวมระยะเวลา 14 ปีเศษ สภาพเดิม ของพระบรมธาต ุพระครูรัตนมุนี ศรีสังฆราชาลังกาแก้ว ได้ลิขิตรายงาน การปฏิสังขรณ์ พระบรมธาตุเมืองไชยา ยื่นยัง พระยามหิบาลบริรักษ์ ข้าหลวง เทศบาล สำเร็จราชการ มณฑลชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2453 สรุปใจความสำคัญว่า พระบรมธาตุ ณ วัดพระธาตุ อำเภอพุมเรียง ในเมืองไชยาเก่านี้ สร้างไว้แต่ครั้งใด ไม่สามารถสืบความได้ ในชั้นแรก คงไม่ได้ใช้ปูนเลย อิฐที่ใช้ก่อเผาไฟแกร่ง ไม่สอปูน แต่ใช้อิฐป่น ละเอียดผสมกับ กาวใช้เป็นบายสอ วิธีก่อ จะก่อเรียง อิฐแนบสนิท รอยต่อระหว่างอิฐ จะขัดถูปรับ จนได้เหลี่ยมเสมอ กันพอดี และคงขัด ทั่วทั้งองค์ ให้หายเงื่อนอิฐ และหายขรุขระ ลวดลายในชั้นแรก ไม่พอกปูนปั้น แต่ใช้วิธีขุดสลัก ลงในอิฐ มีการใช้ศิลา เป็นองค์ประกอบ ในส่วนยอด มีร่องรอยการบูรณะ โดยใช้ปูนเข้ามา ปฏิสังขรณ์ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ที่ฐานพระบรมธาตุ ถูกดินถมขึ้นราว 1 เมตร ยอดเจดีย์ หักพังลงมา จนถึงองค์ระฆัง ซึ่งสันนิฐานว่า เดิมคงเป็นองค์ระฆัง ทรงกลม ยอดเจดีย์ ที่สันนิษฐานว่า เป็นยอดพระธาตุ เดิมนั้นขุดพบ ภายในบริเวณวัด ปัจจุบันเก็บรักษา อยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา พื้นลานระหว่างฐาน พระเจดีย์ ถึงระเบียงคด ที่ประดิษฐานพระเวียน ปูด้วยอิฐหน้าวัว สภาพแตกหัก เสาระเบียงคด เดิมเป็นเสาไม้แก่น ในการปฏิสังขรณ์ ได้ตามเค้าของเก่า มีที่เพิ่มเติม จากของเก่า มีที่เพิ่มเติม จากของเก่าบ้างคือ ต่อเติมบัวปากระฆัง ต่อยอดให้สูงขึ้น กับทำฉัตรใส่ยอดเป็น 3 ชั้น ก้าน และใบฉัตร ภายในรอง ด้วยเงิน แล้วหุ้มด้วย ทองคำทองที่ เหลือจาก หุ้มฉัตร ยังได้หุ้มตลอดลงมา ลูกแก้วและปลี สิ้นทองคำหนัก 82 บาท 3 สลึง



ที่ตั้ง:
ที่ตั้ง หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การเข้าถึง:
ทางรถยนต์ (4011) ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กม. แหล่งทางวัฒนธรรม: ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
ประเภทแหล่ง:
โบราณสถาน และโบราณคดี
ลักษณะและสภาพของแหล่ง:
เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้ง อยู่ในดินแดน ที่มีความเจริญ ทางพระพุทธศาสนา ในอดีต มีพระบรมธาตุไชยา ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะ ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป มีการขุดพบ พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย และเป็นวัดที่รักษา ความเป็นเอกลักษณ์ ของช่าง และศิลปกรรม สมัยศรีวิชัย ไว้ได้อย่างสมบูรณ์

ฤดูท่องเที่ยว:
มีนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชม และสักการะตลอดปี
นักท่องเที่ยว:
กลุ่มหลักนักท่องเที่ยวไทย กลุ่มรองนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ความดึงดูดใจ:
โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดเวลา
สถานที่ท่องเที่ยว/ กิจกรรม:
สถานที่ท่องเที่ยว พระบรมธาตุไชยา โดยมีกิจกรรม ชมโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ 1) พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ ทรงปราสาท เรือนธาตุ มีผังเป็นรูปกากบาท 2) เจดีย์ทิศ ตั้งอยู่รอบองค์ พระบรมธาตุที่มุมทั้งสี่ทิศ (ปัจจุบันอยู่รอบนอก ของสระน้ำ ที่ขุดรอบ ฐานองค์ พระบรมธาตุ) 3) พระวิหารหลวง อยู่ทางทิศตะวันออก ของพระบรมธาตุ ด้านหลังวิหารสร้าง ยื่นล้ำเข้ามา ในเขตพระวิหารคด ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปใหญ่ น้อยหลายองค์ ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา 4) พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2498 แทนพระอุโบสถเก่า ซึ่งชำรุดและ รื้อออกไป พระประธานภายใน พระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ปางมารวิชัย 5) ระเบียงคต วิหารคต หรือพระระเบียง เป็นระเบียง ส้อมรอบ องค์พระธาตุ อยู่ในผัง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส นอกจากนี้ ในบริเวณวัดพ ระบรมธาตุไชยา ยังได้พบโบราณวัตถุชิ้น สำคัญศิลปะ สมัยศรีวิชัยหลายชิ้น ได้แก่ พระโพธิ์สัตว์ อวโลกิเตศวร สำริดและศิลา ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษา อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูเรื่องโบราณวัตถุ)
แหล่งทางวัฒนธรรม: ข้อมูลแหล่ง
พิกัดภูมิศาสตร์:
09o22’58’’ N และ 99o11’13’’ E ระวางที่ 4827 IV อำเภอไชยา
องค์ประกอบ: หลักฐานทางโบราณคดีและรูปแบบศิลปกรรม 1. พระบรมธาตุเจดีย์ พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ยอดแบบที่นิยม เรียกว่ากันทั่วไปว่า ศิลปะศรีวิชัย เรือนธาตุมีผัง เป็นรูปกากบาท มีมุขทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเป็นมุขตัน ยื่นออกมาจาก กลางผนังเรือนธาตุ ยกเว้น ด้านทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้น เข้าสู่ห้องโถงกลาง มุขทั้งสี่ด้าน ที่ยื่นออกมาจาก ผนังเรือนธาตุ นี้ทำให้ดูคล้าย ย่อมุมไม้สิบสอง แต่โดยข้อเท็จจริง แล้วมิได้เป็นการย่อมุมไม้ แต่เป็นการเพิ่มมุข เรียกว่า จัตุรมุข รูปแบบแผนผัง โครงสร้างของสถาปัตยกรรม ที่เรียกว่าพระบรมธาตุไชยา นี้ได้รับการตีความ อย่างกว้างขวาง บ้างก็ว่าคล้ายคลึง กับสถาปัตยกรรม ที่เรียกว่า จันทิ ในศิลปะชวา ภาคกลาง ได้แก่ จันทิปะวน อายุราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 ซึ่งมีลักษณะโดยรวม คล้ายคลึงกับ สถาปัตยกรรมแบบอินเดียใต้ แต่เปลี่ยนรูปจำลอง อาคารขนาดเล็ก บนชั้นหลังคา ซึ่งเป็นเทวาลัย ในศาสนาพราหมณ์ ให้กลายเป็นลักษณะ สำคัญของสถาปัตยกรรม ในพุทธศาสนา บ้างก็ว่ามีเค้า ของการคลี่คลาย มาจากปราสาท 2 หลัง ที่วัดแก้วและวัดหลง ทำให้เกิด ข้อสันนิษฐาน อีกอย่างหนึ่งว่าอายุ ของพระบรมธาตุไชยา อาจจะหลังลงมาจาก โบราณสถานที่วัดแก้ว และวัดหลง เป็นสถาปัตยกรรม ในยุคครหิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 อย่างไรก็ดี รูปแบบศิลปกรรม ของพระบรมธาตุไชยา ก็ได้แพร่อิทธิพล ให้แก่สถาปัตยกรรม ในสมัยต่อมา อย่างแพร่หลาย เช่น เจดีย์ วัดเขาพระอานนท์ อำเภอพุนพิน เจดีย์ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม เจดีย์บนเขาสายสมอ วัดโบราณต่าง ๆ ในเขต อำเภอไชยา และเจดีย์วัดเขาหลัก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น 2. เจดีย์ ตั้งอยู่รอบองค์พระบรมธาตุ ที่มุมทั้งสี่ทิศ (ปัจจุบันอยู่รอบนอก ของสระน้ำที่ ขุดรอบฐาน องค์พระบรมธาตุ) เจดีย์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็น เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ชั้นล่างเป็น ฐานบัวลูกแก้ว ทรงสูง ก่ออิฐฉาบปูนตำ รองรอบบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งรองรับ องค์ระฆังทรงกลม ส่วนยอดเป็นบัลลังก์ ปล้องไฉน และปลียอด เจดีย์องค์นี้แตกต่าง จากเจดีย์ทิศที่มุมอีก 3 ด้าน ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลม แบบลังกา ตั้งอยู่บนฐาน เขียงรองรับ มาลัยลูกแก้ว 8 แถว องค์ระฆังทรงกลม อยู่บนบัวปากระฆัง ส่วนยอดไม่มีบัลลังก์ แต่ก้านฉัตร ต่อด้วยปล้องไฉน และปลียอด ภายในเจดีย์กลวง ด้านหน้าเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูป ภายในซุ้มของเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประดิษฐานพระปูนปั้น มือขวาถือเกรียง เป็นรูปเหมือนท่านเจ้าคุณ พระชยาภิวัฒน์ฯ ผู้บูรณะพระบรมธาตุ เจดีย์นี้น่าจะสร้างขึ้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังกว่าเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งน่าจะสร้าง ในสมัยอยุธยา ส่วนเจดีย์ ด้านทิศตะวันตก ด้านหลัง องค์พระบรมธาตุ เป็นเจดีย์ ทรงมณฑป สร้างขึ้นใหม่ สมัยรัตนโกสินทร์ 3. พระวิหารหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกข องพระบรมธาตุ ด้านหลังวิหาร สร้างยื่นล้ำ เข้ามาในเขตพระวิหารคด ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปใหญ่น้อย หลายองค์ ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา พื้นวิหารเดิมต่ำกว่า พื้นปัจจุบันมาก สังเกตจากฐานชุกชี ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปในระดับต่ำ และทำเป็น ฐานบัวลูกแก้ว เลียนแบบฐาน ของพระบรมธาตุ พื้นวิหาร ที่ยกขึ้นสูงปิดทับ ส่วนล่างของ ฐานชุกชี เข้าใจว่าคงเป็น การยกพื้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง น้ำท่วมขังในฤดูฝน หน้าวิหารเดิม เป็นไม้แกะสลักรูปดอกไม้เทศลงรัก ประดับกระจกสีทั้งสองด้าน ถูกถอดออก เมื่อคราวบูรณะวิหาร ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ที่ผนังด้านนอกวิหาร มีพระพุทธรูป ทรายสีแดงประทับยืน แสดงปางประทานอภัย ศิลปะสกุลช่างไชยา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อยู่องค์หนึ่ง ปัจจุบันจัดแสดง อยู่ภายในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา ส่วนที่เดิมสร้าง องค์จำลองปูนปั้นแทน พระวิหารหลวงได้รับ การบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ท่านพระครู อินทปัญญจารย์ (เงื่อม อินปญโญ) พุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งพระครูโสภณ เจตสิการาม ( เอี่ยม นามธมโม ) ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์วัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ก็ได้ใช้วิหารหลวง เป็นที่จัดแสดง โบราณวัตถุต่าง 4. พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2498 แทนพระอุโบสถเก่า ซึ่งชำรุด และรื้อถอนออกไป พระประธานภายใน อุโบสถเป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยา เบื้องหน้าพระประธาน ประดิษฐาน พัทธสีมาคู่ซึ่งเป็น ของเดิมแต่ครั้ง พระอุโบสถเก่า สมัยอยุธยา การผูกพัทธสีมา คู่นี้สันนิฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมี ใบพัทธสีมา เพียงใบเดียว เรียงรายรอบอุโบสถ จนกระทั่งเมื่อ ศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์ ได้แผ่เข้ามา มีอิทธิพล ในประเทศไทย ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ( สมัยเดียวกับที่ ได้สร้างพระบรมธาตุ ทรงลังกา ขึ้นที่นครศรีธรรมราช ) พระสงฆ์ใน ลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์ ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา ซ้ำลงในที่ดินเดิม อีกครั้ง เพื่อให้พระพุทธศาสนา บริสุทธิ์ มั่นคง สมบูรณ์ 5. ระเบียงคด วิหารคด หรือพระระเบียง เป็นระเบียงล้อมรอบ องค์พระธาตุอ ยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 38 เมตร สูง 4 เมตร ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปปางต่างๆรวม 180 องค์ ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน พระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนใหญ่ได้รับการ ปฎิสังขรณ์ใหม่ ส่วนพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา ยังอยู่ในสภาพเดิม การสร้างระเบียงคด ล้อมรอบอาคาร ประธานเป็นแผนผัง ของวัดที่นิยมสร้าง ในสมัยอยุธยา 6. พระพุทธรูปกลางแจ้ง ประดิษฐาน อยู่บนลานภายใน กำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ พระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายสีแดง ขนาดใหญ่จำนวน 3 องค์ ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา เดิมที่ตั้ง พระพุทธรูป คงจะเป็นวิหาร แต่ชำรุดทรุดโทรม จึงถูกรื้อออก 7. พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) 2 กร สำริด ศิลปะสมัยศรีวิชัย พบบริเวณ สนามหญ้า ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ของพระบรมธาตุ อยู่ใต้ต้นโพธิ์ ขนาดเท่าบุคคลจริง สภาพชำรุด ส่วนท่อนล่าง ตั้งแต่บั้น พระองค์หายไป ทรงยืนอยู่ในท่าตริภังค์ (เอียงสะโพก ) พระพักต์กลม มีอุณาโลม ที่พระนลาฏ พระเนตรเหลือบ มองต่ำ ทรงสวมกระบังหน้า กุณฑล พาหุรัด และกรองศอที่มีทับทรวง ทรงสะพาย ผ้าแพรเฉียง พระวรกาย และสะพาย สายยัชโญปวีต ลูกประคำซึ่งมีเครื่องประดับ สายเป็นรูปหัวกวาง อยู่ที่พระอังสาซ้าย ลวดลาย เครื่องประดับ คล้ายกับประติมากรรม ในชวาภาคกลาง อันเป็นการสนับสนุน หลักฐาน จากจารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ทางสกุลวงศ์ ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา ) และราชวงศ์ไศเลนทร์ ในชวาภาคกลาง กำหนดอายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 14 องค์จริงจัดแสดง อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลอง จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา พระโพธิสัตว์องค์นี้ เป็นประติมากรรม ศิลปะศรีวิชัย ที่มีชื่อเสียงที่สุด และจัดได้ว่า งดงามที่สุด เป็นหลักฐาน ที่โดดเด่นชิ้นหนึ่ง ที่สนับสนุน ความสำคัญ ในด้านศิลปวัฒนธรรม ของเมืองไชยา โบราณในสมัยศรีวิชัย 8. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 8 กร สำริด ศิลปะศรีวิชัย พระพักตร์กลม พระขนงต่อกัน เป็นรูปปีกกา พระกรทั้งแปด หักหายหมด ทรงเก้าพระเกศา เป็นรูปชฎามุกุฎ มีพระพุทธเจ้า อมิตาภะ ประทับอยู่ในกรอบหน้า ของชฎามุกุฎ ตกแต่งด้วยศิลาภรณ ์กับกระบังหน้า สวมกรองศอ กุณฑล พาหุรัด ทรงสะพายแพร ซึ่งมีสายยัชโญ ปวีตลูกประคำทับ อันเป็นเครื่องหมาย ของบุคคล ในวรรณะพราหมณ์ หรือวรรณะกษัตริย์ ซึ่งประดับด้วยหัวกวาง อันเป็นลักษณะ เฉพาะของพระองค์ บนสายแพร ทรงพระภูษายาว คาดทับด้วยปั้นเหน่ง และผ้า ซึ่งทิ้งห้อย เป็นเส้นโค้ง ทางด้านหน้า และผูกไว้เหนือ พระโสณี ลักษณะเครื่องประดับ คล้ายคลึงกับ เครื่องประดับ ของประติมากรรม ในชวาภาคกลาง รูปพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร 8 กร นี้แสดงฐานะความเป็น เจ้าแห่งจักรวาล จึงมีพระนามว่า “โลเกศวร” ประติมากรรมมักมีเกินกว่า 2 กร ในคัมภีร์การัณฑ พยูหสูตร ซึ่งเขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1050 – 1450 กล่าวว่าพระองค์มีแสนกร โกฏิพระเนตร สิบเอ็ดเศียร โลมา ( เส้นขน ) แต่ละเส้น คือจักรวาล พระเนตร คือพระจันทร์ และพระอาทิตย์ แผ่นดินคือ พระบาทอำนาจ ของพระองค์ยิ่งใหญ ่เหนือพระตถาคต ทั้งปวง ทรงเป็นผู้ประทานมนต์ หกพยางค์ อันยิ่งใหญ่ ที่มีชื่อว่า สรรพราเชนทร หรือเจ้าแห่งราชา ทุกพระองค์ คือ “ โอม มณี ปัทเม ฮูม” แปลว่า ดวงมณีเกิด อยู่ในดอกบัว คาถาบทนี้ ทำให้เห็นว่า พระองค์ ทรงเป็นเจ้าแห่ง จักรวาลทั้งมวล ประติมากรรมชิ้นนี้ กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 14 องค์จริงจัด แสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลองจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา 9. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) 2 กร ศิลา ทรงประทับ ยืนตรงอยู่บนดอกบัว พระพักตร์สี่เหลี่ยม ทรงเกล้าพระเกศา เป็นรูปชฎามกุฎ มีพระพุทธเจ้าอมิตาภะ ประทับอยู่ด้านหน้า พระหัตถ์ขวา แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ซ้าย ทรงถือดอกบัว ทรงพระภูษายาว มีหน้านาง และจีบอยู่ด้านข้าง คาดปั้นเหน่งทับ พร้อมกับคาดหนังเสือ รอบพระโสณี พระวรกายตกแต่ง ด้วยพาหุรัด กรองศอทองพระกร ประติมากรรมชิ้นนี้ แสดงอิทธิพล ศิลปะจาม กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 15 องค์จริงจัดแสดง อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลอง จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา 10. พระพุทธรูป มีทั้งพระพุทธรูปศิลา และพระพุทธรูปปูนปั้น ทั้งที่เป็นอิทธิพล ศิลปะอินเดีย และศิลปะทวารวดี ตลอดจน พระพุทธรูปศิลาทรายแดง และพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ในรุ่นหลัง พระพุทธรูป ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธรูปศิลา สูง 104 เซนติเมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ประทับนั่งขัดสมาธิ ราบ แสดงปางสมาธิ อยู่บนฐานบัว อิทธิพลศิลปะ อินเดียแบบคุปตะ สกุลช่างสารนาถ เดิมประดิษฐาน อยู่ในซุ้มเล็ก ๆ ซุ้มหนึ่งใน สองข้างบันได ที่จะขึ้นไปบน องค์พระบรมธาตุ รูปแบบทั้งหมด ของพระพุทธรูป องค์นี้ยังคล้ายกับ ประติมากรรม สมัยพนมดา ในศิลปะขอม อีกด้วย จัดอยู่ในกลุ่ม พระพุทธรูปสกุล ช่างไชยารุ่นที่ 1 คือเป็น ศิลปะท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจาก พระพุทธรูป อินเดียสกุลช่าง ต่าง ๆ มาผสมผสานกัน ปัจจุบันจ ัดแสดงอยู่ท ี่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา ส่วนพระพุทธรูป อิทธิพลศิลปะทวารวดี ส่วนใหญ่เป็น พระพุทธรูปศิลา ประทับ ยืนปางแสดงธรรม คล้ายกับที่พบบริเวณ แหล่งโบราณคดี ในภาคกลางของประเทศไทย 11. ฐานโยนิ มีลักษณะพิเศษ คือมีรางน้ำมนต์ 2 ด้าน ตรงข้ามกัน (ตั้งอยู่ที่ลาน ในเขตพระระเบียง)

ขนาด: ความสูงของ พระบรมธาตุ จากฐานถึงยอด ประมาณ 24 เมตร ประกอบด้วย ฐานบัวลูกแก้ว สี่เหลี่ยมจัตุรัส ตกแต่งด้วย เสาติดผนังลดเหลี่ยม 1 ชั้นวางอยู่บน บานเขียงซ้อนกัน 2 ชั้น ขนาดฐานวัด จากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก ยาวประมาณ 13 เมตร (ของเดิมยาว 10 เมตร และสร้างพอกขึ้นใหม่ ทางด้านหน้าอีก 3 เมตร) จากทิศเหนือถึง ทิศใต้ยาวประมาณ 10 เมตร ส่วนยอดอยู่ต่ำกว่า ผิวดินปัจจุบัน เดิมมีดินทับถม อยู่เมตร ทางวัดจึงได้ขุด บริเวณโดยรอบฐาน เป็นสระกว้างประมาณ 2.30-2.50 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขัง อยู่รอบฐานตลอดปี ด้านหน้า ฐานบัวลูกแก้ว ด้านทิศตะวันออก มีซุ้มพระพุทธรูป อยู่ข้างบันได จำนวน 2 ซุ้ม เป็นของที่สร้าง ต่อเติมสมัยหลัง (ก่อนการบูรณะใ นสมัยรัชกาลที่ 5 ) สามารถเห็น ร่องรอย ฐานเก่าที่เป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะมีฐานบัวเดิม โผล่ออกมาให้ เห็นชัดเจน ฐานบนของบัว ลูกแก้วสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็น ฐานทักษิณ ที่มุมทั้งสี่ประดับ ด้วยสถูปจำลอง ตรงกลางฐาน เป็นฐานบัวลูกแก้ว อีกชั้นหนึ่ง รองรับเรือน ธาตุเจดีย์ทรง จัตุรมุข ที่มุมเรือนธาตุ ทำเป็นรูปเสา หลอกติดผนัง ตรงกลางเสา เซาะตลอดโคน ถึงปลายเสา มุขด้าน ทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้น สามารถเดินขึ้นไป นมัสการ พระพุทธรูป ภายในองค์เจดีย์ได้ ห้องภายใน มีขนาดประมาณ 2X 2 เมตร ปัจจุบันก่อฐาน ชุกชีประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน 8 องค์ ผนังเรือนธาตุ ก่ออิฐไม่สอปูน ลดหลั่นกันขึ้น ไปถึงยอด ( ปัจจุบัน ฉาบปูน ปิดทับหมดแล้ว) มุขอีกสามด้านทึบ ที่มุขของมุข แต่ละด้านทำเป็นเสา ติดผนังอาคาร เหนือมุขเป็น ซุ้มหน้าบัน ประดับลายปูนปั้น รูปวงโค้งคล้ายเกือกม้า หรือเรียกว่า กุฑุ เหนือเรือนธาตุ มีลักษณะเป็นหลังคา ซ้อนกันขึ้นไป 3 ชั้น โดยการจำลอง ย่อส่วนอาคาร เบื้องล่างลดหลั่นขึ้นไป แต่ละชั้น ประดับด้วยสถูป จำลองที่มุขทั้งสี่ และตรงกลาง ด้านเหนือซุ้มหน้าบัน รวมจำนวนสถูป จำลองชั้นละ3 องค์ ทั้งหมดสามชั้น รวมทั้งสิ้น 24 องค์ ถัดขึ้นไป เป็นส่วนยอด ซึ่งซ่อมแซมครั้งใหญ่ ตรงกับสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขยาย ส่วนยอดให้สูงขึ้น เริ่มตั้งแต่บัวปากระฆัง ซึ่งเป็นดอกบัวบาน ขนาดใหญ่ องค์ระฆังรูปแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไป เป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยม ขนาดเล็ก รองรับก้านฉัตร ต่อด้วยปล้องไฉน แปดเหลี่ยมจำนวนห้าชั้น เหนือปล้องไฉน เป็นบัวกลุ่ม หุ้มทองคำ รองรับปลียอด หุ้มทองคำ ซึ่งเข้าใจว่าได้ต้นแบบ มาจากยอดพ ระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช เหนือปลียอด ประดับฉัตรหุ้มทองคำ หนัก 82 บาท 3 สลึง ต่อมาถูกขโมยลักไป ทางวัดจึงจัดทำขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2481 ด้วยทองวิทยาศาสตร์ โครงสร้างพระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูน อิฐเนื้อแกร่ง เผาด้วยไฟแรง เมื่อก่ออิฐ แล้วคงขัดถู แต่งรอยให้เรียบ เสมอกัน พระบรมธาตุไชยา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ หลายครั้ง จึงมีลวดลาย เครื่องประดับ เป็นลวดลาย เก่าใหม่ผสมกัน ลวดลายเก่า ที่น่าสนใจคือ ลวดลายที่ซุ้มหน้าบันห รือ กุฑุ เดิมใช้วิธี แกะสลักอิฐ เป็นรูปวงโค้ง เมื่อมีการซ่อม ครั้งใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ 5 จึงมีการซ่อมแปลง หน้าบันด้วยปูนปั้น เติมลวดลายใหม่ ๆ ได้แก่ รูปตราแผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 5 ภายในเป็นพระพุทธรูป รูปเทพพนม ด้านข้างเป็นช้างสามเศียร และนกยูง รูปสิงห์ รูปเหรา รูปผีเสื้อ เป็นต้น


ความสำคัญ:

การประกาศขึ้นทะเบียน กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียน โบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479 พระบรมธาตุไชยา เปรียบเสมือน สัญลักษณ์ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสิ่งสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง เป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นถึง ความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนา มาแต่ครั้งอดีตกาล นานนับพันปี เป็นหลักฐานท ี่สามารถนำมาเล่าขาน ถึงความยิ่งใหญ่ ของบรรพชนในอดีต แม้ว่าศูนย์กลาง ของเมืองจะย้ายไป ทั้งใหม่ที่บ้านดอน ซึ่งเป็นที่ ตั้งจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในปัจจุบัน แต่หลักฐานท างประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรม ที่วัดพระบรมธาตุไชยา กลับเป็นอนุสรณ์ ที่แสดงให้เห็น ความเจริญรุ่งเรื่อง ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในอดีตที่ อนุชนรุ่นหลัง พึ่งรักษาไว้ให้เป็น มรดกของมวลมนุษยชาติ สืบไป


การวิเคราะห์หลักฐาน:
ผู้คนในรุ่นปัจจุบัน รู้จักวัดพระบรมธาตุไชยา ก็เมื่อพระครูโสภณ เจตสิการาม (หนู ติสโส) เจ้าคณะเมืองไชยา เป็นแกนนำ ในการบูรณะ พระอารามรกร้าง แห่งนี้ ซึ่งไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัดเ กี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้าง และผู้ก่อสร้าง อีกทั้งไม่มีตำนาน เอกสารใดใด กล่าวถึงพระอาราม แห่งนี้มาก่อน พ.ศ. 2438 เลย ถึงกระนั้น ก็สันนิษฐานกันว่า คงสร้างมาแล้วก่อน พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นอย่างน้อย สถาปัตยกรรม ที่เก่าแก่ที่สุด ในวัดคือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเชื่อกันว่า น่าจะเป็นสถานที่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ เช่นเดียวกับ พระสถูปเจดีย์ องค์สำคัญอื่น ๆ ในประเทศไทย รูปแบบสถาปัตยกรรม ได้รับการจัดให้อยู่ ในกลุ่มศิลปะศรีวิชัย ซึ่งกำหนดอายุ รูปแบบศิลปะ อยู่ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 13-18 ภายในห้องโถง กลางขององค์พระบรมธาตุ เดิมคงใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปใน ลัทธิมหายาน แต่รายงาน ของหลวง บริบาลบุรีภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2473 บันทึกว่ามี พระพุทธรูปหิน ลงรักปิดทอง แบบศิลปะราวดี อยู่ภายในองค์ พระธาตุ 1 องค์ พระพุทธรูปนั่ง ประทับแบบศิลปะทวารวดี ในซุ้มหน้าองค์ พระบรมธาตุ 1 องค์ (ปัจจุบันพระพุทธรูป ทั้งสององค์ จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา) พระพุทธรูปหิน ศิลปะแบบ ศิลปะศรีวิชัย จากระเบียง พระบรมธาตุไชยา 2 องค์ (ระเบียงน่าจะหมายถึง พระระเบียง หรือระเบียงคด) อาจเป็นได้ว่าเดิม ภายในองค์ พระบรมธาต ุประดิษฐาน พระโพธิ์สัตว์ ศิลปะศรีวิชัย ต่อมาเมื่อ พุทธศาสนา มหายานเสื่อมลง ผู้คนเสื่อมศรัทธา จากการนับถือ พระโพธิสัตว์ จึงได้นำพระพุทธรูป โบราณที่พบ ในละแวกนั้นนำขึ้น ไปประดิษฐาน ไว้ในห้องโถงกลาง ของพระบรมธาตุไชยา แทน เหตุการณ์นี้ คงทำนองเดียว กับที่คนรุ่นหลัง ไม่รู้จักพระโพธิสัตว์ ปัทมปาณิ สำริด 2 กร จึงนำไปทึ้งไว้ ใต้ต้นโพธิ์ ข้างกำแพง ด้านหน้าของวัด ซึ่งเดิมมี ผู้เล่าว่าพระโพธิ์สัตว์องค์ นี้กองรวม กับเทวรูปโพธิ์สัตว์ องค์อื่น ๆ ในวิหารพราหมณ์ ทางด้าน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของงวิหารหลวง นอกกำแพงวัด ต่อมาเมื่อวิหาร พราหมณ์พังทลายลง พระโพธิ์สัตว์สำริด ซึงมีสภาพหักพัง ชำรุดเหลือเพียงครึ่งองค์ จึงถูกนำทิ้งไว้ใต้ ต้นโพธิ์เหมือน วัตถุไร้ค่า จนกระทั่งสมเด็จ พระยาราชานุภาพ ทรงพบคราว เสด็จตรวจราชการ มณฑลปักษ์ใต้เมื่อปี พ.ศ. 2448 และสั่งให้อัญเชิญ เข้าไปกรุงงเทพฯ ครั้งแรกประดิษฐาน ณ พระราชวังดุสิต จนกระทั่ง พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนำไปจัดแสดง เป็นโบราณวัตถุของชาติ พระโพธิสัตว์องค์นี้ ได้รับการตีความว่าเดิม อาจจะอยู่ที่วัดเวียงมาก่อน เป็นการตีความ ให้เข้ากรอบ ตามข้อความ ในจารึกในหลักที่ 23 ที่กล่าวว่าพระเจ้า กรุงศรีวิชัย สั่งให้สร้าง ปราสาทอิฐ 3 หลัง ถวายพระโพธิสัตว์เจ้า ผู้ถือดอกบัว พระพุทธเจ้าผู้ผจญพระยามาร และพระโพธิสัตว์ เจ้าผู้ถือวัชระ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีไทย จำนวนมากเชื่อว่า น่าจะหมายถึง วัดเวียง วัดหลง และวัดแก้ว ที่เมืองโบราณไชยา ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และโพธิ์สัตว์ เจ้าผู้ถือดอกบัว หรือก็คือ พระโพธิ์สัตว์ ปัทมปาณิน่า จะหมายถึง พระโพธิ์สัตว์ สำริด 2 กร ที่พบครึ่งพระองค์ ทำให้หนังสือ ของกรมศิลปากร หลายเล่มระบุที่มา ของพระโพธิ์สัตว์ องค์นี้ว่ามาจาก วัดเวียง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ในครั้งแรกสุด สถานที่พบพระโพธิ์สัตว์องค์นี้ อยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยา ดังบันทึก ของพระยาธนกิจ รักษา เมื่อปี พ.ศ. 2458 กล่าวว่าถึง การเสด็จพระราชดำเนิน ไปนมัสการ พระบรมธาตุไชยา ของพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในจดหมายเหตุ ระยะทางเสด็จ พระราชดำเนิน เลียบมณฑล ปักษ์ใต้ของงสักขี) บรรยายถึง วัดพระบรมธาตุไชยา และบริเวณแหล่งที่ พบพระโพธิ์สัตว์สำริด ขนาดใหญ่ ครึ่งองค์ว่า ที่หน้าวัดพระธาตุ มีต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง ว่าต้นโพธิ์นั้น เป็นที่ขุดรูปพระโพธิสัตว์ หล่อเพียงบั้นพระองค์ ซึ่งเชิญเข้าไว้ ในกรุงเทพฯ ประดิษฐานอยู่ ณ พระราชวังดุสิต นอกจากนี้ ในหนังสือศิลปะ ในประเทศไทยของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พระราชโอรสในสมเด็จฯ กรมราชาภาพ ยังได้ระบุสถานที่ พบพระโพธิ์สัตว์ องค์นี้ว่าพบที่ พระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยา คงได้รับการบูรณะ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในสมัยอยุธยา รวมทั้งชื่อวัด ก็สันนิษฐาน ว่าอาจจะเริ่ม เรียกกันตั้งแต่ยุคสมัยนี้ หลักฐานที่เป็นตัวแทน ของยุคนี้ ได้แก่พระพุทธรูป หินทรายสีแดง ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระระเบียง ส่วนใหญ่เป็นศิลปะ อยุธยาทั้งสิ้น และที่สำคัญ คือแผนผัง ของวัด ที่ถูกดัดแปลง อย่างเห็นได้ชัด จากการเพิ่มสิ่งก่อสร้าง ที่เรียกว่า ระเบียงคด สร้างล้อมรอบ องค์พระบรมธาตุ ซึ่งเปรียบประดุจ อาคารประธาน ของวัดไว้ตรงกลาง ด้านทิศตะวันออก มีการก่อสร้างวิหาร ที่ส่วนท้ายวิหาร ล้ำเข้ามาในระเบียงคด อันเป็นระเบียง ที่นิยมในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่งวิหารในสมัยอยุธยา ตอนต้นนั้น ส่วนท้ายวิหาร จะมีบันไดทอดลง ไปเชื่อมกับระเบียงคด แต่วิหารกับระเบียงคด ที่วัดพระบรมธาตุไชยา ดูเหมือนจะมิได้สร้าง ในคราวเดียวกัน โดยระเบียงคด ที่เป็นสิ่งก่อสร้าง ที่เพิ่มขึ้นภายหลัง ดังนั้นระเบียงนี้น่า จะสร้างไม่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 21 หรือไม่ก่อน รัชสมัย สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ การสร้างปรับปรุง แผนผังวัดใหม่ โดยก่อสร้างอาคาร เสนาสนะ เพิ่มเติม ในลักษณะ การวางตำแหน่ง อาคารตามรูปแบบ ที่นิยมกัน ในสมัยอยุธยา แสดงว่าวัดนี้ น่าจะเป็นวัด ที่สำคัญที่สุด ในบรรดาวัด โบราณที่มี อยู่ในเมืองไชยา และน่าจะมีฐานะ เป็นวัดประจำเมือง ของไชยา แม้แต่วัดแก้ว วัดหลง ซึ่งมีอาคาร สถาปัตยกรรม สมัยศรีชัยขนาดใหญ่ และน่าจะมีความสำคัญ มากที่สุด ต่อเมืองไชยา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่เมื่อถึง สมัยอยุธยา แล้วก็น่าจะมีฐานะ ด้อยกว่า วัดพระบรมธาตุไชยา ในทำนองกลับกัน เชื่อว่าเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 14-15 วัดพระบรมธาตุ อาจเป็นเพียงอารามเล็ก ๆ ในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ที่อยู่นอกเมือง หากแต่ ความสำคัญ สูงสุดซึ่งเป็น ศูนย์กลางแห่งศาสนา น่าจะอยู่บนสันทรายไชยา ในเวลานั้น ดังนั้น แม้ว่าโบราณวัตถุ จำพวกพระพุทธรูป ที่เก่าที่สุดที่พบ ในวัดพระบรมธาตุไชยา จะมีอายุลงมาถึง พุทธสตวรรษที่ 11-12 ก็มิได้หมายความว่า วัดพระบรมธาตุไชยา จะเก่าตาม โบราณวัตถุไปด้วย เพราะโบราณวัตถุ สามารถ เคลื่อนย้ายได้ และรวบรวม นำเอามาไว้ใน บริเวณวัดภายหลัง หมายความว่า อาจมีผู้นำโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่ามาเก็บรักษา ไว้ที่วัดตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมาแล้วก็ได้ สิ่งสำคัญที่ ควรพิจารณาน่า จะเป็นตัวโบราณสถาน ในที่นี้คงกำหนด อายุพระบรมธาตุไชยาได้ ไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 14-15 และในสมัยแรก สร้างคงเป็นพุทธสถาน ในลัทธิมหายาน คล้ายคลึงกับ โบราณสถาน (หมายถึงวัด) ในละแวก ข้างเคียง รวมทั้งได้รับอิทธิพล ส่งถ่ายกับโบราณสถาน ในชวาภาคกลาง ซึ่งล้วนเป็น พุทธศาสนา มหายานด้วยกัน ดังนั้นในสมัยแรก สร้างอาคาร เจติยสถาน แห่งนี้น่าจะมี วัตถุประสงค์ เพื่อประดิษฐาน รูปเคารพ ต่างจากพุทธศาสนา นิกายหินยาน หรือเถรวาท ที่นิยมก่อสร้าง พระสถูปสำหรับ บรรจุพระบรมสาริกธาตุ ซึ่งวิวัฒนาการ มาจากสถูปโบราณ ของอินเดียเช่น สถูปสาญจี หมายเลข 1 อายุราว พุทธศตวรรษ ที่ 5-6( Harle, 1987:31 ) และ เริ่มเข้ามานิยม ในดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัย ศิลปะคุปตะ และหลังคุปตะ (ตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 11 เป็นต้นมา) ดังนั้นจะเห็นได้ ในแหล่งโบราณคดี สมัย ทวารวดี ในภาคกลาง ของประเทศไทย ซึ่งพบฐานอาคาร ที่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฐาน พระสถูป ต่อมาเมื่อ พุทธศาสนา เถรวาท จากลังกา เผยแผ่เข้ามา ความนิยมสร้างสถูป เพื่อบรรจุพระบรมธาตุไ ด้กลายเป็น คตินิยมว่าด้วย ลัทธิบูชา พระธาตุ จนเกิดเป็นประเพณี ในการสถาปนา พระบรมธาตุ เป็นหลักเมือง และเป็น ศูนย์กลาง ของนคร หรือเมืองขนาดใหญ่ ดังปรากฏ ในเมืองโบราณ นครศรีธรรมราช เมื่อครึ่งแรก ของพุทธศตวรรษที่ 18 ลักษณะของพระบรมธาตุ มักเป็นสถูปทรงกลมตัน ไม่มีพื้นที่ว่าง สำหรับใช้สอย อยู่ภายใน อันเป็นรูปแบบ ที่สืบทอดมาจาก อินเดียโบราณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น