วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ดนตรีตะวันตก
ดนตรีตะวันตก
คุณสามารถดาวโหลดข้อมลูได้ที่นี้
http://th.upload.sanook.com/A0/119df638c856095a3266076814f7a2f2
คุณสามารถดาวโหลดข้อมลูได้ที่นี้
http://th.upload.sanook.com/A0/119df638c856095a3266076814f7a2f2
วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เจดีย์แบบทวาราวดี
ศิลปกรรมแห่งศรีรามเทพนครนั้นสามารถแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ
สถาปัตยกรรม และ ปฏิมากรรม
สถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนครที่หลงเหลืออยู่มักจะเป็นสถูปเจดีย์ซึ่ง
นักประวัติศาสตร์ ศิลป์ ได้แบ่งออกเป็น ๖ แบบ
๑.เจดีย์แบบทวาราวดี
๒.เจดีย์แปดเหลี่ยมมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๘ ทิศ ๓.เจดีย์แปดเหลี่ยมองค์ระฆังกลม มีซุ้มตื้นๆหรือไม่มีซุ้ม ประดิษฐาน พระพุทธรูป ๔.เจดีย์ แบบอู่ทอง
๕.เจดีย์แบบหินยานลังกามีองค์ระฆังใหญ่และฐานเตี้ย ๖.เจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงมีช้างหรือสิงห์ล้อมรอบเจดีย์ ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่สังเกตได้ชัดคือสถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนคร นั้น จะมีเทคนิคการก่อสร้างโดยใช้อิฐ¢นาดใหญ่ก่อเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ โดยไม่สอปูน แต่ใช้วัสดุพิเศษเชื่อมอิฐแต่ละก้อนเข้าด้วยกันอย่างแนบสนิทต่างกับ สถาปัตยกรรมสมัย กรุงศรีอยุธยาที่มักจะใช้วิธีการก่ออิฐถือปูนแบบธรรมดา
ท่านคงมีคำถามแล้วว่าอาณาจักรศรีรามเทพนครตั้งอยู่ที่ส่วนไหนของพระนครศรีอยุธยา จากถนนสายเอเซีย บนเส้นทางหลักเข้าสู่เกาะเมืองอยุธยาในปัจจุบัน ท่านจะต้องเห็น เจดีย์องค์หนึ่งตั้งเป็นตะหง่านอยู่บนเกาะวงเวียนกลางถนนเจดีย์องค์นี้คือเจดีย์วัด
สามปลื้ม เมื่อพิจารณาจากลักษณะของเจดีย์ที่มีสัดส่วน องค์ระฆังกลมยาวกว่าส่วน ฐานแปดเหลี่ยมและการก่ออิฐแบบไม่สอปูนจาก ช่องที่ผู้ บูรณÐได้เว้นเอาไว้ไม่ได้ฉาบปูนทับไปจนหมด เจดีย์วัด สามปลื้มนี้เป็นเจดีย์องค์หนึ่งของศรีรามเทพนครแน่นอน อันที่จริงแล้วเจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นเจดีย์องค์หนึ่ง ภายในวัด โบราณ แต่ในช่วงการตัดถนนเข้าสู่เกาะเมือง ไม่ทราบว่า ทำไมต้องตัดผ่านวัดแห่งนี้ ซึ่งกาลนั้นเป็นการทำลาย โบราณสถานอย่างร้ายแรง อาจเป็นเพราะคนไทย ในยุคนั้น ไม่ค่อยเล็งเห็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเท่าที่ควร เมื่ออ้อมวงเวียนซึ่งมีองค์เจดีย์วัดสามปลื้มตั้งอยู่ตรงกลางเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง ถนนแคบๆ แผนที่พระนครศรีอยุธยาแสดงที่ตั้งโบราณสถา¹ และวัดวาอารามต่างๆ (สำหรับแผนที่ใหญ่เปิดดูได้ที่นี่) ท่านก็จะ เข้าสู่
ภาพซ้ายเป็นภาพของพระวิหารหลัง
หนึ่งภายใน วัดมเหยงส์ เชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด หนึ่งของกรุงอโยธยาบริเวณทิศตะวันออก ของเกาะเมืองอยุธยาบริเวณ นี้เชื่อว่า เคยเป็นส่วนหนึ่งของศรีรามเทพนคร ในครั้งอดีต บริเวณนี้มีโบราณสถาน ที่สำคัญๆ ของศรีรามเทพนครอยู่หลายแห่งด้วยกัน ทำให้นักโบราณคดีบางท่านเชื่อว่า แถวๆน ี้แหละคือศูนย์กลางของศรีรามเทพนครตาม ข้อสันนิษฐานว่าบริเวณ ดังกล่าวเป็น ศูนย์กลางของศรีรามเทพนครก็ต้องมีพระราชวังหลวงเหลืออยู่เป็นแน่ แต่ลักษณะการ ก่อสร้างพระราชวังส่วนมากทำจากไม้ซึ่งยากที่จะหลงเหลือให้เห็นร่องรอย แต่เราก็ สามารถสืบค้นหาสถานที่ตั้งได้จากหลักฐานบันทึกใน พระราชพงศาวดารเหนือที่ระบุ ไว้ว่า
"ศักราชได้ ๓๑๑ ปีมะเส็ง เอกศก(พ.ศ. ๑๔๙๒) พระเจ้าหลวงได้ ราชสมบัติ ๙ ปี....จึงสั่งให้ยกวัง เป็น วัดเรียกว่า วัดเดิม แต่นั้นมา"
สถาปัตยกรรม และ ปฏิมากรรม
สถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนครที่หลงเหลืออยู่มักจะเป็นสถูปเจดีย์ซึ่ง
นักประวัติศาสตร์ ศิลป์ ได้แบ่งออกเป็น ๖ แบบ
๑.เจดีย์แบบทวาราวดี
๒.เจดีย์แปดเหลี่ยมมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๘ ทิศ ๓.เจดีย์แปดเหลี่ยมองค์ระฆังกลม มีซุ้มตื้นๆหรือไม่มีซุ้ม ประดิษฐาน พระพุทธรูป ๔.เจดีย์ แบบอู่ทอง
๕.เจดีย์แบบหินยานลังกามีองค์ระฆังใหญ่และฐานเตี้ย ๖.เจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงมีช้างหรือสิงห์ล้อมรอบเจดีย์ ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่สังเกตได้ชัดคือสถาปัตยกรรมของศรีรามเทพนคร นั้น จะมีเทคนิคการก่อสร้างโดยใช้อิฐ¢นาดใหญ่ก่อเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ โดยไม่สอปูน แต่ใช้วัสดุพิเศษเชื่อมอิฐแต่ละก้อนเข้าด้วยกันอย่างแนบสนิทต่างกับ สถาปัตยกรรมสมัย กรุงศรีอยุธยาที่มักจะใช้วิธีการก่ออิฐถือปูนแบบธรรมดา
ท่านคงมีคำถามแล้วว่าอาณาจักรศรีรามเทพนครตั้งอยู่ที่ส่วนไหนของพระนครศรีอยุธยา จากถนนสายเอเซีย บนเส้นทางหลักเข้าสู่เกาะเมืองอยุธยาในปัจจุบัน ท่านจะต้องเห็น เจดีย์องค์หนึ่งตั้งเป็นตะหง่านอยู่บนเกาะวงเวียนกลางถนนเจดีย์องค์นี้คือเจดีย์วัด
สามปลื้ม เมื่อพิจารณาจากลักษณะของเจดีย์ที่มีสัดส่วน องค์ระฆังกลมยาวกว่าส่วน ฐานแปดเหลี่ยมและการก่ออิฐแบบไม่สอปูนจาก ช่องที่ผู้ บูรณÐได้เว้นเอาไว้ไม่ได้ฉาบปูนทับไปจนหมด เจดีย์วัด สามปลื้มนี้เป็นเจดีย์องค์หนึ่งของศรีรามเทพนครแน่นอน อันที่จริงแล้วเจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นเจดีย์องค์หนึ่ง ภายในวัด โบราณ แต่ในช่วงการตัดถนนเข้าสู่เกาะเมือง ไม่ทราบว่า ทำไมต้องตัดผ่านวัดแห่งนี้ ซึ่งกาลนั้นเป็นการทำลาย โบราณสถานอย่างร้ายแรง อาจเป็นเพราะคนไทย ในยุคนั้น ไม่ค่อยเล็งเห็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเท่าที่ควร เมื่ออ้อมวงเวียนซึ่งมีองค์เจดีย์วัดสามปลื้มตั้งอยู่ตรงกลางเลี้ยวขวาไปตามเส้นทาง ถนนแคบๆ แผนที่พระนครศรีอยุธยาแสดงที่ตั้งโบราณสถา¹ และวัดวาอารามต่างๆ (สำหรับแผนที่ใหญ่เปิดดูได้ที่นี่) ท่านก็จะ เข้าสู่
ภาพซ้ายเป็นภาพของพระวิหารหลัง
หนึ่งภายใน วัดมเหยงส์ เชื่อว่าวัดนี้เป็นวัด หนึ่งของกรุงอโยธยาบริเวณทิศตะวันออก ของเกาะเมืองอยุธยาบริเวณ นี้เชื่อว่า เคยเป็นส่วนหนึ่งของศรีรามเทพนคร ในครั้งอดีต บริเวณนี้มีโบราณสถาน ที่สำคัญๆ ของศรีรามเทพนครอยู่หลายแห่งด้วยกัน ทำให้นักโบราณคดีบางท่านเชื่อว่า แถวๆน ี้แหละคือศูนย์กลางของศรีรามเทพนครตาม ข้อสันนิษฐานว่าบริเวณ ดังกล่าวเป็น ศูนย์กลางของศรีรามเทพนครก็ต้องมีพระราชวังหลวงเหลืออยู่เป็นแน่ แต่ลักษณะการ ก่อสร้างพระราชวังส่วนมากทำจากไม้ซึ่งยากที่จะหลงเหลือให้เห็นร่องรอย แต่เราก็ สามารถสืบค้นหาสถานที่ตั้งได้จากหลักฐานบันทึกใน พระราชพงศาวดารเหนือที่ระบุ ไว้ว่า
"ศักราชได้ ๓๑๑ ปีมะเส็ง เอกศก(พ.ศ. ๑๔๙๒) พระเจ้าหลวงได้ ราชสมบัติ ๙ ปี....จึงสั่งให้ยกวัง เป็น วัดเรียกว่า วัดเดิม แต่นั้นมา"
พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย
พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย
ศรีวิชัยจัดอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๗ พระพุทธรูปศรีวิชัยรุ่นแรก
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะ ทรวดทรงได้สัดส่วนตามลักษณะธรรมชาติ
จึงกล่าวได้ว่ามีความงามกว่าแบบคุปตะ ยังสามารถบอกได้ว่าศิลปะศรีวิชัยรับ
อิทธิพลมาจากปาละด้วย คือรูปพระโพธิสัตว์ นางอัปสร เครื่องตกแต่งประดับ
กายมีลวดลายเหมือนกัน เหมือนกับสืบทอดมาจากสมัยคุปตะ ลักษณะเรียบง่าย
ไม่รกรุงรุงเหมือนปาละ
ลักษณะของพระพุทธรูปของสมัยศรีวิชัยจะมีพระวรกายอวบอ้วน ได้สัดส่วน
กว่าสมัยทวารวดี พระหัตถ์และพระบาทไม่โต ได้สัดส่วนกับพระวรกาย พระ
เนตร และพระโอษฐ์เล็ก พระเกตุมาลาเป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดี ขมวดพระ
เกศาเล็กกว่า
ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วแตกต่างจากทวารวดี ซึ่งทำเป็นท่าห้อยพระ
บาท พระพุทธรูปที่พบเป็นปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ และนั่งขัดสมาธิเพชร
ปางลีลา ปางเสด็จดาวดึงส์ ปางโปรดสัตว์ ปางประทานอภัย และปางนาคปรก
ส่วนปางอื่นๆจะเป็นพระพิมพ์
ศรีวิชัยจัดอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๗ พระพุทธรูปศรีวิชัยรุ่นแรก
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะ ทรวดทรงได้สัดส่วนตามลักษณะธรรมชาติ
จึงกล่าวได้ว่ามีความงามกว่าแบบคุปตะ ยังสามารถบอกได้ว่าศิลปะศรีวิชัยรับ
อิทธิพลมาจากปาละด้วย คือรูปพระโพธิสัตว์ นางอัปสร เครื่องตกแต่งประดับ
กายมีลวดลายเหมือนกัน เหมือนกับสืบทอดมาจากสมัยคุปตะ ลักษณะเรียบง่าย
ไม่รกรุงรุงเหมือนปาละ
ลักษณะของพระพุทธรูปของสมัยศรีวิชัยจะมีพระวรกายอวบอ้วน ได้สัดส่วน
กว่าสมัยทวารวดี พระหัตถ์และพระบาทไม่โต ได้สัดส่วนกับพระวรกาย พระ
เนตร และพระโอษฐ์เล็ก พระเกตุมาลาเป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดี ขมวดพระ
เกศาเล็กกว่า
ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วแตกต่างจากทวารวดี ซึ่งทำเป็นท่าห้อยพระ
บาท พระพุทธรูปที่พบเป็นปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิราบ และนั่งขัดสมาธิเพชร
ปางลีลา ปางเสด็จดาวดึงส์ ปางโปรดสัตว์ ปางประทานอภัย และปางนาคปรก
ส่วนปางอื่นๆจะเป็นพระพิมพ์
วัดรัตนารามหรือวัดแก้ว
วัดรัตนารามหรือวัดแก้ว
ตั้งอยู่ที่บ้านวัดแก้ว เลขที่ 124 หมู่ที่ 2 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่เศษวัดรัตนารามหรือวัดแก้ว เป็นวัดเก่าแก่ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่า สร้างร่วมสมัยเดียวกับพระบรมธาตุไชยา คือ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 วัดนี้น่าจะเคยร้างมาก่อนและบูรณะขึ้นมาใหม่หลายยุคสมัย ปัจจุบันยังเป็นวัดที่ยังคงสภาพเก่าแก่อยู่มากมิได้มีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นแต่อย่างใด วัดนี้มีเจดีย์วัดแก้วซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ลักษณะขององค์เจดีย์เป็นแบบก่ออิฐแต่ไม่ถือปูน ฐานด้านล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุข 4 ด้าน ระหว่างมุขทำเป็นย่อมุมไม้สิบสอง ซุ้มทางทิศตะวันออกมีทางเดินไปห้องกลางขององค์เจดีย์ ภายในซุ้มมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ทุกซุ้ม กองโบราณคดีกรมศิลปากร ได้ขุดแต่งบูรณะในปี พ.ศ. 2519 -2522
ตั้งอยู่ที่บ้านวัดแก้ว เลขที่ 124 หมู่ที่ 2 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่เศษวัดรัตนารามหรือวัดแก้ว เป็นวัดเก่าแก่ ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่า สร้างร่วมสมัยเดียวกับพระบรมธาตุไชยา คือ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 วัดนี้น่าจะเคยร้างมาก่อนและบูรณะขึ้นมาใหม่หลายยุคสมัย ปัจจุบันยังเป็นวัดที่ยังคงสภาพเก่าแก่อยู่มากมิได้มีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นแต่อย่างใด วัดนี้มีเจดีย์วัดแก้วซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ลักษณะขององค์เจดีย์เป็นแบบก่ออิฐแต่ไม่ถือปูน ฐานด้านล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุข 4 ด้าน ระหว่างมุขทำเป็นย่อมุมไม้สิบสอง ซุ้มทางทิศตะวันออกมีทางเดินไปห้องกลางขององค์เจดีย์ ภายในซุ้มมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ทุกซุ้ม กองโบราณคดีกรมศิลปากร ได้ขุดแต่งบูรณะในปี พ.ศ. 2519 -2522
วัดหลง
วัดหลง
ตั้งอยู่ที่บ้านวัดหลง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดเก่าแก่ แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใดสันนิษฐานว่าเจดีย์วัดหลงสร้างร่วมสมัยเดียวกับพระบรมธาตุไชยา คือ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 เป็นเจดีย์ที่ทิ้งร้างมานานจนชำรุดเหลือแต่ซากอิฐ และฐานราก สันนิษฐานว่าโบราณสถานวัดหลงเป็นหนึ่งในจำนวนปราสาท 3 หลัง ที่พระเจ้ากรุงศรีวิชัยในศิลาจารึกหลักที่ 23 สั่งให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อปี พ.ศ.1318 กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ขุดแต่งบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2524 - 2527 ทำให้สภาพของรูปทรงเจดีย์ชัดเจนขึ้น เจดีย์นี้เป็นสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย สมัยเดียวกับวัดแก้ว ลักษณะของเจดีย์เป็นแบบก่ออิฐไม่ถือปูน ฐานเป็รูปกากบาท มีซุ้มทั้ง 4 ทิศ มีประตูทางเข้าสู่ห้องกลาง ห้องทางทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ภายในซุ้มแต่ละซุ้ม เดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ชาวบ้านเล่าว่าบริเวณรอบๆ องเจดีย์ พบกระปุก เศษกระเบื้อง และวัตถุอื่นๆ อีกมากมาย และที่สำคัญ คือ การบุกรุกของชาวบ้านเพื่อตั้งถิ่นฐาน ทำให้บดบังทัศนียภาพทำให้บดบังทัศนียภาพ จนขาดความโดดเด่น เสมือนหนึ่งเป็นเพียงส่วนประกอบที่แทรกอยู่ในหมู่บ้านเท่านั้น
ตั้งอยู่ที่บ้านวัดหลง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวัดเก่าแก่ แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใดสันนิษฐานว่าเจดีย์วัดหลงสร้างร่วมสมัยเดียวกับพระบรมธาตุไชยา คือ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-15 เป็นเจดีย์ที่ทิ้งร้างมานานจนชำรุดเหลือแต่ซากอิฐ และฐานราก สันนิษฐานว่าโบราณสถานวัดหลงเป็นหนึ่งในจำนวนปราสาท 3 หลัง ที่พระเจ้ากรุงศรีวิชัยในศิลาจารึกหลักที่ 23 สั่งให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อปี พ.ศ.1318 กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ขุดแต่งบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2524 - 2527 ทำให้สภาพของรูปทรงเจดีย์ชัดเจนขึ้น เจดีย์นี้เป็นสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย สมัยเดียวกับวัดแก้ว ลักษณะของเจดีย์เป็นแบบก่ออิฐไม่ถือปูน ฐานเป็รูปกากบาท มีซุ้มทั้ง 4 ทิศ มีประตูทางเข้าสู่ห้องกลาง ห้องทางทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ภายในซุ้มแต่ละซุ้ม เดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ชาวบ้านเล่าว่าบริเวณรอบๆ องเจดีย์ พบกระปุก เศษกระเบื้อง และวัตถุอื่นๆ อีกมากมาย และที่สำคัญ คือ การบุกรุกของชาวบ้านเพื่อตั้งถิ่นฐาน ทำให้บดบังทัศนียภาพทำให้บดบังทัศนียภาพ จนขาดความโดดเด่น เสมือนหนึ่งเป็นเพียงส่วนประกอบที่แทรกอยู่ในหมู่บ้านเท่านั้น
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วัดพระบรมธาตุไชยา
สถาปัตยกรรมศรีวิชัย
ได้รับอิทธิพลจากชวา เช่น จันทิปะวน โดยแพร่เข้ามาทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซียและไทย ลักษณะขององค์เจดีย์ เป็นแปดเหลี่ยมย่อมุมและมีเจดีย์ทิศตั้งล้มอยู่และก่อด้วยอิฐชนิดไม่ถือปูน เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
วัดพระบรมธาตุไชยา
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาติ ให้ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารมหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 มีนามว่า วัดพระธาตุไชยา และต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้เลื่อนฐานะวัดพระธาตุไชยา ขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนาม ใหม่ว่า วัดบรมธาตุไชยา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ หลักฐานทางเอกสาร ที่แน่ชัด สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัด ได้แก่พระบรมธาตุเจดีย์ รูปแบบสถาปัตยกรรม ศิลปะศรีวิชัย ที่สมบูรณ์ที่สุด เท่าที่ยังเหลืออยู่ ในปัจจุบัน สันนิษฐาน ว่าสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ ศิลปะ และนักโบราณคดี หลายท่าน อาทิ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าส ุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี นายมานิต วัลลิโภดม พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงเชื่อว่าไชยา น่าจะเป็นกรุงศรีวิชัย ตามที่ปรากฏ หลักฐาน ในศิลาจารึกที่ 23 เนื่องจากได้พบ โบราณวัตถุ โบราณสถานสมัยศรีวิชัย เป็นจำนวนมาก วัดพรระบรมธาตุไชยา แห่งนี้เดิมเคย ปรักหักพัง รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่า นานเท่าใดจ นกระทั่ง พระครูโสภณ เจตสิการาม(หนู ติสโส) เจ้าคณะเมืองไชยา วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง (ต่อมาได้รับ พระราชทาน สมณศักดิ์ เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชา ลังกาแก้ว และท่านเจ้าคุณ ชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ ตามลำดับ) เป็นหัวหน้า ชักชวนบรรดา เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ร่วมกับ พุทธศานิกชนทั่วไป ได้บูรณะพระอาราม รกร้าง แห่งนี้ ระหว่างปี พ.ศ. 2439 – 2453 รวมระยะเวลา 14 ปีเศษ สภาพเดิม ของพระบรมธาต ุพระครูรัตนมุนี ศรีสังฆราชาลังกาแก้ว ได้ลิขิตรายงาน การปฏิสังขรณ์ พระบรมธาตุเมืองไชยา ยื่นยัง พระยามหิบาลบริรักษ์ ข้าหลวง เทศบาล สำเร็จราชการ มณฑลชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2453 สรุปใจความสำคัญว่า พระบรมธาตุ ณ วัดพระธาตุ อำเภอพุมเรียง ในเมืองไชยาเก่านี้ สร้างไว้แต่ครั้งใด ไม่สามารถสืบความได้ ในชั้นแรก คงไม่ได้ใช้ปูนเลย อิฐที่ใช้ก่อเผาไฟแกร่ง ไม่สอปูน แต่ใช้อิฐป่น ละเอียดผสมกับ กาวใช้เป็นบายสอ วิธีก่อ จะก่อเรียง อิฐแนบสนิท รอยต่อระหว่างอิฐ จะขัดถูปรับ จนได้เหลี่ยมเสมอ กันพอดี และคงขัด ทั่วทั้งองค์ ให้หายเงื่อนอิฐ และหายขรุขระ ลวดลายในชั้นแรก ไม่พอกปูนปั้น แต่ใช้วิธีขุดสลัก ลงในอิฐ มีการใช้ศิลา เป็นองค์ประกอบ ในส่วนยอด มีร่องรอยการบูรณะ โดยใช้ปูนเข้ามา ปฏิสังขรณ์ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ที่ฐานพระบรมธาตุ ถูกดินถมขึ้นราว 1 เมตร ยอดเจดีย์ หักพังลงมา จนถึงองค์ระฆัง ซึ่งสันนิฐานว่า เดิมคงเป็นองค์ระฆัง ทรงกลม ยอดเจดีย์ ที่สันนิษฐานว่า เป็นยอดพระธาตุ เดิมนั้นขุดพบ ภายในบริเวณวัด ปัจจุบันเก็บรักษา อยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา พื้นลานระหว่างฐาน พระเจดีย์ ถึงระเบียงคด ที่ประดิษฐานพระเวียน ปูด้วยอิฐหน้าวัว สภาพแตกหัก เสาระเบียงคด เดิมเป็นเสาไม้แก่น ในการปฏิสังขรณ์ ได้ตามเค้าของเก่า มีที่เพิ่มเติม จากของเก่า มีที่เพิ่มเติม จากของเก่าบ้างคือ ต่อเติมบัวปากระฆัง ต่อยอดให้สูงขึ้น กับทำฉัตรใส่ยอดเป็น 3 ชั้น ก้าน และใบฉัตร ภายในรอง ด้วยเงิน แล้วหุ้มด้วย ทองคำทองที่ เหลือจาก หุ้มฉัตร ยังได้หุ้มตลอดลงมา ลูกแก้วและปลี สิ้นทองคำหนัก 82 บาท 3 สลึง
ที่ตั้ง:
ที่ตั้ง หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การเข้าถึง:
ทางรถยนต์ (4011) ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กม. แหล่งทางวัฒนธรรม: ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
ประเภทแหล่ง:
โบราณสถาน และโบราณคดี
ลักษณะและสภาพของแหล่ง:
เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้ง อยู่ในดินแดน ที่มีความเจริญ ทางพระพุทธศาสนา ในอดีต มีพระบรมธาตุไชยา ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะ ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป มีการขุดพบ พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย และเป็นวัดที่รักษา ความเป็นเอกลักษณ์ ของช่าง และศิลปกรรม สมัยศรีวิชัย ไว้ได้อย่างสมบูรณ์
ฤดูท่องเที่ยว:
มีนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชม และสักการะตลอดปี
นักท่องเที่ยว:
กลุ่มหลักนักท่องเที่ยวไทย กลุ่มรองนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ความดึงดูดใจ:
โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดเวลา
สถานที่ท่องเที่ยว/ กิจกรรม:
สถานที่ท่องเที่ยว พระบรมธาตุไชยา โดยมีกิจกรรม ชมโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ 1) พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ ทรงปราสาท เรือนธาตุ มีผังเป็นรูปกากบาท 2) เจดีย์ทิศ ตั้งอยู่รอบองค์ พระบรมธาตุที่มุมทั้งสี่ทิศ (ปัจจุบันอยู่รอบนอก ของสระน้ำ ที่ขุดรอบ ฐานองค์ พระบรมธาตุ) 3) พระวิหารหลวง อยู่ทางทิศตะวันออก ของพระบรมธาตุ ด้านหลังวิหารสร้าง ยื่นล้ำเข้ามา ในเขตพระวิหารคด ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปใหญ่ น้อยหลายองค์ ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา 4) พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2498 แทนพระอุโบสถเก่า ซึ่งชำรุดและ รื้อออกไป พระประธานภายใน พระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ปางมารวิชัย 5) ระเบียงคต วิหารคต หรือพระระเบียง เป็นระเบียง ส้อมรอบ องค์พระธาตุ อยู่ในผัง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส นอกจากนี้ ในบริเวณวัดพ ระบรมธาตุไชยา ยังได้พบโบราณวัตถุชิ้น สำคัญศิลปะ สมัยศรีวิชัยหลายชิ้น ได้แก่ พระโพธิ์สัตว์ อวโลกิเตศวร สำริดและศิลา ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษา อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูเรื่องโบราณวัตถุ)
แหล่งทางวัฒนธรรม: ข้อมูลแหล่ง
พิกัดภูมิศาสตร์:
09o22’58’’ N และ 99o11’13’’ E ระวางที่ 4827 IV อำเภอไชยา
องค์ประกอบ: หลักฐานทางโบราณคดีและรูปแบบศิลปกรรม 1. พระบรมธาตุเจดีย์ พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ยอดแบบที่นิยม เรียกว่ากันทั่วไปว่า ศิลปะศรีวิชัย เรือนธาตุมีผัง เป็นรูปกากบาท มีมุขทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเป็นมุขตัน ยื่นออกมาจาก กลางผนังเรือนธาตุ ยกเว้น ด้านทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้น เข้าสู่ห้องโถงกลาง มุขทั้งสี่ด้าน ที่ยื่นออกมาจาก ผนังเรือนธาตุ นี้ทำให้ดูคล้าย ย่อมุมไม้สิบสอง แต่โดยข้อเท็จจริง แล้วมิได้เป็นการย่อมุมไม้ แต่เป็นการเพิ่มมุข เรียกว่า จัตุรมุข รูปแบบแผนผัง โครงสร้างของสถาปัตยกรรม ที่เรียกว่าพระบรมธาตุไชยา นี้ได้รับการตีความ อย่างกว้างขวาง บ้างก็ว่าคล้ายคลึง กับสถาปัตยกรรม ที่เรียกว่า จันทิ ในศิลปะชวา ภาคกลาง ได้แก่ จันทิปะวน อายุราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 ซึ่งมีลักษณะโดยรวม คล้ายคลึงกับ สถาปัตยกรรมแบบอินเดียใต้ แต่เปลี่ยนรูปจำลอง อาคารขนาดเล็ก บนชั้นหลังคา ซึ่งเป็นเทวาลัย ในศาสนาพราหมณ์ ให้กลายเป็นลักษณะ สำคัญของสถาปัตยกรรม ในพุทธศาสนา บ้างก็ว่ามีเค้า ของการคลี่คลาย มาจากปราสาท 2 หลัง ที่วัดแก้วและวัดหลง ทำให้เกิด ข้อสันนิษฐาน อีกอย่างหนึ่งว่าอายุ ของพระบรมธาตุไชยา อาจจะหลังลงมาจาก โบราณสถานที่วัดแก้ว และวัดหลง เป็นสถาปัตยกรรม ในยุคครหิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 อย่างไรก็ดี รูปแบบศิลปกรรม ของพระบรมธาตุไชยา ก็ได้แพร่อิทธิพล ให้แก่สถาปัตยกรรม ในสมัยต่อมา อย่างแพร่หลาย เช่น เจดีย์ วัดเขาพระอานนท์ อำเภอพุนพิน เจดีย์ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม เจดีย์บนเขาสายสมอ วัดโบราณต่าง ๆ ในเขต อำเภอไชยา และเจดีย์วัดเขาหลัก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น 2. เจดีย์ ตั้งอยู่รอบองค์พระบรมธาตุ ที่มุมทั้งสี่ทิศ (ปัจจุบันอยู่รอบนอก ของสระน้ำที่ ขุดรอบฐาน องค์พระบรมธาตุ) เจดีย์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็น เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ชั้นล่างเป็น ฐานบัวลูกแก้ว ทรงสูง ก่ออิฐฉาบปูนตำ รองรอบบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งรองรับ องค์ระฆังทรงกลม ส่วนยอดเป็นบัลลังก์ ปล้องไฉน และปลียอด เจดีย์องค์นี้แตกต่าง จากเจดีย์ทิศที่มุมอีก 3 ด้าน ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลม แบบลังกา ตั้งอยู่บนฐาน เขียงรองรับ มาลัยลูกแก้ว 8 แถว องค์ระฆังทรงกลม อยู่บนบัวปากระฆัง ส่วนยอดไม่มีบัลลังก์ แต่ก้านฉัตร ต่อด้วยปล้องไฉน และปลียอด ภายในเจดีย์กลวง ด้านหน้าเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูป ภายในซุ้มของเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประดิษฐานพระปูนปั้น มือขวาถือเกรียง เป็นรูปเหมือนท่านเจ้าคุณ พระชยาภิวัฒน์ฯ ผู้บูรณะพระบรมธาตุ เจดีย์นี้น่าจะสร้างขึ้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังกว่าเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งน่าจะสร้าง ในสมัยอยุธยา ส่วนเจดีย์ ด้านทิศตะวันตก ด้านหลัง องค์พระบรมธาตุ เป็นเจดีย์ ทรงมณฑป สร้างขึ้นใหม่ สมัยรัตนโกสินทร์ 3. พระวิหารหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกข องพระบรมธาตุ ด้านหลังวิหาร สร้างยื่นล้ำ เข้ามาในเขตพระวิหารคด ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปใหญ่น้อย หลายองค์ ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา พื้นวิหารเดิมต่ำกว่า พื้นปัจจุบันมาก สังเกตจากฐานชุกชี ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปในระดับต่ำ และทำเป็น ฐานบัวลูกแก้ว เลียนแบบฐาน ของพระบรมธาตุ พื้นวิหาร ที่ยกขึ้นสูงปิดทับ ส่วนล่างของ ฐานชุกชี เข้าใจว่าคงเป็น การยกพื้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง น้ำท่วมขังในฤดูฝน หน้าวิหารเดิม เป็นไม้แกะสลักรูปดอกไม้เทศลงรัก ประดับกระจกสีทั้งสองด้าน ถูกถอดออก เมื่อคราวบูรณะวิหาร ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ที่ผนังด้านนอกวิหาร มีพระพุทธรูป ทรายสีแดงประทับยืน แสดงปางประทานอภัย ศิลปะสกุลช่างไชยา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อยู่องค์หนึ่ง ปัจจุบันจัดแสดง อยู่ภายในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา ส่วนที่เดิมสร้าง องค์จำลองปูนปั้นแทน พระวิหารหลวงได้รับ การบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ท่านพระครู อินทปัญญจารย์ (เงื่อม อินปญโญ) พุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งพระครูโสภณ เจตสิการาม ( เอี่ยม นามธมโม ) ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์วัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ก็ได้ใช้วิหารหลวง เป็นที่จัดแสดง โบราณวัตถุต่าง 4. พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2498 แทนพระอุโบสถเก่า ซึ่งชำรุด และรื้อถอนออกไป พระประธานภายใน อุโบสถเป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยา เบื้องหน้าพระประธาน ประดิษฐาน พัทธสีมาคู่ซึ่งเป็น ของเดิมแต่ครั้ง พระอุโบสถเก่า สมัยอยุธยา การผูกพัทธสีมา คู่นี้สันนิฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมี ใบพัทธสีมา เพียงใบเดียว เรียงรายรอบอุโบสถ จนกระทั่งเมื่อ ศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์ ได้แผ่เข้ามา มีอิทธิพล ในประเทศไทย ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ( สมัยเดียวกับที่ ได้สร้างพระบรมธาตุ ทรงลังกา ขึ้นที่นครศรีธรรมราช ) พระสงฆ์ใน ลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์ ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา ซ้ำลงในที่ดินเดิม อีกครั้ง เพื่อให้พระพุทธศาสนา บริสุทธิ์ มั่นคง สมบูรณ์ 5. ระเบียงคด วิหารคด หรือพระระเบียง เป็นระเบียงล้อมรอบ องค์พระธาตุอ ยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 38 เมตร สูง 4 เมตร ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปปางต่างๆรวม 180 องค์ ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน พระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนใหญ่ได้รับการ ปฎิสังขรณ์ใหม่ ส่วนพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา ยังอยู่ในสภาพเดิม การสร้างระเบียงคด ล้อมรอบอาคาร ประธานเป็นแผนผัง ของวัดที่นิยมสร้าง ในสมัยอยุธยา 6. พระพุทธรูปกลางแจ้ง ประดิษฐาน อยู่บนลานภายใน กำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ พระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายสีแดง ขนาดใหญ่จำนวน 3 องค์ ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา เดิมที่ตั้ง พระพุทธรูป คงจะเป็นวิหาร แต่ชำรุดทรุดโทรม จึงถูกรื้อออก 7. พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) 2 กร สำริด ศิลปะสมัยศรีวิชัย พบบริเวณ สนามหญ้า ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ของพระบรมธาตุ อยู่ใต้ต้นโพธิ์ ขนาดเท่าบุคคลจริง สภาพชำรุด ส่วนท่อนล่าง ตั้งแต่บั้น พระองค์หายไป ทรงยืนอยู่ในท่าตริภังค์ (เอียงสะโพก ) พระพักต์กลม มีอุณาโลม ที่พระนลาฏ พระเนตรเหลือบ มองต่ำ ทรงสวมกระบังหน้า กุณฑล พาหุรัด และกรองศอที่มีทับทรวง ทรงสะพาย ผ้าแพรเฉียง พระวรกาย และสะพาย สายยัชโญปวีต ลูกประคำซึ่งมีเครื่องประดับ สายเป็นรูปหัวกวาง อยู่ที่พระอังสาซ้าย ลวดลาย เครื่องประดับ คล้ายกับประติมากรรม ในชวาภาคกลาง อันเป็นการสนับสนุน หลักฐาน จากจารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ทางสกุลวงศ์ ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา ) และราชวงศ์ไศเลนทร์ ในชวาภาคกลาง กำหนดอายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 14 องค์จริงจัดแสดง อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลอง จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา พระโพธิสัตว์องค์นี้ เป็นประติมากรรม ศิลปะศรีวิชัย ที่มีชื่อเสียงที่สุด และจัดได้ว่า งดงามที่สุด เป็นหลักฐาน ที่โดดเด่นชิ้นหนึ่ง ที่สนับสนุน ความสำคัญ ในด้านศิลปวัฒนธรรม ของเมืองไชยา โบราณในสมัยศรีวิชัย 8. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 8 กร สำริด ศิลปะศรีวิชัย พระพักตร์กลม พระขนงต่อกัน เป็นรูปปีกกา พระกรทั้งแปด หักหายหมด ทรงเก้าพระเกศา เป็นรูปชฎามุกุฎ มีพระพุทธเจ้า อมิตาภะ ประทับอยู่ในกรอบหน้า ของชฎามุกุฎ ตกแต่งด้วยศิลาภรณ ์กับกระบังหน้า สวมกรองศอ กุณฑล พาหุรัด ทรงสะพายแพร ซึ่งมีสายยัชโญ ปวีตลูกประคำทับ อันเป็นเครื่องหมาย ของบุคคล ในวรรณะพราหมณ์ หรือวรรณะกษัตริย์ ซึ่งประดับด้วยหัวกวาง อันเป็นลักษณะ เฉพาะของพระองค์ บนสายแพร ทรงพระภูษายาว คาดทับด้วยปั้นเหน่ง และผ้า ซึ่งทิ้งห้อย เป็นเส้นโค้ง ทางด้านหน้า และผูกไว้เหนือ พระโสณี ลักษณะเครื่องประดับ คล้ายคลึงกับ เครื่องประดับ ของประติมากรรม ในชวาภาคกลาง รูปพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร 8 กร นี้แสดงฐานะความเป็น เจ้าแห่งจักรวาล จึงมีพระนามว่า “โลเกศวร” ประติมากรรมมักมีเกินกว่า 2 กร ในคัมภีร์การัณฑ พยูหสูตร ซึ่งเขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1050 – 1450 กล่าวว่าพระองค์มีแสนกร โกฏิพระเนตร สิบเอ็ดเศียร โลมา ( เส้นขน ) แต่ละเส้น คือจักรวาล พระเนตร คือพระจันทร์ และพระอาทิตย์ แผ่นดินคือ พระบาทอำนาจ ของพระองค์ยิ่งใหญ ่เหนือพระตถาคต ทั้งปวง ทรงเป็นผู้ประทานมนต์ หกพยางค์ อันยิ่งใหญ่ ที่มีชื่อว่า สรรพราเชนทร หรือเจ้าแห่งราชา ทุกพระองค์ คือ “ โอม มณี ปัทเม ฮูม” แปลว่า ดวงมณีเกิด อยู่ในดอกบัว คาถาบทนี้ ทำให้เห็นว่า พระองค์ ทรงเป็นเจ้าแห่ง จักรวาลทั้งมวล ประติมากรรมชิ้นนี้ กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 14 องค์จริงจัด แสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลองจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา 9. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) 2 กร ศิลา ทรงประทับ ยืนตรงอยู่บนดอกบัว พระพักตร์สี่เหลี่ยม ทรงเกล้าพระเกศา เป็นรูปชฎามกุฎ มีพระพุทธเจ้าอมิตาภะ ประทับอยู่ด้านหน้า พระหัตถ์ขวา แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ซ้าย ทรงถือดอกบัว ทรงพระภูษายาว มีหน้านาง และจีบอยู่ด้านข้าง คาดปั้นเหน่งทับ พร้อมกับคาดหนังเสือ รอบพระโสณี พระวรกายตกแต่ง ด้วยพาหุรัด กรองศอทองพระกร ประติมากรรมชิ้นนี้ แสดงอิทธิพล ศิลปะจาม กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 15 องค์จริงจัดแสดง อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลอง จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา 10. พระพุทธรูป มีทั้งพระพุทธรูปศิลา และพระพุทธรูปปูนปั้น ทั้งที่เป็นอิทธิพล ศิลปะอินเดีย และศิลปะทวารวดี ตลอดจน พระพุทธรูปศิลาทรายแดง และพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ในรุ่นหลัง พระพุทธรูป ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธรูปศิลา สูง 104 เซนติเมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ประทับนั่งขัดสมาธิ ราบ แสดงปางสมาธิ อยู่บนฐานบัว อิทธิพลศิลปะ อินเดียแบบคุปตะ สกุลช่างสารนาถ เดิมประดิษฐาน อยู่ในซุ้มเล็ก ๆ ซุ้มหนึ่งใน สองข้างบันได ที่จะขึ้นไปบน องค์พระบรมธาตุ รูปแบบทั้งหมด ของพระพุทธรูป องค์นี้ยังคล้ายกับ ประติมากรรม สมัยพนมดา ในศิลปะขอม อีกด้วย จัดอยู่ในกลุ่ม พระพุทธรูปสกุล ช่างไชยารุ่นที่ 1 คือเป็น ศิลปะท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจาก พระพุทธรูป อินเดียสกุลช่าง ต่าง ๆ มาผสมผสานกัน ปัจจุบันจ ัดแสดงอยู่ท ี่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา ส่วนพระพุทธรูป อิทธิพลศิลปะทวารวดี ส่วนใหญ่เป็น พระพุทธรูปศิลา ประทับ ยืนปางแสดงธรรม คล้ายกับที่พบบริเวณ แหล่งโบราณคดี ในภาคกลางของประเทศไทย 11. ฐานโยนิ มีลักษณะพิเศษ คือมีรางน้ำมนต์ 2 ด้าน ตรงข้ามกัน (ตั้งอยู่ที่ลาน ในเขตพระระเบียง)
ขนาด: ความสูงของ พระบรมธาตุ จากฐานถึงยอด ประมาณ 24 เมตร ประกอบด้วย ฐานบัวลูกแก้ว สี่เหลี่ยมจัตุรัส ตกแต่งด้วย เสาติดผนังลดเหลี่ยม 1 ชั้นวางอยู่บน บานเขียงซ้อนกัน 2 ชั้น ขนาดฐานวัด จากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก ยาวประมาณ 13 เมตร (ของเดิมยาว 10 เมตร และสร้างพอกขึ้นใหม่ ทางด้านหน้าอีก 3 เมตร) จากทิศเหนือถึง ทิศใต้ยาวประมาณ 10 เมตร ส่วนยอดอยู่ต่ำกว่า ผิวดินปัจจุบัน เดิมมีดินทับถม อยู่เมตร ทางวัดจึงได้ขุด บริเวณโดยรอบฐาน เป็นสระกว้างประมาณ 2.30-2.50 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขัง อยู่รอบฐานตลอดปี ด้านหน้า ฐานบัวลูกแก้ว ด้านทิศตะวันออก มีซุ้มพระพุทธรูป อยู่ข้างบันได จำนวน 2 ซุ้ม เป็นของที่สร้าง ต่อเติมสมัยหลัง (ก่อนการบูรณะใ นสมัยรัชกาลที่ 5 ) สามารถเห็น ร่องรอย ฐานเก่าที่เป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะมีฐานบัวเดิม โผล่ออกมาให้ เห็นชัดเจน ฐานบนของบัว ลูกแก้วสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็น ฐานทักษิณ ที่มุมทั้งสี่ประดับ ด้วยสถูปจำลอง ตรงกลางฐาน เป็นฐานบัวลูกแก้ว อีกชั้นหนึ่ง รองรับเรือน ธาตุเจดีย์ทรง จัตุรมุข ที่มุมเรือนธาตุ ทำเป็นรูปเสา หลอกติดผนัง ตรงกลางเสา เซาะตลอดโคน ถึงปลายเสา มุขด้าน ทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้น สามารถเดินขึ้นไป นมัสการ พระพุทธรูป ภายในองค์เจดีย์ได้ ห้องภายใน มีขนาดประมาณ 2X 2 เมตร ปัจจุบันก่อฐาน ชุกชีประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน 8 องค์ ผนังเรือนธาตุ ก่ออิฐไม่สอปูน ลดหลั่นกันขึ้น ไปถึงยอด ( ปัจจุบัน ฉาบปูน ปิดทับหมดแล้ว) มุขอีกสามด้านทึบ ที่มุขของมุข แต่ละด้านทำเป็นเสา ติดผนังอาคาร เหนือมุขเป็น ซุ้มหน้าบัน ประดับลายปูนปั้น รูปวงโค้งคล้ายเกือกม้า หรือเรียกว่า กุฑุ เหนือเรือนธาตุ มีลักษณะเป็นหลังคา ซ้อนกันขึ้นไป 3 ชั้น โดยการจำลอง ย่อส่วนอาคาร เบื้องล่างลดหลั่นขึ้นไป แต่ละชั้น ประดับด้วยสถูป จำลองที่มุขทั้งสี่ และตรงกลาง ด้านเหนือซุ้มหน้าบัน รวมจำนวนสถูป จำลองชั้นละ3 องค์ ทั้งหมดสามชั้น รวมทั้งสิ้น 24 องค์ ถัดขึ้นไป เป็นส่วนยอด ซึ่งซ่อมแซมครั้งใหญ่ ตรงกับสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขยาย ส่วนยอดให้สูงขึ้น เริ่มตั้งแต่บัวปากระฆัง ซึ่งเป็นดอกบัวบาน ขนาดใหญ่ องค์ระฆังรูปแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไป เป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยม ขนาดเล็ก รองรับก้านฉัตร ต่อด้วยปล้องไฉน แปดเหลี่ยมจำนวนห้าชั้น เหนือปล้องไฉน เป็นบัวกลุ่ม หุ้มทองคำ รองรับปลียอด หุ้มทองคำ ซึ่งเข้าใจว่าได้ต้นแบบ มาจากยอดพ ระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช เหนือปลียอด ประดับฉัตรหุ้มทองคำ หนัก 82 บาท 3 สลึง ต่อมาถูกขโมยลักไป ทางวัดจึงจัดทำขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2481 ด้วยทองวิทยาศาสตร์ โครงสร้างพระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูน อิฐเนื้อแกร่ง เผาด้วยไฟแรง เมื่อก่ออิฐ แล้วคงขัดถู แต่งรอยให้เรียบ เสมอกัน พระบรมธาตุไชยา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ หลายครั้ง จึงมีลวดลาย เครื่องประดับ เป็นลวดลาย เก่าใหม่ผสมกัน ลวดลายเก่า ที่น่าสนใจคือ ลวดลายที่ซุ้มหน้าบันห รือ กุฑุ เดิมใช้วิธี แกะสลักอิฐ เป็นรูปวงโค้ง เมื่อมีการซ่อม ครั้งใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ 5 จึงมีการซ่อมแปลง หน้าบันด้วยปูนปั้น เติมลวดลายใหม่ ๆ ได้แก่ รูปตราแผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 5 ภายในเป็นพระพุทธรูป รูปเทพพนม ด้านข้างเป็นช้างสามเศียร และนกยูง รูปสิงห์ รูปเหรา รูปผีเสื้อ เป็นต้น
ความสำคัญ:
การประกาศขึ้นทะเบียน กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียน โบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479 พระบรมธาตุไชยา เปรียบเสมือน สัญลักษณ์ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสิ่งสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง เป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นถึง ความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนา มาแต่ครั้งอดีตกาล นานนับพันปี เป็นหลักฐานท ี่สามารถนำมาเล่าขาน ถึงความยิ่งใหญ่ ของบรรพชนในอดีต แม้ว่าศูนย์กลาง ของเมืองจะย้ายไป ทั้งใหม่ที่บ้านดอน ซึ่งเป็นที่ ตั้งจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในปัจจุบัน แต่หลักฐานท างประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรม ที่วัดพระบรมธาตุไชยา กลับเป็นอนุสรณ์ ที่แสดงให้เห็น ความเจริญรุ่งเรื่อง ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในอดีตที่ อนุชนรุ่นหลัง พึ่งรักษาไว้ให้เป็น มรดกของมวลมนุษยชาติ สืบไป
การวิเคราะห์หลักฐาน:
ผู้คนในรุ่นปัจจุบัน รู้จักวัดพระบรมธาตุไชยา ก็เมื่อพระครูโสภณ เจตสิการาม (หนู ติสโส) เจ้าคณะเมืองไชยา เป็นแกนนำ ในการบูรณะ พระอารามรกร้าง แห่งนี้ ซึ่งไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัดเ กี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้าง และผู้ก่อสร้าง อีกทั้งไม่มีตำนาน เอกสารใดใด กล่าวถึงพระอาราม แห่งนี้มาก่อน พ.ศ. 2438 เลย ถึงกระนั้น ก็สันนิษฐานกันว่า คงสร้างมาแล้วก่อน พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นอย่างน้อย สถาปัตยกรรม ที่เก่าแก่ที่สุด ในวัดคือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเชื่อกันว่า น่าจะเป็นสถานที่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ เช่นเดียวกับ พระสถูปเจดีย์ องค์สำคัญอื่น ๆ ในประเทศไทย รูปแบบสถาปัตยกรรม ได้รับการจัดให้อยู่ ในกลุ่มศิลปะศรีวิชัย ซึ่งกำหนดอายุ รูปแบบศิลปะ อยู่ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 13-18 ภายในห้องโถง กลางขององค์พระบรมธาตุ เดิมคงใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปใน ลัทธิมหายาน แต่รายงาน ของหลวง บริบาลบุรีภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2473 บันทึกว่ามี พระพุทธรูปหิน ลงรักปิดทอง แบบศิลปะราวดี อยู่ภายในองค์ พระธาตุ 1 องค์ พระพุทธรูปนั่ง ประทับแบบศิลปะทวารวดี ในซุ้มหน้าองค์ พระบรมธาตุ 1 องค์ (ปัจจุบันพระพุทธรูป ทั้งสององค์ จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา) พระพุทธรูปหิน ศิลปะแบบ ศิลปะศรีวิชัย จากระเบียง พระบรมธาตุไชยา 2 องค์ (ระเบียงน่าจะหมายถึง พระระเบียง หรือระเบียงคด) อาจเป็นได้ว่าเดิม ภายในองค์ พระบรมธาต ุประดิษฐาน พระโพธิ์สัตว์ ศิลปะศรีวิชัย ต่อมาเมื่อ พุทธศาสนา มหายานเสื่อมลง ผู้คนเสื่อมศรัทธา จากการนับถือ พระโพธิสัตว์ จึงได้นำพระพุทธรูป โบราณที่พบ ในละแวกนั้นนำขึ้น ไปประดิษฐาน ไว้ในห้องโถงกลาง ของพระบรมธาตุไชยา แทน เหตุการณ์นี้ คงทำนองเดียว กับที่คนรุ่นหลัง ไม่รู้จักพระโพธิสัตว์ ปัทมปาณิ สำริด 2 กร จึงนำไปทึ้งไว้ ใต้ต้นโพธิ์ ข้างกำแพง ด้านหน้าของวัด ซึ่งเดิมมี ผู้เล่าว่าพระโพธิ์สัตว์องค์ นี้กองรวม กับเทวรูปโพธิ์สัตว์ องค์อื่น ๆ ในวิหารพราหมณ์ ทางด้าน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของงวิหารหลวง นอกกำแพงวัด ต่อมาเมื่อวิหาร พราหมณ์พังทลายลง พระโพธิ์สัตว์สำริด ซึงมีสภาพหักพัง ชำรุดเหลือเพียงครึ่งองค์ จึงถูกนำทิ้งไว้ใต้ ต้นโพธิ์เหมือน วัตถุไร้ค่า จนกระทั่งสมเด็จ พระยาราชานุภาพ ทรงพบคราว เสด็จตรวจราชการ มณฑลปักษ์ใต้เมื่อปี พ.ศ. 2448 และสั่งให้อัญเชิญ เข้าไปกรุงงเทพฯ ครั้งแรกประดิษฐาน ณ พระราชวังดุสิต จนกระทั่ง พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนำไปจัดแสดง เป็นโบราณวัตถุของชาติ พระโพธิสัตว์องค์นี้ ได้รับการตีความว่าเดิม อาจจะอยู่ที่วัดเวียงมาก่อน เป็นการตีความ ให้เข้ากรอบ ตามข้อความ ในจารึกในหลักที่ 23 ที่กล่าวว่าพระเจ้า กรุงศรีวิชัย สั่งให้สร้าง ปราสาทอิฐ 3 หลัง ถวายพระโพธิสัตว์เจ้า ผู้ถือดอกบัว พระพุทธเจ้าผู้ผจญพระยามาร และพระโพธิสัตว์ เจ้าผู้ถือวัชระ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีไทย จำนวนมากเชื่อว่า น่าจะหมายถึง วัดเวียง วัดหลง และวัดแก้ว ที่เมืองโบราณไชยา ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และโพธิ์สัตว์ เจ้าผู้ถือดอกบัว หรือก็คือ พระโพธิ์สัตว์ ปัทมปาณิน่า จะหมายถึง พระโพธิ์สัตว์ สำริด 2 กร ที่พบครึ่งพระองค์ ทำให้หนังสือ ของกรมศิลปากร หลายเล่มระบุที่มา ของพระโพธิ์สัตว์ องค์นี้ว่ามาจาก วัดเวียง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ในครั้งแรกสุด สถานที่พบพระโพธิ์สัตว์องค์นี้ อยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยา ดังบันทึก ของพระยาธนกิจ รักษา เมื่อปี พ.ศ. 2458 กล่าวว่าถึง การเสด็จพระราชดำเนิน ไปนมัสการ พระบรมธาตุไชยา ของพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในจดหมายเหตุ ระยะทางเสด็จ พระราชดำเนิน เลียบมณฑล ปักษ์ใต้ของงสักขี) บรรยายถึง วัดพระบรมธาตุไชยา และบริเวณแหล่งที่ พบพระโพธิ์สัตว์สำริด ขนาดใหญ่ ครึ่งองค์ว่า ที่หน้าวัดพระธาตุ มีต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง ว่าต้นโพธิ์นั้น เป็นที่ขุดรูปพระโพธิสัตว์ หล่อเพียงบั้นพระองค์ ซึ่งเชิญเข้าไว้ ในกรุงเทพฯ ประดิษฐานอยู่ ณ พระราชวังดุสิต นอกจากนี้ ในหนังสือศิลปะ ในประเทศไทยของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พระราชโอรสในสมเด็จฯ กรมราชาภาพ ยังได้ระบุสถานที่ พบพระโพธิ์สัตว์ องค์นี้ว่าพบที่ พระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยา คงได้รับการบูรณะ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในสมัยอยุธยา รวมทั้งชื่อวัด ก็สันนิษฐาน ว่าอาจจะเริ่ม เรียกกันตั้งแต่ยุคสมัยนี้ หลักฐานที่เป็นตัวแทน ของยุคนี้ ได้แก่พระพุทธรูป หินทรายสีแดง ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระระเบียง ส่วนใหญ่เป็นศิลปะ อยุธยาทั้งสิ้น และที่สำคัญ คือแผนผัง ของวัด ที่ถูกดัดแปลง อย่างเห็นได้ชัด จากการเพิ่มสิ่งก่อสร้าง ที่เรียกว่า ระเบียงคด สร้างล้อมรอบ องค์พระบรมธาตุ ซึ่งเปรียบประดุจ อาคารประธาน ของวัดไว้ตรงกลาง ด้านทิศตะวันออก มีการก่อสร้างวิหาร ที่ส่วนท้ายวิหาร ล้ำเข้ามาในระเบียงคด อันเป็นระเบียง ที่นิยมในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่งวิหารในสมัยอยุธยา ตอนต้นนั้น ส่วนท้ายวิหาร จะมีบันไดทอดลง ไปเชื่อมกับระเบียงคด แต่วิหารกับระเบียงคด ที่วัดพระบรมธาตุไชยา ดูเหมือนจะมิได้สร้าง ในคราวเดียวกัน โดยระเบียงคด ที่เป็นสิ่งก่อสร้าง ที่เพิ่มขึ้นภายหลัง ดังนั้นระเบียงนี้น่า จะสร้างไม่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 21 หรือไม่ก่อน รัชสมัย สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ การสร้างปรับปรุง แผนผังวัดใหม่ โดยก่อสร้างอาคาร เสนาสนะ เพิ่มเติม ในลักษณะ การวางตำแหน่ง อาคารตามรูปแบบ ที่นิยมกัน ในสมัยอยุธยา แสดงว่าวัดนี้ น่าจะเป็นวัด ที่สำคัญที่สุด ในบรรดาวัด โบราณที่มี อยู่ในเมืองไชยา และน่าจะมีฐานะ เป็นวัดประจำเมือง ของไชยา แม้แต่วัดแก้ว วัดหลง ซึ่งมีอาคาร สถาปัตยกรรม สมัยศรีชัยขนาดใหญ่ และน่าจะมีความสำคัญ มากที่สุด ต่อเมืองไชยา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่เมื่อถึง สมัยอยุธยา แล้วก็น่าจะมีฐานะ ด้อยกว่า วัดพระบรมธาตุไชยา ในทำนองกลับกัน เชื่อว่าเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 14-15 วัดพระบรมธาตุ อาจเป็นเพียงอารามเล็ก ๆ ในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ที่อยู่นอกเมือง หากแต่ ความสำคัญ สูงสุดซึ่งเป็น ศูนย์กลางแห่งศาสนา น่าจะอยู่บนสันทรายไชยา ในเวลานั้น ดังนั้น แม้ว่าโบราณวัตถุ จำพวกพระพุทธรูป ที่เก่าที่สุดที่พบ ในวัดพระบรมธาตุไชยา จะมีอายุลงมาถึง พุทธสตวรรษที่ 11-12 ก็มิได้หมายความว่า วัดพระบรมธาตุไชยา จะเก่าตาม โบราณวัตถุไปด้วย เพราะโบราณวัตถุ สามารถ เคลื่อนย้ายได้ และรวบรวม นำเอามาไว้ใน บริเวณวัดภายหลัง หมายความว่า อาจมีผู้นำโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่ามาเก็บรักษา ไว้ที่วัดตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมาแล้วก็ได้ สิ่งสำคัญที่ ควรพิจารณาน่า จะเป็นตัวโบราณสถาน ในที่นี้คงกำหนด อายุพระบรมธาตุไชยาได้ ไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 14-15 และในสมัยแรก สร้างคงเป็นพุทธสถาน ในลัทธิมหายาน คล้ายคลึงกับ โบราณสถาน (หมายถึงวัด) ในละแวก ข้างเคียง รวมทั้งได้รับอิทธิพล ส่งถ่ายกับโบราณสถาน ในชวาภาคกลาง ซึ่งล้วนเป็น พุทธศาสนา มหายานด้วยกัน ดังนั้นในสมัยแรก สร้างอาคาร เจติยสถาน แห่งนี้น่าจะมี วัตถุประสงค์ เพื่อประดิษฐาน รูปเคารพ ต่างจากพุทธศาสนา นิกายหินยาน หรือเถรวาท ที่นิยมก่อสร้าง พระสถูปสำหรับ บรรจุพระบรมสาริกธาตุ ซึ่งวิวัฒนาการ มาจากสถูปโบราณ ของอินเดียเช่น สถูปสาญจี หมายเลข 1 อายุราว พุทธศตวรรษ ที่ 5-6( Harle, 1987:31 ) และ เริ่มเข้ามานิยม ในดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัย ศิลปะคุปตะ และหลังคุปตะ (ตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 11 เป็นต้นมา) ดังนั้นจะเห็นได้ ในแหล่งโบราณคดี สมัย ทวารวดี ในภาคกลาง ของประเทศไทย ซึ่งพบฐานอาคาร ที่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฐาน พระสถูป ต่อมาเมื่อ พุทธศาสนา เถรวาท จากลังกา เผยแผ่เข้ามา ความนิยมสร้างสถูป เพื่อบรรจุพระบรมธาตุไ ด้กลายเป็น คตินิยมว่าด้วย ลัทธิบูชา พระธาตุ จนเกิดเป็นประเพณี ในการสถาปนา พระบรมธาตุ เป็นหลักเมือง และเป็น ศูนย์กลาง ของนคร หรือเมืองขนาดใหญ่ ดังปรากฏ ในเมืองโบราณ นครศรีธรรมราช เมื่อครึ่งแรก ของพุทธศตวรรษที่ 18 ลักษณะของพระบรมธาตุ มักเป็นสถูปทรงกลมตัน ไม่มีพื้นที่ว่าง สำหรับใช้สอย อยู่ภายใน อันเป็นรูปแบบ ที่สืบทอดมาจาก อินเดียโบราณ
ได้รับอิทธิพลจากชวา เช่น จันทิปะวน โดยแพร่เข้ามาทางตอนใต้ของประเทศมาเลเซียและไทย ลักษณะขององค์เจดีย์ เป็นแปดเหลี่ยมย่อมุมและมีเจดีย์ทิศตั้งล้มอยู่และก่อด้วยอิฐชนิดไม่ถือปูน เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี
วัดพระบรมธาตุไชยา
วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาติ ให้ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารมหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 มีนามว่า วัดพระธาตุไชยา และต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้เลื่อนฐานะวัดพระธาตุไชยา ขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนาม ใหม่ว่า วัดบรมธาตุไชยา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ หลักฐานทางเอกสาร ที่แน่ชัด สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัด ได้แก่พระบรมธาตุเจดีย์ รูปแบบสถาปัตยกรรม ศิลปะศรีวิชัย ที่สมบูรณ์ที่สุด เท่าที่ยังเหลืออยู่ ในปัจจุบัน สันนิษฐาน ว่าสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ ศิลปะ และนักโบราณคดี หลายท่าน อาทิ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าส ุภัทรดิศ ดิศกุล หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี นายมานิต วัลลิโภดม พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) จึงเชื่อว่าไชยา น่าจะเป็นกรุงศรีวิชัย ตามที่ปรากฏ หลักฐาน ในศิลาจารึกที่ 23 เนื่องจากได้พบ โบราณวัตถุ โบราณสถานสมัยศรีวิชัย เป็นจำนวนมาก วัดพรระบรมธาตุไชยา แห่งนี้เดิมเคย ปรักหักพัง รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่า นานเท่าใดจ นกระทั่ง พระครูโสภณ เจตสิการาม(หนู ติสโส) เจ้าคณะเมืองไชยา วัดโพธาราม ตำบลพุมเรียง (ต่อมาได้รับ พระราชทาน สมณศักดิ์ เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชา ลังกาแก้ว และท่านเจ้าคุณ ชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ ตามลำดับ) เป็นหัวหน้า ชักชวนบรรดา เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ร่วมกับ พุทธศานิกชนทั่วไป ได้บูรณะพระอาราม รกร้าง แห่งนี้ ระหว่างปี พ.ศ. 2439 – 2453 รวมระยะเวลา 14 ปีเศษ สภาพเดิม ของพระบรมธาต ุพระครูรัตนมุนี ศรีสังฆราชาลังกาแก้ว ได้ลิขิตรายงาน การปฏิสังขรณ์ พระบรมธาตุเมืองไชยา ยื่นยัง พระยามหิบาลบริรักษ์ ข้าหลวง เทศบาล สำเร็จราชการ มณฑลชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2453 สรุปใจความสำคัญว่า พระบรมธาตุ ณ วัดพระธาตุ อำเภอพุมเรียง ในเมืองไชยาเก่านี้ สร้างไว้แต่ครั้งใด ไม่สามารถสืบความได้ ในชั้นแรก คงไม่ได้ใช้ปูนเลย อิฐที่ใช้ก่อเผาไฟแกร่ง ไม่สอปูน แต่ใช้อิฐป่น ละเอียดผสมกับ กาวใช้เป็นบายสอ วิธีก่อ จะก่อเรียง อิฐแนบสนิท รอยต่อระหว่างอิฐ จะขัดถูปรับ จนได้เหลี่ยมเสมอ กันพอดี และคงขัด ทั่วทั้งองค์ ให้หายเงื่อนอิฐ และหายขรุขระ ลวดลายในชั้นแรก ไม่พอกปูนปั้น แต่ใช้วิธีขุดสลัก ลงในอิฐ มีการใช้ศิลา เป็นองค์ประกอบ ในส่วนยอด มีร่องรอยการบูรณะ โดยใช้ปูนเข้ามา ปฏิสังขรณ์ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ที่ฐานพระบรมธาตุ ถูกดินถมขึ้นราว 1 เมตร ยอดเจดีย์ หักพังลงมา จนถึงองค์ระฆัง ซึ่งสันนิฐานว่า เดิมคงเป็นองค์ระฆัง ทรงกลม ยอดเจดีย์ ที่สันนิษฐานว่า เป็นยอดพระธาตุ เดิมนั้นขุดพบ ภายในบริเวณวัด ปัจจุบันเก็บรักษา อยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา พื้นลานระหว่างฐาน พระเจดีย์ ถึงระเบียงคด ที่ประดิษฐานพระเวียน ปูด้วยอิฐหน้าวัว สภาพแตกหัก เสาระเบียงคด เดิมเป็นเสาไม้แก่น ในการปฏิสังขรณ์ ได้ตามเค้าของเก่า มีที่เพิ่มเติม จากของเก่า มีที่เพิ่มเติม จากของเก่าบ้างคือ ต่อเติมบัวปากระฆัง ต่อยอดให้สูงขึ้น กับทำฉัตรใส่ยอดเป็น 3 ชั้น ก้าน และใบฉัตร ภายในรอง ด้วยเงิน แล้วหุ้มด้วย ทองคำทองที่ เหลือจาก หุ้มฉัตร ยังได้หุ้มตลอดลงมา ลูกแก้วและปลี สิ้นทองคำหนัก 82 บาท 3 สลึง
ที่ตั้ง:
ที่ตั้ง หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
การเข้าถึง:
ทางรถยนต์ (4011) ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กม. แหล่งทางวัฒนธรรม: ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
ประเภทแหล่ง:
โบราณสถาน และโบราณคดี
ลักษณะและสภาพของแหล่ง:
เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้ง อยู่ในดินแดน ที่มีความเจริญ ทางพระพุทธศาสนา ในอดีต มีพระบรมธาตุไชยา ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะ ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป มีการขุดพบ พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย และเป็นวัดที่รักษา ความเป็นเอกลักษณ์ ของช่าง และศิลปกรรม สมัยศรีวิชัย ไว้ได้อย่างสมบูรณ์
ฤดูท่องเที่ยว:
มีนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชม และสักการะตลอดปี
นักท่องเที่ยว:
กลุ่มหลักนักท่องเที่ยวไทย กลุ่มรองนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ความดึงดูดใจ:
โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดเวลา
สถานที่ท่องเที่ยว/ กิจกรรม:
สถานที่ท่องเที่ยว พระบรมธาตุไชยา โดยมีกิจกรรม ชมโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ 1) พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ ทรงปราสาท เรือนธาตุ มีผังเป็นรูปกากบาท 2) เจดีย์ทิศ ตั้งอยู่รอบองค์ พระบรมธาตุที่มุมทั้งสี่ทิศ (ปัจจุบันอยู่รอบนอก ของสระน้ำ ที่ขุดรอบ ฐานองค์ พระบรมธาตุ) 3) พระวิหารหลวง อยู่ทางทิศตะวันออก ของพระบรมธาตุ ด้านหลังวิหารสร้าง ยื่นล้ำเข้ามา ในเขตพระวิหารคด ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปใหญ่ น้อยหลายองค์ ศิลปะอยุธยา สกุลช่างไชยา 4) พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.2498 แทนพระอุโบสถเก่า ซึ่งชำรุดและ รื้อออกไป พระประธานภายใน พระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ปางมารวิชัย 5) ระเบียงคต วิหารคต หรือพระระเบียง เป็นระเบียง ส้อมรอบ องค์พระธาตุ อยู่ในผัง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส นอกจากนี้ ในบริเวณวัดพ ระบรมธาตุไชยา ยังได้พบโบราณวัตถุชิ้น สำคัญศิลปะ สมัยศรีวิชัยหลายชิ้น ได้แก่ พระโพธิ์สัตว์ อวโลกิเตศวร สำริดและศิลา ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษา อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ดูเรื่องโบราณวัตถุ)
แหล่งทางวัฒนธรรม: ข้อมูลแหล่ง
พิกัดภูมิศาสตร์:
09o22’58’’ N และ 99o11’13’’ E ระวางที่ 4827 IV อำเภอไชยา
องค์ประกอบ: หลักฐานทางโบราณคดีและรูปแบบศิลปกรรม 1. พระบรมธาตุเจดีย์ พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ยอดแบบที่นิยม เรียกว่ากันทั่วไปว่า ศิลปะศรีวิชัย เรือนธาตุมีผัง เป็นรูปกากบาท มีมุขทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเป็นมุขตัน ยื่นออกมาจาก กลางผนังเรือนธาตุ ยกเว้น ด้านทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้น เข้าสู่ห้องโถงกลาง มุขทั้งสี่ด้าน ที่ยื่นออกมาจาก ผนังเรือนธาตุ นี้ทำให้ดูคล้าย ย่อมุมไม้สิบสอง แต่โดยข้อเท็จจริง แล้วมิได้เป็นการย่อมุมไม้ แต่เป็นการเพิ่มมุข เรียกว่า จัตุรมุข รูปแบบแผนผัง โครงสร้างของสถาปัตยกรรม ที่เรียกว่าพระบรมธาตุไชยา นี้ได้รับการตีความ อย่างกว้างขวาง บ้างก็ว่าคล้ายคลึง กับสถาปัตยกรรม ที่เรียกว่า จันทิ ในศิลปะชวา ภาคกลาง ได้แก่ จันทิปะวน อายุราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 ซึ่งมีลักษณะโดยรวม คล้ายคลึงกับ สถาปัตยกรรมแบบอินเดียใต้ แต่เปลี่ยนรูปจำลอง อาคารขนาดเล็ก บนชั้นหลังคา ซึ่งเป็นเทวาลัย ในศาสนาพราหมณ์ ให้กลายเป็นลักษณะ สำคัญของสถาปัตยกรรม ในพุทธศาสนา บ้างก็ว่ามีเค้า ของการคลี่คลาย มาจากปราสาท 2 หลัง ที่วัดแก้วและวัดหลง ทำให้เกิด ข้อสันนิษฐาน อีกอย่างหนึ่งว่าอายุ ของพระบรมธาตุไชยา อาจจะหลังลงมาจาก โบราณสถานที่วัดแก้ว และวัดหลง เป็นสถาปัตยกรรม ในยุคครหิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 อย่างไรก็ดี รูปแบบศิลปกรรม ของพระบรมธาตุไชยา ก็ได้แพร่อิทธิพล ให้แก่สถาปัตยกรรม ในสมัยต่อมา อย่างแพร่หลาย เช่น เจดีย์ วัดเขาพระอานนท์ อำเภอพุนพิน เจดีย์ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม เจดีย์บนเขาสายสมอ วัดโบราณต่าง ๆ ในเขต อำเภอไชยา และเจดีย์วัดเขาหลัก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น 2. เจดีย์ ตั้งอยู่รอบองค์พระบรมธาตุ ที่มุมทั้งสี่ทิศ (ปัจจุบันอยู่รอบนอก ของสระน้ำที่ ขุดรอบฐาน องค์พระบรมธาตุ) เจดีย์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็น เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ชั้นล่างเป็น ฐานบัวลูกแก้ว ทรงสูง ก่ออิฐฉาบปูนตำ รองรอบบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งรองรับ องค์ระฆังทรงกลม ส่วนยอดเป็นบัลลังก์ ปล้องไฉน และปลียอด เจดีย์องค์นี้แตกต่าง จากเจดีย์ทิศที่มุมอีก 3 ด้าน ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลม แบบลังกา ตั้งอยู่บนฐาน เขียงรองรับ มาลัยลูกแก้ว 8 แถว องค์ระฆังทรงกลม อยู่บนบัวปากระฆัง ส่วนยอดไม่มีบัลลังก์ แต่ก้านฉัตร ต่อด้วยปล้องไฉน และปลียอด ภายในเจดีย์กลวง ด้านหน้าเป็นซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูป ภายในซุ้มของเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประดิษฐานพระปูนปั้น มือขวาถือเกรียง เป็นรูปเหมือนท่านเจ้าคุณ พระชยาภิวัฒน์ฯ ผู้บูรณะพระบรมธาตุ เจดีย์นี้น่าจะสร้างขึ้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ หลังกว่าเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งน่าจะสร้าง ในสมัยอยุธยา ส่วนเจดีย์ ด้านทิศตะวันตก ด้านหลัง องค์พระบรมธาตุ เป็นเจดีย์ ทรงมณฑป สร้างขึ้นใหม่ สมัยรัตนโกสินทร์ 3. พระวิหารหลวง อยู่ทางทิศตะวันออกข องพระบรมธาตุ ด้านหลังวิหาร สร้างยื่นล้ำ เข้ามาในเขตพระวิหารคด ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปใหญ่น้อย หลายองค์ ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา พื้นวิหารเดิมต่ำกว่า พื้นปัจจุบันมาก สังเกตจากฐานชุกชี ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปในระดับต่ำ และทำเป็น ฐานบัวลูกแก้ว เลียนแบบฐาน ของพระบรมธาตุ พื้นวิหาร ที่ยกขึ้นสูงปิดทับ ส่วนล่างของ ฐานชุกชี เข้าใจว่าคงเป็น การยกพื้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง น้ำท่วมขังในฤดูฝน หน้าวิหารเดิม เป็นไม้แกะสลักรูปดอกไม้เทศลงรัก ประดับกระจกสีทั้งสองด้าน ถูกถอดออก เมื่อคราวบูรณะวิหาร ปัจจุบันแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ที่ผนังด้านนอกวิหาร มีพระพุทธรูป ทรายสีแดงประทับยืน แสดงปางประทานอภัย ศิลปะสกุลช่างไชยา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อยู่องค์หนึ่ง ปัจจุบันจัดแสดง อยู่ภายในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา ส่วนที่เดิมสร้าง องค์จำลองปูนปั้นแทน พระวิหารหลวงได้รับ การบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ท่านพระครู อินทปัญญจารย์ (เงื่อม อินปญโญ) พุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งพระครูโสภณ เจตสิการาม ( เอี่ยม นามธมโม ) ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์วัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ก็ได้ใช้วิหารหลวง เป็นที่จัดแสดง โบราณวัตถุต่าง 4. พระอุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของพระบรมธาตุ สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2498 แทนพระอุโบสถเก่า ซึ่งชำรุด และรื้อถอนออกไป พระประธานภายใน อุโบสถเป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยา เบื้องหน้าพระประธาน ประดิษฐาน พัทธสีมาคู่ซึ่งเป็น ของเดิมแต่ครั้ง พระอุโบสถเก่า สมัยอยุธยา การผูกพัทธสีมา คู่นี้สันนิฐานว่า แต่เดิมนั้นคงมี ใบพัทธสีมา เพียงใบเดียว เรียงรายรอบอุโบสถ จนกระทั่งเมื่อ ศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์ ได้แผ่เข้ามา มีอิทธิพล ในประเทศไทย ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ( สมัยเดียวกับที่ ได้สร้างพระบรมธาตุ ทรงลังกา ขึ้นที่นครศรีธรรมราช ) พระสงฆ์ใน ลัทธิเถรวาท แบบลังกาวงศ์ ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา ซ้ำลงในที่ดินเดิม อีกครั้ง เพื่อให้พระพุทธศาสนา บริสุทธิ์ มั่นคง สมบูรณ์ 5. ระเบียงคด วิหารคด หรือพระระเบียง เป็นระเบียงล้อมรอบ องค์พระธาตุอ ยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 38 เมตร สูง 4 เมตร ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปปางต่างๆรวม 180 องค์ ชาวบ้านเรียกว่า พระเวียน พระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนใหญ่ได้รับการ ปฎิสังขรณ์ใหม่ ส่วนพระพุทธรูป ศิลาทรายแดง ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา ยังอยู่ในสภาพเดิม การสร้างระเบียงคด ล้อมรอบอาคาร ประธานเป็นแผนผัง ของวัดที่นิยมสร้าง ในสมัยอยุธยา 6. พระพุทธรูปกลางแจ้ง ประดิษฐาน อยู่บนลานภายใน กำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ พระวิหารหลวง เป็นพระพุทธรูป ศิลาทรายสีแดง ขนาดใหญ่จำนวน 3 องค์ ศิลปะสมัยอยุธยา สกุลช่างไชยา เดิมที่ตั้ง พระพุทธรูป คงจะเป็นวิหาร แต่ชำรุดทรุดโทรม จึงถูกรื้อออก 7. พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) 2 กร สำริด ศิลปะสมัยศรีวิชัย พบบริเวณ สนามหญ้า ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือ ของพระบรมธาตุ อยู่ใต้ต้นโพธิ์ ขนาดเท่าบุคคลจริง สภาพชำรุด ส่วนท่อนล่าง ตั้งแต่บั้น พระองค์หายไป ทรงยืนอยู่ในท่าตริภังค์ (เอียงสะโพก ) พระพักต์กลม มีอุณาโลม ที่พระนลาฏ พระเนตรเหลือบ มองต่ำ ทรงสวมกระบังหน้า กุณฑล พาหุรัด และกรองศอที่มีทับทรวง ทรงสะพาย ผ้าแพรเฉียง พระวรกาย และสะพาย สายยัชโญปวีต ลูกประคำซึ่งมีเครื่องประดับ สายเป็นรูปหัวกวาง อยู่ที่พระอังสาซ้าย ลวดลาย เครื่องประดับ คล้ายกับประติมากรรม ในชวาภาคกลาง อันเป็นการสนับสนุน หลักฐาน จากจารึกหลักที่ 23 เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ทางสกุลวงศ์ ของกษัตริย์แห่งศรีวิชัย (ไชยา ) และราชวงศ์ไศเลนทร์ ในชวาภาคกลาง กำหนดอายุ ราวพุทธศตวรรษที่ 14 องค์จริงจัดแสดง อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลอง จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา พระโพธิสัตว์องค์นี้ เป็นประติมากรรม ศิลปะศรีวิชัย ที่มีชื่อเสียงที่สุด และจัดได้ว่า งดงามที่สุด เป็นหลักฐาน ที่โดดเด่นชิ้นหนึ่ง ที่สนับสนุน ความสำคัญ ในด้านศิลปวัฒนธรรม ของเมืองไชยา โบราณในสมัยศรีวิชัย 8. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 8 กร สำริด ศิลปะศรีวิชัย พระพักตร์กลม พระขนงต่อกัน เป็นรูปปีกกา พระกรทั้งแปด หักหายหมด ทรงเก้าพระเกศา เป็นรูปชฎามุกุฎ มีพระพุทธเจ้า อมิตาภะ ประทับอยู่ในกรอบหน้า ของชฎามุกุฎ ตกแต่งด้วยศิลาภรณ ์กับกระบังหน้า สวมกรองศอ กุณฑล พาหุรัด ทรงสะพายแพร ซึ่งมีสายยัชโญ ปวีตลูกประคำทับ อันเป็นเครื่องหมาย ของบุคคล ในวรรณะพราหมณ์ หรือวรรณะกษัตริย์ ซึ่งประดับด้วยหัวกวาง อันเป็นลักษณะ เฉพาะของพระองค์ บนสายแพร ทรงพระภูษายาว คาดทับด้วยปั้นเหน่ง และผ้า ซึ่งทิ้งห้อย เป็นเส้นโค้ง ทางด้านหน้า และผูกไว้เหนือ พระโสณี ลักษณะเครื่องประดับ คล้ายคลึงกับ เครื่องประดับ ของประติมากรรม ในชวาภาคกลาง รูปพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร 8 กร นี้แสดงฐานะความเป็น เจ้าแห่งจักรวาล จึงมีพระนามว่า “โลเกศวร” ประติมากรรมมักมีเกินกว่า 2 กร ในคัมภีร์การัณฑ พยูหสูตร ซึ่งเขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1050 – 1450 กล่าวว่าพระองค์มีแสนกร โกฏิพระเนตร สิบเอ็ดเศียร โลมา ( เส้นขน ) แต่ละเส้น คือจักรวาล พระเนตร คือพระจันทร์ และพระอาทิตย์ แผ่นดินคือ พระบาทอำนาจ ของพระองค์ยิ่งใหญ ่เหนือพระตถาคต ทั้งปวง ทรงเป็นผู้ประทานมนต์ หกพยางค์ อันยิ่งใหญ่ ที่มีชื่อว่า สรรพราเชนทร หรือเจ้าแห่งราชา ทุกพระองค์ คือ “ โอม มณี ปัทเม ฮูม” แปลว่า ดวงมณีเกิด อยู่ในดอกบัว คาถาบทนี้ ทำให้เห็นว่า พระองค์ ทรงเป็นเจ้าแห่ง จักรวาลทั้งมวล ประติมากรรมชิ้นนี้ กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 14 องค์จริงจัด แสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลองจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา 9. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ) 2 กร ศิลา ทรงประทับ ยืนตรงอยู่บนดอกบัว พระพักตร์สี่เหลี่ยม ทรงเกล้าพระเกศา เป็นรูปชฎามกุฎ มีพระพุทธเจ้าอมิตาภะ ประทับอยู่ด้านหน้า พระหัตถ์ขวา แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ซ้าย ทรงถือดอกบัว ทรงพระภูษายาว มีหน้านาง และจีบอยู่ด้านข้าง คาดปั้นเหน่งทับ พร้อมกับคาดหนังเสือ รอบพระโสณี พระวรกายตกแต่ง ด้วยพาหุรัด กรองศอทองพระกร ประติมากรรมชิ้นนี้ แสดงอิทธิพล ศิลปะจาม กำหนดอายุราว พุทธศตวรรษที่ 15 องค์จริงจัดแสดง อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์จำลอง จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา 10. พระพุทธรูป มีทั้งพระพุทธรูปศิลา และพระพุทธรูปปูนปั้น ทั้งที่เป็นอิทธิพล ศิลปะอินเดีย และศิลปะทวารวดี ตลอดจน พระพุทธรูปศิลาทรายแดง และพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ในรุ่นหลัง พระพุทธรูป ที่สำคัญได้แก่ พระพุทธรูปศิลา สูง 104 เซนติเมตร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ประทับนั่งขัดสมาธิ ราบ แสดงปางสมาธิ อยู่บนฐานบัว อิทธิพลศิลปะ อินเดียแบบคุปตะ สกุลช่างสารนาถ เดิมประดิษฐาน อยู่ในซุ้มเล็ก ๆ ซุ้มหนึ่งใน สองข้างบันได ที่จะขึ้นไปบน องค์พระบรมธาตุ รูปแบบทั้งหมด ของพระพุทธรูป องค์นี้ยังคล้ายกับ ประติมากรรม สมัยพนมดา ในศิลปะขอม อีกด้วย จัดอยู่ในกลุ่ม พระพุทธรูปสกุล ช่างไชยารุ่นที่ 1 คือเป็น ศิลปะท้องถิ่น ที่ได้รับอิทธิพลจาก พระพุทธรูป อินเดียสกุลช่าง ต่าง ๆ มาผสมผสานกัน ปัจจุบันจ ัดแสดงอยู่ท ี่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติไชยา ส่วนพระพุทธรูป อิทธิพลศิลปะทวารวดี ส่วนใหญ่เป็น พระพุทธรูปศิลา ประทับ ยืนปางแสดงธรรม คล้ายกับที่พบบริเวณ แหล่งโบราณคดี ในภาคกลางของประเทศไทย 11. ฐานโยนิ มีลักษณะพิเศษ คือมีรางน้ำมนต์ 2 ด้าน ตรงข้ามกัน (ตั้งอยู่ที่ลาน ในเขตพระระเบียง)
ขนาด: ความสูงของ พระบรมธาตุ จากฐานถึงยอด ประมาณ 24 เมตร ประกอบด้วย ฐานบัวลูกแก้ว สี่เหลี่ยมจัตุรัส ตกแต่งด้วย เสาติดผนังลดเหลี่ยม 1 ชั้นวางอยู่บน บานเขียงซ้อนกัน 2 ชั้น ขนาดฐานวัด จากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก ยาวประมาณ 13 เมตร (ของเดิมยาว 10 เมตร และสร้างพอกขึ้นใหม่ ทางด้านหน้าอีก 3 เมตร) จากทิศเหนือถึง ทิศใต้ยาวประมาณ 10 เมตร ส่วนยอดอยู่ต่ำกว่า ผิวดินปัจจุบัน เดิมมีดินทับถม อยู่เมตร ทางวัดจึงได้ขุด บริเวณโดยรอบฐาน เป็นสระกว้างประมาณ 2.30-2.50 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขัง อยู่รอบฐานตลอดปี ด้านหน้า ฐานบัวลูกแก้ว ด้านทิศตะวันออก มีซุ้มพระพุทธรูป อยู่ข้างบันได จำนวน 2 ซุ้ม เป็นของที่สร้าง ต่อเติมสมัยหลัง (ก่อนการบูรณะใ นสมัยรัชกาลที่ 5 ) สามารถเห็น ร่องรอย ฐานเก่าที่เป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะมีฐานบัวเดิม โผล่ออกมาให้ เห็นชัดเจน ฐานบนของบัว ลูกแก้วสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็น ฐานทักษิณ ที่มุมทั้งสี่ประดับ ด้วยสถูปจำลอง ตรงกลางฐาน เป็นฐานบัวลูกแก้ว อีกชั้นหนึ่ง รองรับเรือน ธาตุเจดีย์ทรง จัตุรมุข ที่มุมเรือนธาตุ ทำเป็นรูปเสา หลอกติดผนัง ตรงกลางเสา เซาะตลอดโคน ถึงปลายเสา มุขด้าน ทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้น สามารถเดินขึ้นไป นมัสการ พระพุทธรูป ภายในองค์เจดีย์ได้ ห้องภายใน มีขนาดประมาณ 2X 2 เมตร ปัจจุบันก่อฐาน ชุกชีประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน 8 องค์ ผนังเรือนธาตุ ก่ออิฐไม่สอปูน ลดหลั่นกันขึ้น ไปถึงยอด ( ปัจจุบัน ฉาบปูน ปิดทับหมดแล้ว) มุขอีกสามด้านทึบ ที่มุขของมุข แต่ละด้านทำเป็นเสา ติดผนังอาคาร เหนือมุขเป็น ซุ้มหน้าบัน ประดับลายปูนปั้น รูปวงโค้งคล้ายเกือกม้า หรือเรียกว่า กุฑุ เหนือเรือนธาตุ มีลักษณะเป็นหลังคา ซ้อนกันขึ้นไป 3 ชั้น โดยการจำลอง ย่อส่วนอาคาร เบื้องล่างลดหลั่นขึ้นไป แต่ละชั้น ประดับด้วยสถูป จำลองที่มุขทั้งสี่ และตรงกลาง ด้านเหนือซุ้มหน้าบัน รวมจำนวนสถูป จำลองชั้นละ3 องค์ ทั้งหมดสามชั้น รวมทั้งสิ้น 24 องค์ ถัดขึ้นไป เป็นส่วนยอด ซึ่งซ่อมแซมครั้งใหญ่ ตรงกับสมัย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขยาย ส่วนยอดให้สูงขึ้น เริ่มตั้งแต่บัวปากระฆัง ซึ่งเป็นดอกบัวบาน ขนาดใหญ่ องค์ระฆังรูปแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไป เป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยม ขนาดเล็ก รองรับก้านฉัตร ต่อด้วยปล้องไฉน แปดเหลี่ยมจำนวนห้าชั้น เหนือปล้องไฉน เป็นบัวกลุ่ม หุ้มทองคำ รองรับปลียอด หุ้มทองคำ ซึ่งเข้าใจว่าได้ต้นแบบ มาจากยอดพ ระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช เหนือปลียอด ประดับฉัตรหุ้มทองคำ หนัก 82 บาท 3 สลึง ต่อมาถูกขโมยลักไป ทางวัดจึงจัดทำขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2481 ด้วยทองวิทยาศาสตร์ โครงสร้างพระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูน อิฐเนื้อแกร่ง เผาด้วยไฟแรง เมื่อก่ออิฐ แล้วคงขัดถู แต่งรอยให้เรียบ เสมอกัน พระบรมธาตุไชยา ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ หลายครั้ง จึงมีลวดลาย เครื่องประดับ เป็นลวดลาย เก่าใหม่ผสมกัน ลวดลายเก่า ที่น่าสนใจคือ ลวดลายที่ซุ้มหน้าบันห รือ กุฑุ เดิมใช้วิธี แกะสลักอิฐ เป็นรูปวงโค้ง เมื่อมีการซ่อม ครั้งใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ 5 จึงมีการซ่อมแปลง หน้าบันด้วยปูนปั้น เติมลวดลายใหม่ ๆ ได้แก่ รูปตราแผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 5 ภายในเป็นพระพุทธรูป รูปเทพพนม ด้านข้างเป็นช้างสามเศียร และนกยูง รูปสิงห์ รูปเหรา รูปผีเสื้อ เป็นต้น
ความสำคัญ:
การประกาศขึ้นทะเบียน กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียน โบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479 พระบรมธาตุไชยา เปรียบเสมือน สัญลักษณ์ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสิ่งสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง เป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นถึง ความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนา มาแต่ครั้งอดีตกาล นานนับพันปี เป็นหลักฐานท ี่สามารถนำมาเล่าขาน ถึงความยิ่งใหญ่ ของบรรพชนในอดีต แม้ว่าศูนย์กลาง ของเมืองจะย้ายไป ทั้งใหม่ที่บ้านดอน ซึ่งเป็นที่ ตั้งจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในปัจจุบัน แต่หลักฐานท างประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรม ที่วัดพระบรมธาตุไชยา กลับเป็นอนุสรณ์ ที่แสดงให้เห็น ความเจริญรุ่งเรื่อง ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในอดีตที่ อนุชนรุ่นหลัง พึ่งรักษาไว้ให้เป็น มรดกของมวลมนุษยชาติ สืบไป
การวิเคราะห์หลักฐาน:
ผู้คนในรุ่นปัจจุบัน รู้จักวัดพระบรมธาตุไชยา ก็เมื่อพระครูโสภณ เจตสิการาม (หนู ติสโส) เจ้าคณะเมืองไชยา เป็นแกนนำ ในการบูรณะ พระอารามรกร้าง แห่งนี้ ซึ่งไม่ปรากฏ หลักฐานแน่ชัดเ กี่ยวกับความเป็นมาของการก่อสร้าง และผู้ก่อสร้าง อีกทั้งไม่มีตำนาน เอกสารใดใด กล่าวถึงพระอาราม แห่งนี้มาก่อน พ.ศ. 2438 เลย ถึงกระนั้น ก็สันนิษฐานกันว่า คงสร้างมาแล้วก่อน พุทธศตวรรษที่ 18 เป็นอย่างน้อย สถาปัตยกรรม ที่เก่าแก่ที่สุด ในวัดคือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเชื่อกันว่า น่าจะเป็นสถานที่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ เช่นเดียวกับ พระสถูปเจดีย์ องค์สำคัญอื่น ๆ ในประเทศไทย รูปแบบสถาปัตยกรรม ได้รับการจัดให้อยู่ ในกลุ่มศิลปะศรีวิชัย ซึ่งกำหนดอายุ รูปแบบศิลปะ อยู่ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 13-18 ภายในห้องโถง กลางขององค์พระบรมธาตุ เดิมคงใช้ประดิษฐาน พระพุทธรูปใน ลัทธิมหายาน แต่รายงาน ของหลวง บริบาลบุรีภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2473 บันทึกว่ามี พระพุทธรูปหิน ลงรักปิดทอง แบบศิลปะราวดี อยู่ภายในองค์ พระธาตุ 1 องค์ พระพุทธรูปนั่ง ประทับแบบศิลปะทวารวดี ในซุ้มหน้าองค์ พระบรมธาตุ 1 องค์ (ปัจจุบันพระพุทธรูป ทั้งสององค์ จัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา) พระพุทธรูปหิน ศิลปะแบบ ศิลปะศรีวิชัย จากระเบียง พระบรมธาตุไชยา 2 องค์ (ระเบียงน่าจะหมายถึง พระระเบียง หรือระเบียงคด) อาจเป็นได้ว่าเดิม ภายในองค์ พระบรมธาต ุประดิษฐาน พระโพธิ์สัตว์ ศิลปะศรีวิชัย ต่อมาเมื่อ พุทธศาสนา มหายานเสื่อมลง ผู้คนเสื่อมศรัทธา จากการนับถือ พระโพธิสัตว์ จึงได้นำพระพุทธรูป โบราณที่พบ ในละแวกนั้นนำขึ้น ไปประดิษฐาน ไว้ในห้องโถงกลาง ของพระบรมธาตุไชยา แทน เหตุการณ์นี้ คงทำนองเดียว กับที่คนรุ่นหลัง ไม่รู้จักพระโพธิสัตว์ ปัทมปาณิ สำริด 2 กร จึงนำไปทึ้งไว้ ใต้ต้นโพธิ์ ข้างกำแพง ด้านหน้าของวัด ซึ่งเดิมมี ผู้เล่าว่าพระโพธิ์สัตว์องค์ นี้กองรวม กับเทวรูปโพธิ์สัตว์ องค์อื่น ๆ ในวิหารพราหมณ์ ทางด้าน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของงวิหารหลวง นอกกำแพงวัด ต่อมาเมื่อวิหาร พราหมณ์พังทลายลง พระโพธิ์สัตว์สำริด ซึงมีสภาพหักพัง ชำรุดเหลือเพียงครึ่งองค์ จึงถูกนำทิ้งไว้ใต้ ต้นโพธิ์เหมือน วัตถุไร้ค่า จนกระทั่งสมเด็จ พระยาราชานุภาพ ทรงพบคราว เสด็จตรวจราชการ มณฑลปักษ์ใต้เมื่อปี พ.ศ. 2448 และสั่งให้อัญเชิญ เข้าไปกรุงงเทพฯ ครั้งแรกประดิษฐาน ณ พระราชวังดุสิต จนกระทั่ง พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครนำไปจัดแสดง เป็นโบราณวัตถุของชาติ พระโพธิสัตว์องค์นี้ ได้รับการตีความว่าเดิม อาจจะอยู่ที่วัดเวียงมาก่อน เป็นการตีความ ให้เข้ากรอบ ตามข้อความ ในจารึกในหลักที่ 23 ที่กล่าวว่าพระเจ้า กรุงศรีวิชัย สั่งให้สร้าง ปราสาทอิฐ 3 หลัง ถวายพระโพธิสัตว์เจ้า ผู้ถือดอกบัว พระพุทธเจ้าผู้ผจญพระยามาร และพระโพธิสัตว์ เจ้าผู้ถือวัชระ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีไทย จำนวนมากเชื่อว่า น่าจะหมายถึง วัดเวียง วัดหลง และวัดแก้ว ที่เมืองโบราณไชยา ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และโพธิ์สัตว์ เจ้าผู้ถือดอกบัว หรือก็คือ พระโพธิ์สัตว์ ปัทมปาณิน่า จะหมายถึง พระโพธิ์สัตว์ สำริด 2 กร ที่พบครึ่งพระองค์ ทำให้หนังสือ ของกรมศิลปากร หลายเล่มระบุที่มา ของพระโพธิ์สัตว์ องค์นี้ว่ามาจาก วัดเวียง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว ในครั้งแรกสุด สถานที่พบพระโพธิ์สัตว์องค์นี้ อยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยา ดังบันทึก ของพระยาธนกิจ รักษา เมื่อปี พ.ศ. 2458 กล่าวว่าถึง การเสด็จพระราชดำเนิน ไปนมัสการ พระบรมธาตุไชยา ของพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในจดหมายเหตุ ระยะทางเสด็จ พระราชดำเนิน เลียบมณฑล ปักษ์ใต้ของงสักขี) บรรยายถึง วัดพระบรมธาตุไชยา และบริเวณแหล่งที่ พบพระโพธิ์สัตว์สำริด ขนาดใหญ่ ครึ่งองค์ว่า ที่หน้าวัดพระธาตุ มีต้นโพธิ์ต้นหนึ่ง ว่าต้นโพธิ์นั้น เป็นที่ขุดรูปพระโพธิสัตว์ หล่อเพียงบั้นพระองค์ ซึ่งเชิญเข้าไว้ ในกรุงเทพฯ ประดิษฐานอยู่ ณ พระราชวังดุสิต นอกจากนี้ ในหนังสือศิลปะ ในประเทศไทยของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พระราชโอรสในสมเด็จฯ กรมราชาภาพ ยังได้ระบุสถานที่ พบพระโพธิ์สัตว์ องค์นี้ว่าพบที่ พระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยา คงได้รับการบูรณะ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในสมัยอยุธยา รวมทั้งชื่อวัด ก็สันนิษฐาน ว่าอาจจะเริ่ม เรียกกันตั้งแต่ยุคสมัยนี้ หลักฐานที่เป็นตัวแทน ของยุคนี้ ได้แก่พระพุทธรูป หินทรายสีแดง ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระระเบียง ส่วนใหญ่เป็นศิลปะ อยุธยาทั้งสิ้น และที่สำคัญ คือแผนผัง ของวัด ที่ถูกดัดแปลง อย่างเห็นได้ชัด จากการเพิ่มสิ่งก่อสร้าง ที่เรียกว่า ระเบียงคด สร้างล้อมรอบ องค์พระบรมธาตุ ซึ่งเปรียบประดุจ อาคารประธาน ของวัดไว้ตรงกลาง ด้านทิศตะวันออก มีการก่อสร้างวิหาร ที่ส่วนท้ายวิหาร ล้ำเข้ามาในระเบียงคด อันเป็นระเบียง ที่นิยมในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่งวิหารในสมัยอยุธยา ตอนต้นนั้น ส่วนท้ายวิหาร จะมีบันไดทอดลง ไปเชื่อมกับระเบียงคด แต่วิหารกับระเบียงคด ที่วัดพระบรมธาตุไชยา ดูเหมือนจะมิได้สร้าง ในคราวเดียวกัน โดยระเบียงคด ที่เป็นสิ่งก่อสร้าง ที่เพิ่มขึ้นภายหลัง ดังนั้นระเบียงนี้น่า จะสร้างไม่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 21 หรือไม่ก่อน รัชสมัย สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ การสร้างปรับปรุง แผนผังวัดใหม่ โดยก่อสร้างอาคาร เสนาสนะ เพิ่มเติม ในลักษณะ การวางตำแหน่ง อาคารตามรูปแบบ ที่นิยมกัน ในสมัยอยุธยา แสดงว่าวัดนี้ น่าจะเป็นวัด ที่สำคัญที่สุด ในบรรดาวัด โบราณที่มี อยู่ในเมืองไชยา และน่าจะมีฐานะ เป็นวัดประจำเมือง ของไชยา แม้แต่วัดแก้ว วัดหลง ซึ่งมีอาคาร สถาปัตยกรรม สมัยศรีชัยขนาดใหญ่ และน่าจะมีความสำคัญ มากที่สุด ต่อเมืองไชยา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 แต่เมื่อถึง สมัยอยุธยา แล้วก็น่าจะมีฐานะ ด้อยกว่า วัดพระบรมธาตุไชยา ในทำนองกลับกัน เชื่อว่าเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 14-15 วัดพระบรมธาตุ อาจเป็นเพียงอารามเล็ก ๆ ในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ที่อยู่นอกเมือง หากแต่ ความสำคัญ สูงสุดซึ่งเป็น ศูนย์กลางแห่งศาสนา น่าจะอยู่บนสันทรายไชยา ในเวลานั้น ดังนั้น แม้ว่าโบราณวัตถุ จำพวกพระพุทธรูป ที่เก่าที่สุดที่พบ ในวัดพระบรมธาตุไชยา จะมีอายุลงมาถึง พุทธสตวรรษที่ 11-12 ก็มิได้หมายความว่า วัดพระบรมธาตุไชยา จะเก่าตาม โบราณวัตถุไปด้วย เพราะโบราณวัตถุ สามารถ เคลื่อนย้ายได้ และรวบรวม นำเอามาไว้ใน บริเวณวัดภายหลัง หมายความว่า อาจมีผู้นำโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่ามาเก็บรักษา ไว้ที่วัดตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมาแล้วก็ได้ สิ่งสำคัญที่ ควรพิจารณาน่า จะเป็นตัวโบราณสถาน ในที่นี้คงกำหนด อายุพระบรมธาตุไชยาได้ ไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 14-15 และในสมัยแรก สร้างคงเป็นพุทธสถาน ในลัทธิมหายาน คล้ายคลึงกับ โบราณสถาน (หมายถึงวัด) ในละแวก ข้างเคียง รวมทั้งได้รับอิทธิพล ส่งถ่ายกับโบราณสถาน ในชวาภาคกลาง ซึ่งล้วนเป็น พุทธศาสนา มหายานด้วยกัน ดังนั้นในสมัยแรก สร้างอาคาร เจติยสถาน แห่งนี้น่าจะมี วัตถุประสงค์ เพื่อประดิษฐาน รูปเคารพ ต่างจากพุทธศาสนา นิกายหินยาน หรือเถรวาท ที่นิยมก่อสร้าง พระสถูปสำหรับ บรรจุพระบรมสาริกธาตุ ซึ่งวิวัฒนาการ มาจากสถูปโบราณ ของอินเดียเช่น สถูปสาญจี หมายเลข 1 อายุราว พุทธศตวรรษ ที่ 5-6( Harle, 1987:31 ) และ เริ่มเข้ามานิยม ในดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัย ศิลปะคุปตะ และหลังคุปตะ (ตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 11 เป็นต้นมา) ดังนั้นจะเห็นได้ ในแหล่งโบราณคดี สมัย ทวารวดี ในภาคกลาง ของประเทศไทย ซึ่งพบฐานอาคาร ที่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฐาน พระสถูป ต่อมาเมื่อ พุทธศาสนา เถรวาท จากลังกา เผยแผ่เข้ามา ความนิยมสร้างสถูป เพื่อบรรจุพระบรมธาตุไ ด้กลายเป็น คตินิยมว่าด้วย ลัทธิบูชา พระธาตุ จนเกิดเป็นประเพณี ในการสถาปนา พระบรมธาตุ เป็นหลักเมือง และเป็น ศูนย์กลาง ของนคร หรือเมืองขนาดใหญ่ ดังปรากฏ ในเมืองโบราณ นครศรีธรรมราช เมื่อครึ่งแรก ของพุทธศตวรรษที่ 18 ลักษณะของพระบรมธาตุ มักเป็นสถูปทรงกลมตัน ไม่มีพื้นที่ว่าง สำหรับใช้สอย อยู่ภายใน อันเป็นรูปแบบ ที่สืบทอดมาจาก อินเดียโบราณ
วัดหน้าพระเมรุ
สถาปัตยกรรมสมัยทวาราวดี
ได้มีการขุดค้นโบราณวัตถุที่จังหวัดนครปฐมและได้พบเห็นโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย ที่สร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน ส่วนใหญ่สถาปัตยกรรมในสมัยนี้พบเห็นในการก่อสร้างเจดีย์ นอกจากนั้น ยังขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี นอกจากนั้นยังขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นโบราณวัตถุในสมัยเดียวกันกับที่ขุดค้นพบในจังหวัดนครปฐม
สถาปัตยกรรมสมัยนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระสถูปเจดีย์เมืองสัญจิ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นรูปโอคว่ำ มีอาสน์บนยอดและมีฉัตร เช่น พระปฐมเจีดย์ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : วัดหน้าพระเมรุ
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว : ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง(เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า“วัดพระเมรุราชิการาม”ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้น ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นมีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อพ.ศ.2046 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อพ.ศ.2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ถนน. - ต. อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วันทำการ : -
เวลาทำการ : -
เว็บ : -
เบอร์โทรศัพท์ : -
จำนวนนักท่องเที่ยว : -
ลักษณะเด่นพื้นที่ : 1.พระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายในต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้นมีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนแกะสลักไม้เป็นดาวเพดานพระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราชมีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมาก ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์(หรือวิหารน้อย) ซึ่งอยู่ข้างพระอุโบสถ
2.มีพระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย
3.-
4.-
กิจกรรม : 1.ไหว้พระ
2.ถ่ายรูป
3.ปฏิบัติธรรม
4.ทำบุญ
ได้มีการขุดค้นโบราณวัตถุที่จังหวัดนครปฐมและได้พบเห็นโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย ที่สร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาลัทธิหินยาน ส่วนใหญ่สถาปัตยกรรมในสมัยนี้พบเห็นในการก่อสร้างเจดีย์ นอกจากนั้น ยังขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี นอกจากนั้นยังขุดค้นพบโบราณวัตถุที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นโบราณวัตถุในสมัยเดียวกันกับที่ขุดค้นพบในจังหวัดนครปฐม
สถาปัตยกรรมสมัยนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระสถูปเจดีย์เมืองสัญจิ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นรูปโอคว่ำ มีอาสน์บนยอดและมีฉัตร เช่น พระปฐมเจีดย์ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : วัดหน้าพระเมรุ
รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว : ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง(เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง มีชื่อเดิมว่า“วัดพระเมรุราชิการาม”ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้น ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นมีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อพ.ศ.2046 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อพ.ศ.2106 ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ริมคลองสระบัว ถนน. - ต. อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วันทำการ : -
เวลาทำการ : -
เว็บ : -
เบอร์โทรศัพท์ : -
จำนวนนักท่องเที่ยว : -
ลักษณะเด่นพื้นที่ : 1.พระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายในต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้นมีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนแกะสลักไม้เป็นดาวเพดานพระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราชมีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมาก ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์(หรือวิหารน้อย) ซึ่งอยู่ข้างพระอุโบสถ
2.มีพระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย
3.-
4.-
กิจกรรม : 1.ไหว้พระ
2.ถ่ายรูป
3.ปฏิบัติธรรม
4.ทำบุญ
วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ปราสาทบาปวน
ปราสาทบาปวน
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1603)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบาปวน
• ศาสนา :ศาสนาฮินดู
• ปราสาทบาปวน จัดเป็นปราสาทแรกในกลุ่มปราสาทเมืองพระนคร มีทางเดินผ่านตัวปราสาทเป็นสะพานหินยกระดับทอดยาว ทางเดินเข้าผ่านโคปุระรูปกากบาท 3 ทาง ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่ตั้งของปราสาทอยู่ในเขตพระราชวังหลวง เป็นปราสาทที่มียอดสูง มีหลักฐานจากการบันทึกของจิวต้ากวนราชทูตจากเมืองจีนในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กล่าวไว้ว่า ยอดปราสาทบาปวนเคลือบด้วยสำริดแลอร่ามแต่ไกล หากยอดไม่หักพังเสียก่อน คาดว่าปราสาทบาปวนอาจมีความสูงกว่าปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน ปัจจุบันนี้ปราสาททรุดโทรมมากและกำลังได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง
• สะพานยกระดับอยู่องค์ปราสาท ทางเข้าจากโคปุระทิศตะวันออกมีสะพานยกระดับ ด้านล่างมีเสากลมรองรับทางเดินสู่ไปปรางค์ประธาน
• ภาพสลัก เช่น ภาพการล่าสัตว์ การต่อสู้ระหว่างนักรบ บนโคปุระทางเข้าและระเบียงคตของตัวปราสาทด้วยศิลปะแบบบาปวน
ลานช้าง• ปีที่สร้าง : สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 18
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• ลานช้าง ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองพระนครหลวง หันหน้าเข้าสู่ลานกว้างเรียกว่าสนามหลวง ลักษณะเป็นระเบียงยาวประมาณ 350 เมตร สูงจากพื้น 3 เมตร ผนังฐานพลับพลาสร้างด้วยหินสลักเป็นรูปช้างและครุฑพ่าห์พื้นพลับพลาเป็นหินตั้งอยู่ด้านหน้าประตูพระราชวังมีมุขยื่นออกมาทั้งสองด้าน คือมุขช้างเอราวัณและมุขรูปครุฑพ่าห์มีบันไดขึ้นลงได้ 5 ทาง บันไดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นทางพระราชดำเนินที่จะใช้ลงไปยังสนามหลวงของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
• จุดประสงค์ของการสร้างลานช้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับพระมหากษัตริย์นั่งทอดพระเนตรการสวนสนาม การซ้อมรบ และการเฉลิมฉลองต่างๆ ตลอดจนการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
• ภาพสลักนูนสูงรูปช้างและครุฑ ฐานระเบียงมีภาพสลักนูนสูงเป็นรูปช้างตลอดแนว เรียกว่า ลานช้าง และมีภาพครุฑแบกที่สวยงามเรียกว่าระเบียงครุฑหรือลานพระเกียรติ
• ภาพสลักนูนสูงรูปม้าห้าหัว ด้านทิศเหนือของลานช้างบริเวณใกล้ฐานลานพระเจ้าขี้เรื้อน มีภาพม้าห้าหัวหรือม้าพลาหะอันเป็นอวตารปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่คอยช่วยเหลือผู้คนให้พ้นจากปีศาจร้าย
• ภาพสลักนูนสูงรูปหงส์ ทางด้านทิศตะวันออกตรงข้ามกับทางเข้าประตูชัยของนครธม มีภาพสลักรูปหงส์ และบนฐานลานช้าง ถ้ามองไปยังทิศตะวันตก จะพบโคปุระซึ่งนำไปสู่ปราสาทพิมานอากาศและพระราชวังหลวง
ลานพระเจ้าขี้เรื้อน• ปีที่สร้าง : สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 – 19
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• ลานพระเจ้าขี้เรื้อน สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 โดยที่ไม่ทราบชื่อ จึงถูกขนานนามขึ้นใหม่ เชื่อกันว่าเป็นศาลตัดสินโทษ ผนังของลานสันนิษฐานว่าถล่มและได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมดมีความยาว 25 เมตร สูง 6 เมตร
• ภาพสลักนูนสูงที่ระเบียง เป็นภาพพญายมมีนางนาคอยู่ทั้งสองข้าง กล่าวถึงเมืองบาดาล อันเป็นที่พักอาศัยของนาค ที่มุมระเบียงมีภาพสลักนูนสูงของนาค 9 เศียร และ 5 เศียรอยู่ข้างบน ภาพพญายมจะถือพระขรรค์นั่งในท่าขัดสมาธิและชันเข่าถ้าเป็นสตรีมักจะมีศิราภรณ์ (คล้ายๆมงกุฏ) สวมใส่บนศีรษะ นั่งในท่าพับเพียบหรือชันเข่า มือประนมถือดอกบัว มีบางรูปที่แขว่งพระขรรค์แขนตั้งวงโค้งวางมืออยู่บนศีรษะอย่างสวยงาม ภาพสลักนูนสูงแถวที่สอง เป็นรูปยักษ์และรูปครุฑ ซึ่งมีทั้งรูปจริงและรูปจำแลง ภาพสลักแถวที่สามเป็นรูปเทวดา
ปราสาทพิมานอากาศ• ปีที่สร้าง :สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบคลัง
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
• ปราสาทพิมานอากาศ เป็นปราสาทหลังเดียวที่ก่อสร้างด้วยหินทรายอยู่บนฐานศิลาแลง ซ้อนกันเป็น 3 ชั้น คล้ายปิรามิด ความสูงของฐานปราสาทพิมานอากาศทั้ง 3 ชั้นราว 12 เมตร รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้ามีบันไดลาดชันทั้ง 4 ด้าน ส่วนทางเข้าชมพระราชวังต้องเดินผ่านฐานขึ้นบนพลับพลาสูงไปตามบันไดครุฑ เพราะพระราชวังนี้ต้องอยู่บนพลับพลาสูง เมื่อขึ้นไปสู่พลับพลาสูงจะเห็นประติมากรรมรูปสิงห์ ศิลปะสมัยบายนยืนผงาดอยู่เชิงบันไดทั้งสองข้าง บนฐานพลับพลาสูงแห่งนี้ยังมีร่องรอยการปลุกสร้างพลับพลาในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้ออกว่าราชการตรวจพลสวนสนาม หรือประกอบพิธีทางศาสนา ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยอีกแล้ว เพราะสิ่งก่อสร้างทำจากไม้
• ปราสาทพิมานอากาศ ตั้งอยู่บนฐานสูงสามชั้นแต่ละชั้นสูง 4 เมตรชั้นล่างสุดมีขนาดกว้าง 28 เมตร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ยาว 35 เมตร ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ฐานปราสาททั้งสามชั้นเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทได้ ซึ่งมีบันไดอยู่กลางฐานทั้งสี่ทิศหลัก แต่ส่วนใหญ่แตกหักพังทลาย ที่มีสภาพดีที่สุดคือทิศตะวันตก สองด้านของบันไดทางขึ้นขนาบข้างด้วยประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ และรูปช้างที่มุมฐานทั้งสามชั้น ตัวปราสาทบนฐานชั้นบนสุดด้านนอกเป็นระเบียงคตทำจากหินทราย ด้านในเป็นตัวปราสาทสร้างบนฐานสูง 2.5 เมตร จากบันทึกของจิวต้ากวนกล่าวว่าในปราสาทแห่งนี้กษัตริย์ขอมตะต้องเสด็จมาบรรทมกับนางนาคเก้าเศียรที่จะแปลงร่างเป็นสาวงามทุกคืน ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าขานกันในหมู่ชาวจีนที่มีอาศัยอยู่ในเมืองพระนครหลวงสมัยนั้น
• สระน้ำหลวง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 45 เมตร ยาว 125 เมตร ขอบสระเป็นหินทรายล้อมรอบหลายชั้นลาดลงด้านล่าง เชื่อว่าสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และแกะสลักภาพเพิ่มเติมในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่บริเวณด้านทิศใต้ของสระมีกำแพงยาวต่อขึ้นไปทางทิศตะวันตกอีกเล้กน้อย สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อกั้นชั้นดินจากปราสาทพิมานอากาศไม่ให้ไหลลงสระ จุดเด่นของกำแพงคือภาพสลักที่สมบูรณ์ ภาพบางตอนคล้ายภาพที่ผนังลานพระเจ้าขี้เรื้อน
• สระน้ำด้านทิศตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกของโคปุระด้านทิศเหนือ มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร มีลักษณะเป็นสระน้ำหินทรายลึก 4.5 เมตร เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังที่สร้างในบริเวณนี้ครั้งแรก
• ระเบียงและสระน้ำ ด้านทิศตะวันตกและสระน้ำหลวง อยู่ทางทิศตะวันตกของโคปุระด้านทิศเหนือ ด้านนอกเป็นกำแพงศิลาแลง สภาพค่อนข้างทรุดโทรม ถัดเข้าไปเป็นสระน้ำขนาดเล็กและระเบียงต่ำๆ จุดเด่นอีกแห่งคือภาพสลักบนกำแพง
• ระเบียงทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นระเบียงรูปไม้กากบาท มีเสากลมอยู่ด้านล่าง แต่ถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุม เดินเข้าไปค่อนข้างลำบาก
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1603)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบาปวน
• ศาสนา :ศาสนาฮินดู
• ปราสาทบาปวน จัดเป็นปราสาทแรกในกลุ่มปราสาทเมืองพระนคร มีทางเดินผ่านตัวปราสาทเป็นสะพานหินยกระดับทอดยาว ทางเดินเข้าผ่านโคปุระรูปกากบาท 3 ทาง ตัวปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่ตั้งของปราสาทอยู่ในเขตพระราชวังหลวง เป็นปราสาทที่มียอดสูง มีหลักฐานจากการบันทึกของจิวต้ากวนราชทูตจากเมืองจีนในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 กล่าวไว้ว่า ยอดปราสาทบาปวนเคลือบด้วยสำริดแลอร่ามแต่ไกล หากยอดไม่หักพังเสียก่อน คาดว่าปราสาทบาปวนอาจมีความสูงกว่าปราสาทพิมานอากาศ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน ปัจจุบันนี้ปราสาททรุดโทรมมากและกำลังได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง
• สะพานยกระดับอยู่องค์ปราสาท ทางเข้าจากโคปุระทิศตะวันออกมีสะพานยกระดับ ด้านล่างมีเสากลมรองรับทางเดินสู่ไปปรางค์ประธาน
• ภาพสลัก เช่น ภาพการล่าสัตว์ การต่อสู้ระหว่างนักรบ บนโคปุระทางเข้าและระเบียงคตของตัวปราสาทด้วยศิลปะแบบบาปวน
ลานช้าง• ปีที่สร้าง : สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 18
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• ลานช้าง ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองพระนครหลวง หันหน้าเข้าสู่ลานกว้างเรียกว่าสนามหลวง ลักษณะเป็นระเบียงยาวประมาณ 350 เมตร สูงจากพื้น 3 เมตร ผนังฐานพลับพลาสร้างด้วยหินสลักเป็นรูปช้างและครุฑพ่าห์พื้นพลับพลาเป็นหินตั้งอยู่ด้านหน้าประตูพระราชวังมีมุขยื่นออกมาทั้งสองด้าน คือมุขช้างเอราวัณและมุขรูปครุฑพ่าห์มีบันไดขึ้นลงได้ 5 ทาง บันไดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นทางพระราชดำเนินที่จะใช้ลงไปยังสนามหลวงของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
• จุดประสงค์ของการสร้างลานช้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับพระมหากษัตริย์นั่งทอดพระเนตรการสวนสนาม การซ้อมรบ และการเฉลิมฉลองต่างๆ ตลอดจนการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
• ภาพสลักนูนสูงรูปช้างและครุฑ ฐานระเบียงมีภาพสลักนูนสูงเป็นรูปช้างตลอดแนว เรียกว่า ลานช้าง และมีภาพครุฑแบกที่สวยงามเรียกว่าระเบียงครุฑหรือลานพระเกียรติ
• ภาพสลักนูนสูงรูปม้าห้าหัว ด้านทิศเหนือของลานช้างบริเวณใกล้ฐานลานพระเจ้าขี้เรื้อน มีภาพม้าห้าหัวหรือม้าพลาหะอันเป็นอวตารปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่คอยช่วยเหลือผู้คนให้พ้นจากปีศาจร้าย
• ภาพสลักนูนสูงรูปหงส์ ทางด้านทิศตะวันออกตรงข้ามกับทางเข้าประตูชัยของนครธม มีภาพสลักรูปหงส์ และบนฐานลานช้าง ถ้ามองไปยังทิศตะวันตก จะพบโคปุระซึ่งนำไปสู่ปราสาทพิมานอากาศและพระราชวังหลวง
ลานพระเจ้าขี้เรื้อน• ปีที่สร้าง : สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 – 19
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการบูรณะเพิ่มเติมสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• ลานพระเจ้าขี้เรื้อน สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 โดยที่ไม่ทราบชื่อ จึงถูกขนานนามขึ้นใหม่ เชื่อกันว่าเป็นศาลตัดสินโทษ ผนังของลานสันนิษฐานว่าถล่มและได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ทั้งหมดมีความยาว 25 เมตร สูง 6 เมตร
• ภาพสลักนูนสูงที่ระเบียง เป็นภาพพญายมมีนางนาคอยู่ทั้งสองข้าง กล่าวถึงเมืองบาดาล อันเป็นที่พักอาศัยของนาค ที่มุมระเบียงมีภาพสลักนูนสูงของนาค 9 เศียร และ 5 เศียรอยู่ข้างบน ภาพพญายมจะถือพระขรรค์นั่งในท่าขัดสมาธิและชันเข่าถ้าเป็นสตรีมักจะมีศิราภรณ์ (คล้ายๆมงกุฏ) สวมใส่บนศีรษะ นั่งในท่าพับเพียบหรือชันเข่า มือประนมถือดอกบัว มีบางรูปที่แขว่งพระขรรค์แขนตั้งวงโค้งวางมืออยู่บนศีรษะอย่างสวยงาม ภาพสลักนูนสูงแถวที่สอง เป็นรูปยักษ์และรูปครุฑ ซึ่งมีทั้งรูปจริงและรูปจำแลง ภาพสลักแถวที่สามเป็นรูปเทวดา
ปราสาทพิมานอากาศ• ปีที่สร้าง :สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบคลัง
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย
• ปราสาทพิมานอากาศ เป็นปราสาทหลังเดียวที่ก่อสร้างด้วยหินทรายอยู่บนฐานศิลาแลง ซ้อนกันเป็น 3 ชั้น คล้ายปิรามิด ความสูงของฐานปราสาทพิมานอากาศทั้ง 3 ชั้นราว 12 เมตร รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้ามีบันไดลาดชันทั้ง 4 ด้าน ส่วนทางเข้าชมพระราชวังต้องเดินผ่านฐานขึ้นบนพลับพลาสูงไปตามบันไดครุฑ เพราะพระราชวังนี้ต้องอยู่บนพลับพลาสูง เมื่อขึ้นไปสู่พลับพลาสูงจะเห็นประติมากรรมรูปสิงห์ ศิลปะสมัยบายนยืนผงาดอยู่เชิงบันไดทั้งสองข้าง บนฐานพลับพลาสูงแห่งนี้ยังมีร่องรอยการปลุกสร้างพลับพลาในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้ออกว่าราชการตรวจพลสวนสนาม หรือประกอบพิธีทางศาสนา ปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยอีกแล้ว เพราะสิ่งก่อสร้างทำจากไม้
• ปราสาทพิมานอากาศ ตั้งอยู่บนฐานสูงสามชั้นแต่ละชั้นสูง 4 เมตรชั้นล่างสุดมีขนาดกว้าง 28 เมตร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ยาว 35 เมตร ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ฐานปราสาททั้งสามชั้นเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทได้ ซึ่งมีบันไดอยู่กลางฐานทั้งสี่ทิศหลัก แต่ส่วนใหญ่แตกหักพังทลาย ที่มีสภาพดีที่สุดคือทิศตะวันตก สองด้านของบันไดทางขึ้นขนาบข้างด้วยประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ และรูปช้างที่มุมฐานทั้งสามชั้น ตัวปราสาทบนฐานชั้นบนสุดด้านนอกเป็นระเบียงคตทำจากหินทราย ด้านในเป็นตัวปราสาทสร้างบนฐานสูง 2.5 เมตร จากบันทึกของจิวต้ากวนกล่าวว่าในปราสาทแห่งนี้กษัตริย์ขอมตะต้องเสด็จมาบรรทมกับนางนาคเก้าเศียรที่จะแปลงร่างเป็นสาวงามทุกคืน ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าขานกันในหมู่ชาวจีนที่มีอาศัยอยู่ในเมืองพระนครหลวงสมัยนั้น
• สระน้ำหลวง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 45 เมตร ยาว 125 เมตร ขอบสระเป็นหินทรายล้อมรอบหลายชั้นลาดลงด้านล่าง เชื่อว่าสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และแกะสลักภาพเพิ่มเติมในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่บริเวณด้านทิศใต้ของสระมีกำแพงยาวต่อขึ้นไปทางทิศตะวันตกอีกเล้กน้อย สันนิษฐานว่าสร้างเพื่อกั้นชั้นดินจากปราสาทพิมานอากาศไม่ให้ไหลลงสระ จุดเด่นของกำแพงคือภาพสลักที่สมบูรณ์ ภาพบางตอนคล้ายภาพที่ผนังลานพระเจ้าขี้เรื้อน
• สระน้ำด้านทิศตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกของโคปุระด้านทิศเหนือ มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร มีลักษณะเป็นสระน้ำหินทรายลึก 4.5 เมตร เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังที่สร้างในบริเวณนี้ครั้งแรก
• ระเบียงและสระน้ำ ด้านทิศตะวันตกและสระน้ำหลวง อยู่ทางทิศตะวันตกของโคปุระด้านทิศเหนือ ด้านนอกเป็นกำแพงศิลาแลง สภาพค่อนข้างทรุดโทรม ถัดเข้าไปเป็นสระน้ำขนาดเล็กและระเบียงต่ำๆ จุดเด่นอีกแห่งคือภาพสลักบนกำแพง
• ระเบียงทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นระเบียงรูปไม้กากบาท มีเสากลมอยู่ด้านล่าง แต่ถูกต้นไม้ขึ้นปกคลุม เดินเข้าไปค่อนข้างลำบาก
ปราสาทพนมบาแคง
ปราสาทพนมบาแคง
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีกลางพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ พ.ศ. 1450)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1
• ศิลปะ : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ)
• ศาสนา : เป็นศิลปะแบบบาแคง
• สถานที่ตั้ง : ปราสาทพนมบาแคงตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กมีความสูงประมาณ 70 เมตร มีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่าปราสาทพนมกันดาล (พนม แปลว่า ภูเขา, กันดาล แปลว่า กลาง) ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างปราสาทพนมกรอมกับปราสาทพนมบก ซึ่งอยู่บนภูเขาขนาดใกล้เคียงกัน ต่อมาเรียกปราสาทนี้ว่า ปราสาทพนมบาแคงตามลักษณะของต้นบาแคง (คล้ายต้นมะขาม) ที่มีอยู่มากในบริเวณภูเขานี้ ชื่อของปราสาทดั้งเดิมจริงๆ นั้นเรียกว่า ปราสาทยโศธระปุระ คือใช้ชื่อของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 นั่นเอง ตัวปราสาทอยู่ใจกลางของยอดเขาปราสาทพนมบาแคง จำลองลักษณะมาจากปราสาทบากอง มีสถาปัตยกรรมคล้ายกัน รูปทรงแบบปิรามิด ที่ตัวระเบียงแต่ละชั้นมีปราสาทเล็กๆ 4 มุม ภายในปรางค์ประธานมีศิวลึงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.1450 ในปีที่เริ่มสร้างปราสาท ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปจาก พ.ศ. 1450-1471 นานถึง 21 ปี หลังจากนั้นอีก 40 ปีในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมปราสาทนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่เห็นในปรางค์ประธานนั้น มีการอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นไปประดิษฐานบนแท่นหินทรายแทนศิวลึงค์เมื่อ พ.ศ. 2059
• ปราสาทพนมบาแคง เป็นศาสนสถานแห่งแรกของเมืองพระนคร ทางขึ้นอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นเขาสูงชัน ปัจจุบันตัวปราสาททรุดโทรมลงมากแต่ยังมีความยิ่งใหญ่ เริ่มจากบันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธานที่มีอยู่ 5 ชั้น แต่ละชั้นมีปรางค์เล็ก 12 ปราสาท รวม 5 ชั้น มี 60 ปราสาท ส่วนบนยอดมีปรางค์บริวารล้อมรอบปรางค์ประธานอีก 4 ปราสาท เสมือนเป็นการจำลองยอดเขาพระสุเมรุรวมทั้งหมดมี 89 ยอด
• ตัวปราสาท ตั้งอยู่บนยอดเขา จึงเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะเห็นยอดปราสาทนครวัดผุดขึ้นกลางป่า ในยามบ่าย แสงสาดส่องเข้าปรางค์ปราสาทนครวัดทำให้เห็นเป็นสีทอง นอกจากนั้นยังเห็นวิวได้ 360 องศา เป็นบารายทิศตะวันตกซึ่งกลางบารายนี้จะมีสระเล็กๆ เป็นที่ตั้งของปราสาทแม่บุญตะวันตก นอกจากนี้ยังเห็นตัวเมืองเสียมเรียบ เห็นยอดเขาพนมบกที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 14 กิโลเมตรและเทือกเขาพนมกุเลนทอดยาว
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีกลางพุทธศตวรรษที่ 15 (ประมาณ พ.ศ. 1450)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1
• ศิลปะ : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ)
• ศาสนา : เป็นศิลปะแบบบาแคง
• สถานที่ตั้ง : ปราสาทพนมบาแคงตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กมีความสูงประมาณ 70 เมตร มีชื่อเรียกในสมัยโบราณว่าปราสาทพนมกันดาล (พนม แปลว่า ภูเขา, กันดาล แปลว่า กลาง) ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างปราสาทพนมกรอมกับปราสาทพนมบก ซึ่งอยู่บนภูเขาขนาดใกล้เคียงกัน ต่อมาเรียกปราสาทนี้ว่า ปราสาทพนมบาแคงตามลักษณะของต้นบาแคง (คล้ายต้นมะขาม) ที่มีอยู่มากในบริเวณภูเขานี้ ชื่อของปราสาทดั้งเดิมจริงๆ นั้นเรียกว่า ปราสาทยโศธระปุระ คือใช้ชื่อของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 นั่นเอง ตัวปราสาทอยู่ใจกลางของยอดเขาปราสาทพนมบาแคง จำลองลักษณะมาจากปราสาทบากอง มีสถาปัตยกรรมคล้ายกัน รูปทรงแบบปิรามิด ที่ตัวระเบียงแต่ละชั้นมีปราสาทเล็กๆ 4 มุม ภายในปรางค์ประธานมีศิวลึงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.1450 ในปีที่เริ่มสร้างปราสาท ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปจาก พ.ศ. 1450-1471 นานถึง 21 ปี หลังจากนั้นอีก 40 ปีในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมปราสาทนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่เห็นในปรางค์ประธานนั้น มีการอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นไปประดิษฐานบนแท่นหินทรายแทนศิวลึงค์เมื่อ พ.ศ. 2059
• ปราสาทพนมบาแคง เป็นศาสนสถานแห่งแรกของเมืองพระนคร ทางขึ้นอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นเขาสูงชัน ปัจจุบันตัวปราสาททรุดโทรมลงมากแต่ยังมีความยิ่งใหญ่ เริ่มจากบันไดขึ้นสู่ปรางค์ประธานที่มีอยู่ 5 ชั้น แต่ละชั้นมีปรางค์เล็ก 12 ปราสาท รวม 5 ชั้น มี 60 ปราสาท ส่วนบนยอดมีปรางค์บริวารล้อมรอบปรางค์ประธานอีก 4 ปราสาท เสมือนเป็นการจำลองยอดเขาพระสุเมรุรวมทั้งหมดมี 89 ยอด
• ตัวปราสาท ตั้งอยู่บนยอดเขา จึงเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะเห็นยอดปราสาทนครวัดผุดขึ้นกลางป่า ในยามบ่าย แสงสาดส่องเข้าปรางค์ปราสาทนครวัดทำให้เห็นเป็นสีทอง นอกจากนั้นยังเห็นวิวได้ 360 องศา เป็นบารายทิศตะวันตกซึ่งกลางบารายนี้จะมีสระเล็กๆ เป็นที่ตั้งของปราสาทแม่บุญตะวันตก นอกจากนี้ยังเห็นตัวเมืองเสียมเรียบ เห็นยอดเขาพนมบกที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 14 กิโลเมตรและเทือกเขาพนมกุเลนทอดยาว
ปราสาทตาพรหม
ปราสาทตาพรหม
• ปีที่สร้าง : สร้างในปลายปีพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1729)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการขยายพื้นที่สร้างต่อเติมอีกในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
• ปราสาทตาพรหมจัดได้ว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาและเป็นวิหารหลวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทางเข้าประกอบด้วยโคปุระชั้นนอกและชั้นใน บริเวณผนังที่อยู่เชื่อมระหว่างโคปุระชั้นนอกและชั้นในมีการสลักภาพตามคติธรรมของพุทธศาสนานิกายมหายาน ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เพื่ออุทิศให้แก่พระราชมารดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือพระนางชัยราชจุฑามณีผู้เปรียบประดุจกับพระนางปรัชญาปรมิตา ซึ่งหมายถึงเมื่อพระองค์เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระราชมารดาของพระองค์จึงเปรียบดังพระนางปรมิตาเช่นกัน
• ปราสาทตาพรหมถูกสร้างเคียงคู่กับปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระองค์ทรงถวายอุทิศให้กับพระราชบิดา ปราสาทตาพรหมนี้สร้างหลังปราสาทพระขรรค์เพียง 5 ปี ที่น่าประหลาดใจคือพิธีในปราสาทยุคนั้น ซึ่งจารึกกล่าวถึงบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทแห่งนี้คือ จำนวนคนและบรรดาทรัพย์สินจากหมู่บ้านจำนวนถึง 3,140 หมู่บ้าน ใช้คนทำงานถึง 79,365 คน และจำนวนนี้มีพระชั้นผู้ใหญ่ 18 รูป เจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,740 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,202 คน และนางฟ้อนรำอีก 615 คน สำหรับทรัพย์สมบัติของวัดก็มีจานทองตำ 1 ชุดหนักกว่า 500 กิโลกรัม และชุดเงินเพชร 35 เม็ด ไข่มุก 40,620 เม็ด หินมีค่าและพลอยต่างๆ 4,540 เม็ด อ่างทองคำขนาดใหญ่ ผ้าบางสำหรับคลุมหน้าจากประเทศจีน 876 ผืน เตียงคลุมด้วยผ้าไหม 512 เตียง ร่ม 523 คัน ยังมีเนย นม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ไม้จันทน์ การบูร เสื้อผ้า 2,387 ชุดเพื่อแต่ง รูปปั้นต่างๆ กล่าวกันว่าความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อนี้เองเป็นเหตุให้เกิดความล่มสลายของอาณาจักรขอมในเวลาต่อมา
• ปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทที่ถูกปล่อยให้อยู่กับธรรมชาติ หลังจากการค้นพบปราสาทต่างๆ โดยชาวฝรั่งเศส แต่เดิมปราสาทนครวัดเองก็อยู่ในลักษณะเช่นนี้ก่อนที่จะมีการบูรณะในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ในขณะที่ปราสาทตาพรหม ถูกเก็บรักษาไว้เพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงว่าปราสาทอยู่กับธรรมชาติมาได้เกือบ 500 ปี อันเป็นอีกมุมมองหนึ่ง เพื่อให้เห็นลักษณะของต้นไม้ที่เกาะกุมปราสาท
• เดิมก่อนสร้างปราสาทนั้นสภาพบริเวณนี้เป็นป่ามาก่อน เมื่อจะสร้างปราสาทจึงต้องเคลียร์พื้นที่ให้เป็นที่โล่ง โดยการตัดไม้ออกแต่ในที่สุดแล้วธรรมชาติก็สามารถที่จะเอาชนะถาวรวัตถุที่ถูกสร้างจากมนุษย์ ต้นไม้ที่เกาะกุม ชอนไชไปเรื่อยๆ ไปยังส่วนต่างๆของปราสาท ช่วยให้บรรยากาศของปราสาทตาพรหมดูลึกลับ สวย ไม่เหมือนปราสาทที่อื่นๆ
• ที่ปราสาทตาพรหมมีต้นไม้อยู่ 2 ชนิด ต้นที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า ต้นสะปง หรือภาษาไทยเรียกว่า ต้นสำโรง เป็นต้นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน รกของมันจะดุดน้ำใต้ดินเข้าลำต้นทำให้นกดูป่อง พอง ส่วนพันธุ์ไม้อีกพันธุ์หนึ่งเป็นไม้เลื้อยขึ้นอยู่ตามหน้าบัน ทับหลังหรือตัวปราสาท หลังคา ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก บ้างก็แห้งตายคาอยู่ บ้างก็ยังเขียวสดอยู่ เกิดจากการที่นกมาขับถ่ายมูลที่มีเมล็ดของพันธุ์นี้ทิ้งไว้ บริเวณใดของปราสาทที่มีน้ำขังอยู่มีตะไคร่น้ำที่ให้ความชุ่มชื้น ก็สามารถทำให้เมล็ดพันธุ์เติบโตเป็นต้นได้ ทั้งไม้เล็กและไม้ใหญ่ต่างเติบโตตามสภาวะที่เอื้ออำนวยรากของไม้ใหญ่ที่แทรกชอนไชไปบนแผ่นศิลา เพื่อจะหาที่ลงดินเกิดเป็นรูปทรงคล้ายหนวดปลาหมึกเกาะกุมองค์ปราสาททำให้ช่วยประคองยึดตัวปราสาทไม่ให้พังลงมาได้
• จากโคปุระทางทิศตะวันออกมุ่งสู่ปรางค์ประธาน ผนังด้านซ้ายมือจะเป็นภาพสลักของคติธรรมทางพุทธศาสนาตอนพระแม่ธรณีบีบมวยผม ซึ่งเป็นตอนที่มารมาผจญเจ้าชายสิทธัตถะก่อนที่จะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ลักษระภาพจะเห็นบรรดาเหล่าพญามารต่างตื่นตกใจหนีกระแสน้ำที่เกิดจากการบีบมวยผมของพระแม่ธรณีจนพ่ายแพ้ไปในที่สุด
หลังจากโคปุระทางด้านทิศตะวันออกจะมีบรรณาลัยที่อยู่ทางซ้ายมือ หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับด้วยพวงมาลัย ทับหลังเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์
• หน้าบันและทับหลัง ตามปรางค์ปราสาทและโคปุระ มีภาพสลักล้วนแต่เกี่ยวกับพุทธประวัติ นิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่น่าเสียดายว่าภาพสลักบางภาพได้ถูกดัดแปลงให้เป็นภาพเกี่ยวกับศาสนาฮินดูไปในที่สุด ได้แก่พระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้าที่ถูกสกัดให้เป็นศิวลึงค์ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ที่ทรงเลื่อมใสในศาสนาฮินดู
• ทางเข้าสู่ปรางค์ประธานจะอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเช่นเดียวกับในหลายๆ ปราสาท ทว่าปัจจุบันมีถนนตัดผ่านทั้ง 2 ทิศ นักท่องเที่ยวนิยมเข้าทางทิศตะวันตก ถ้าเป็นไปได้ควรจะเข้าทางโคปุระทางทิศตะวันออก อันเป็นคตินิยมของผู้สร้างปราสาททุกแห่งของขอม
ถัดจากบรรณาลัยจะได้พบวิหารเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบพีธีของพวกพราหมณ์ ซึ่งวิหารนี้จะมีการจุดไฟบูชาตลอดทั้งวันทั้งคืน ภูมิสถาปัตย์เช่นเดียวกับปราสาทพระขรรค์ ปรางค์ทางด้านทิศเหนือได้พังทลายลงมาหมดแล้ว เห็นแต่เพียงซากของเสา หน้าบันและทับหลังทับกันระเกะระกะ
• ทางก่อนจะเข้าโคปุระชั้นที่ 3 จะพบต้นสะปงขนาดใหญ่ ขึ้นปกคลุมตรงส่วนกลางของปราสาทแห่งนี้ ลำต้นขึ้นอยู่บนหลังคา โดยมีรากโอบอุ้มตัวปราสาทอยู่ก่อนจะไชลงพื้นดิน เป็นมุมที่นิยมมาถ่ายมาก
• หน้าบันที่อยู่ถัดจากปรางค์ประธาน เป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษณ์ พระราม และนางสีดาถูกขับไล่ออกจากเมือง จะเห็นพระรามเสด็จออกโดยมีม้าเป็นพาหนะ มีไพร่ฟ้าประชาชนตามส่งเสด็จที่สะดุดตาและแปลกคือภาพสลักข้างเสากรอบประตูของโคปุระชั้นที่ 3 ด้านทิศตะวันตก มีภาพสลักคล้ายไดโนเสาร์อยู่ 1 ตัว เมื่อเดินมาสุดทางที่จะออกปราสาทตาพรหม ก็จะพบโคปุระซึ่งมีลักษณะคล้ายทางเข้าสู่กำแพงเมืองนครธมแห่งเมืองพระนครนั่น คือภาพใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทั้ง 4 ทิศ อยู่เหนือโคปุระนั้น
• ปีที่สร้าง : สร้างในปลายปีพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1729)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการขยายพื้นที่สร้างต่อเติมอีกในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
• ปราสาทตาพรหมจัดได้ว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาและเป็นวิหารหลวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทางเข้าประกอบด้วยโคปุระชั้นนอกและชั้นใน บริเวณผนังที่อยู่เชื่อมระหว่างโคปุระชั้นนอกและชั้นในมีการสลักภาพตามคติธรรมของพุทธศาสนานิกายมหายาน ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1729 เพื่ออุทิศให้แก่พระราชมารดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือพระนางชัยราชจุฑามณีผู้เปรียบประดุจกับพระนางปรัชญาปรมิตา ซึ่งหมายถึงเมื่อพระองค์เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระราชมารดาของพระองค์จึงเปรียบดังพระนางปรมิตาเช่นกัน
• ปราสาทตาพรหมถูกสร้างเคียงคู่กับปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระองค์ทรงถวายอุทิศให้กับพระราชบิดา ปราสาทตาพรหมนี้สร้างหลังปราสาทพระขรรค์เพียง 5 ปี ที่น่าประหลาดใจคือพิธีในปราสาทยุคนั้น ซึ่งจารึกกล่าวถึงบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทแห่งนี้คือ จำนวนคนและบรรดาทรัพย์สินจากหมู่บ้านจำนวนถึง 3,140 หมู่บ้าน ใช้คนทำงานถึง 79,365 คน และจำนวนนี้มีพระชั้นผู้ใหญ่ 18 รูป เจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,740 คน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประกอบพิธี 2,202 คน และนางฟ้อนรำอีก 615 คน สำหรับทรัพย์สมบัติของวัดก็มีจานทองตำ 1 ชุดหนักกว่า 500 กิโลกรัม และชุดเงินเพชร 35 เม็ด ไข่มุก 40,620 เม็ด หินมีค่าและพลอยต่างๆ 4,540 เม็ด อ่างทองคำขนาดใหญ่ ผ้าบางสำหรับคลุมหน้าจากประเทศจีน 876 ผืน เตียงคลุมด้วยผ้าไหม 512 เตียง ร่ม 523 คัน ยังมีเนย นม น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ไม้จันทน์ การบูร เสื้อผ้า 2,387 ชุดเพื่อแต่ง รูปปั้นต่างๆ กล่าวกันว่าความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อนี้เองเป็นเหตุให้เกิดความล่มสลายของอาณาจักรขอมในเวลาต่อมา
• ปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทที่ถูกปล่อยให้อยู่กับธรรมชาติ หลังจากการค้นพบปราสาทต่างๆ โดยชาวฝรั่งเศส แต่เดิมปราสาทนครวัดเองก็อยู่ในลักษณะเช่นนี้ก่อนที่จะมีการบูรณะในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ในขณะที่ปราสาทตาพรหม ถูกเก็บรักษาไว้เพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงว่าปราสาทอยู่กับธรรมชาติมาได้เกือบ 500 ปี อันเป็นอีกมุมมองหนึ่ง เพื่อให้เห็นลักษณะของต้นไม้ที่เกาะกุมปราสาท
• เดิมก่อนสร้างปราสาทนั้นสภาพบริเวณนี้เป็นป่ามาก่อน เมื่อจะสร้างปราสาทจึงต้องเคลียร์พื้นที่ให้เป็นที่โล่ง โดยการตัดไม้ออกแต่ในที่สุดแล้วธรรมชาติก็สามารถที่จะเอาชนะถาวรวัตถุที่ถูกสร้างจากมนุษย์ ต้นไม้ที่เกาะกุม ชอนไชไปเรื่อยๆ ไปยังส่วนต่างๆของปราสาท ช่วยให้บรรยากาศของปราสาทตาพรหมดูลึกลับ สวย ไม่เหมือนปราสาทที่อื่นๆ
• ที่ปราสาทตาพรหมมีต้นไม้อยู่ 2 ชนิด ต้นที่ใหญ่ที่สุดเรียกว่า ต้นสะปง หรือภาษาไทยเรียกว่า ต้นสำโรง เป็นต้นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน รกของมันจะดุดน้ำใต้ดินเข้าลำต้นทำให้นกดูป่อง พอง ส่วนพันธุ์ไม้อีกพันธุ์หนึ่งเป็นไม้เลื้อยขึ้นอยู่ตามหน้าบัน ทับหลังหรือตัวปราสาท หลังคา ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก บ้างก็แห้งตายคาอยู่ บ้างก็ยังเขียวสดอยู่ เกิดจากการที่นกมาขับถ่ายมูลที่มีเมล็ดของพันธุ์นี้ทิ้งไว้ บริเวณใดของปราสาทที่มีน้ำขังอยู่มีตะไคร่น้ำที่ให้ความชุ่มชื้น ก็สามารถทำให้เมล็ดพันธุ์เติบโตเป็นต้นได้ ทั้งไม้เล็กและไม้ใหญ่ต่างเติบโตตามสภาวะที่เอื้ออำนวยรากของไม้ใหญ่ที่แทรกชอนไชไปบนแผ่นศิลา เพื่อจะหาที่ลงดินเกิดเป็นรูปทรงคล้ายหนวดปลาหมึกเกาะกุมองค์ปราสาททำให้ช่วยประคองยึดตัวปราสาทไม่ให้พังลงมาได้
• จากโคปุระทางทิศตะวันออกมุ่งสู่ปรางค์ประธาน ผนังด้านซ้ายมือจะเป็นภาพสลักของคติธรรมทางพุทธศาสนาตอนพระแม่ธรณีบีบมวยผม ซึ่งเป็นตอนที่มารมาผจญเจ้าชายสิทธัตถะก่อนที่จะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ลักษระภาพจะเห็นบรรดาเหล่าพญามารต่างตื่นตกใจหนีกระแสน้ำที่เกิดจากการบีบมวยผมของพระแม่ธรณีจนพ่ายแพ้ไปในที่สุด
หลังจากโคปุระทางด้านทิศตะวันออกจะมีบรรณาลัยที่อยู่ทางซ้ายมือ หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับด้วยพวงมาลัย ทับหลังเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์
• หน้าบันและทับหลัง ตามปรางค์ปราสาทและโคปุระ มีภาพสลักล้วนแต่เกี่ยวกับพุทธประวัติ นิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่น่าเสียดายว่าภาพสลักบางภาพได้ถูกดัดแปลงให้เป็นภาพเกี่ยวกับศาสนาฮินดูไปในที่สุด ได้แก่พระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้าที่ถูกสกัดให้เป็นศิวลึงค์ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ที่ทรงเลื่อมใสในศาสนาฮินดู
• ทางเข้าสู่ปรางค์ประธานจะอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเช่นเดียวกับในหลายๆ ปราสาท ทว่าปัจจุบันมีถนนตัดผ่านทั้ง 2 ทิศ นักท่องเที่ยวนิยมเข้าทางทิศตะวันตก ถ้าเป็นไปได้ควรจะเข้าทางโคปุระทางทิศตะวันออก อันเป็นคตินิยมของผู้สร้างปราสาททุกแห่งของขอม
ถัดจากบรรณาลัยจะได้พบวิหารเล็กๆ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบพีธีของพวกพราหมณ์ ซึ่งวิหารนี้จะมีการจุดไฟบูชาตลอดทั้งวันทั้งคืน ภูมิสถาปัตย์เช่นเดียวกับปราสาทพระขรรค์ ปรางค์ทางด้านทิศเหนือได้พังทลายลงมาหมดแล้ว เห็นแต่เพียงซากของเสา หน้าบันและทับหลังทับกันระเกะระกะ
• ทางก่อนจะเข้าโคปุระชั้นที่ 3 จะพบต้นสะปงขนาดใหญ่ ขึ้นปกคลุมตรงส่วนกลางของปราสาทแห่งนี้ ลำต้นขึ้นอยู่บนหลังคา โดยมีรากโอบอุ้มตัวปราสาทอยู่ก่อนจะไชลงพื้นดิน เป็นมุมที่นิยมมาถ่ายมาก
• หน้าบันที่อยู่ถัดจากปรางค์ประธาน เป็นภาพเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระลักษณ์ พระราม และนางสีดาถูกขับไล่ออกจากเมือง จะเห็นพระรามเสด็จออกโดยมีม้าเป็นพาหนะ มีไพร่ฟ้าประชาชนตามส่งเสด็จที่สะดุดตาและแปลกคือภาพสลักข้างเสากรอบประตูของโคปุระชั้นที่ 3 ด้านทิศตะวันตก มีภาพสลักคล้ายไดโนเสาร์อยู่ 1 ตัว เมื่อเดินมาสุดทางที่จะออกปราสาทตาพรหม ก็จะพบโคปุระซึ่งมีลักษณะคล้ายทางเข้าสู่กำแพงเมืองนครธมแห่งเมืองพระนครนั่น คือภาพใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทั้ง 4 ทิศ อยู่เหนือโคปุระนั้น
ปราสาทบันทายศรี
ปราสาทบันทายศรี
(ภาษาเขมร: ,ปราสาทบนฺทายศฺรี ภาษาอังกฤษ: Banteay Srei ) เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่ ๆ ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า บันเตียไสร หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมเรียบในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร
กลุ่มอาคารปราสาทบันทายศรี
รูปสลักหินทรายสีชมพูรูปพญานาค ที่มีความคมชัดกว่ารูปสลักที่อื่นๆปราสาทแห่งนี้สร้างอุทิศถวายพระอิศวรภายใต้พระนามว่า ตรีภูวนมเหศวร หรือ ผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสาม ปราสาทมีขนาดเล็ก สร้างด้วยหินทรายสีชมพูซึ่งหายาก สร้างขึ้นเมื่อ เดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 1510 โดยพราหมณ์ชื่อ ยัชญวราหะ ในตอนปลายของสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (หรือพระเจ้า ชัยวรมันที่ 4 พ.ศ. 1487 - 1511) และเสร็จในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1554)
ซุ้มประตูทางเข้า จำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณลวดลายมีความละเอียดสวยงามมาก
ซุ้มทางซ้ายมือ จำหลักภาพพระอิศวรทรงโค มีพระอุมาเทวีประทับด้านซ้าย
ซุ้มทางขวามือ มีรูปพระนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์
ผ่านประตูเข้าไปจะเห็นปราสาทองค์แรก สร้างอยู่เหนือฐานเดียวกันซึ่งสูง 90 เซนติเมตร ขนาบด้วยบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาตำราหรือวัตถุที่ใช้ในพิธีเคารพบูชา มีประตูเข้าทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซุ้มประตูหรือโคปุระนี้ ประดิษฐานปฏิมากรรมด้วยลวดลายที่งามวิจิตรอ่อนช้อย ลวดลายประดับที่ปราสาทบันทายศรี สลักเสลาอย่างวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นเทพธิดาหรือนางอัปสรา ก็เต็มไปด้วยความสง่างามและมีชีวิตจิตใจ
ในกรอบซุ้มปราสาทองค์แรก มีรูปพระศิวะกำลังร่ายรำ หรือที่เรียกว่า ศิวนาฏราช ท่ารำของพระองค์มีถึง 108 ท่า แต่ละท่ามีผลต่อฟ้าดิน หน้าบันของห้องสมุดทางด้านทิศใต้ สลักภาพพระอิศวรกำลังประทับนั่งอยู่เหนือเขาไกรลาศ
ที่หน้าบันห้องสมุดทางด้านทิศเหนือ แสดงภาพพระอินทร์กำลังบันดาลให้ฝนตกลงมา บนอาคารเดียวกันนี้ เหนือหน้าบันทางทิศตะวันตกแสดงภาพพระกฤษณะกำลังประหารพระยากงศ์ในพระราชวัง ภาพสลัก ณ ปราสาทบันทายศรี นอกจากความงดงามในฝีมือการสลักแล้ว ยังมีคุณค่าเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้ง อันเห็นได้จากความรู้สึกที่แสดงออกมาจากภาพเหล่านั้น ซึ่งเป็นพยานหลักฐานชิ้นแรก ที่ทำให้เราทราบเกี่ยวกับชีวิตของชาวขอมในต้นพุทธศตวรรษที่ 16
ความละเอียดของงานแกะสลักนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ อองเดร มาลโรซ์ เจ้าของผลงาน เสน่ห์ตะวันออก เดินทางมาชมปราสาทนี้เมื่อ พ.ศ. 2466 ได้ใช้เลื่อยและลิ่มสกัดเอาซอกมุมรูปนางอัปสราออกไป 6 ชิ้น มาลโรซ์กับเพื่อนถูกจับบนเรือกลไฟที่พนมเปญ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้นเอง
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 ศาลที่พนมเปญตัดสินให้จำคุกมาลโรซ์เป็นเวลา 3 ปีและเพื่อนได้รับโทษจำคุก 8 เดือนแต่รอลงอาญาทั้งคู่ สิ่งของที่ขโมยออกไปนั้นถูกนำกลับมาไว้ที่เดิมในปี พ.ศ. 2467
หลังจากกลับไปยังปารีส เขาได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ อินโดจีน เผยแพร่เรื่องราวของปราสาทในกัมพูชา ด้วยผลงานที่เป็นนักศิลปะจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2502
ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวที่ไปกัมพูชา ต้องไม่พลาดโอกาสที่จะเข้าชมปราสาทบันทายศรี เพราะปราสาทบันทายศรี มีมนต์เสน่ห์ที่จะดึงดูดให้ท่านอยากจะเข้าไปชม ท่านต้องใช้เวลานานในการถ่ายภาพในแง่มุมต่าง และท่านจะต้องกลับมาเพื่อชมปราสาทนี้อีกหลายๆ ครั้งในโอกาสต่อไป
(ภาษาเขมร: ,ปราสาทบนฺทายศฺรี ภาษาอังกฤษ: Banteay Srei ) เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่ ๆ ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า บันเตียไสร หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมเรียบในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร
กลุ่มอาคารปราสาทบันทายศรี
รูปสลักหินทรายสีชมพูรูปพญานาค ที่มีความคมชัดกว่ารูปสลักที่อื่นๆปราสาทแห่งนี้สร้างอุทิศถวายพระอิศวรภายใต้พระนามว่า ตรีภูวนมเหศวร หรือ ผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสาม ปราสาทมีขนาดเล็ก สร้างด้วยหินทรายสีชมพูซึ่งหายาก สร้างขึ้นเมื่อ เดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 1510 โดยพราหมณ์ชื่อ ยัชญวราหะ ในตอนปลายของสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 (หรือพระเจ้า ชัยวรมันที่ 4 พ.ศ. 1487 - 1511) และเสร็จในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1554)
ซุ้มประตูทางเข้า จำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณลวดลายมีความละเอียดสวยงามมาก
ซุ้มทางซ้ายมือ จำหลักภาพพระอิศวรทรงโค มีพระอุมาเทวีประทับด้านซ้าย
ซุ้มทางขวามือ มีรูปพระนารายณ์อวตารเป็นนรสิงห์
ผ่านประตูเข้าไปจะเห็นปราสาทองค์แรก สร้างอยู่เหนือฐานเดียวกันซึ่งสูง 90 เซนติเมตร ขนาบด้วยบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาตำราหรือวัตถุที่ใช้ในพิธีเคารพบูชา มีประตูเข้าทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซุ้มประตูหรือโคปุระนี้ ประดิษฐานปฏิมากรรมด้วยลวดลายที่งามวิจิตรอ่อนช้อย ลวดลายประดับที่ปราสาทบันทายศรี สลักเสลาอย่างวิจิตรบรรจง ไม่ว่าจะเป็นเทพธิดาหรือนางอัปสรา ก็เต็มไปด้วยความสง่างามและมีชีวิตจิตใจ
ในกรอบซุ้มปราสาทองค์แรก มีรูปพระศิวะกำลังร่ายรำ หรือที่เรียกว่า ศิวนาฏราช ท่ารำของพระองค์มีถึง 108 ท่า แต่ละท่ามีผลต่อฟ้าดิน หน้าบันของห้องสมุดทางด้านทิศใต้ สลักภาพพระอิศวรกำลังประทับนั่งอยู่เหนือเขาไกรลาศ
ที่หน้าบันห้องสมุดทางด้านทิศเหนือ แสดงภาพพระอินทร์กำลังบันดาลให้ฝนตกลงมา บนอาคารเดียวกันนี้ เหนือหน้าบันทางทิศตะวันตกแสดงภาพพระกฤษณะกำลังประหารพระยากงศ์ในพระราชวัง ภาพสลัก ณ ปราสาทบันทายศรี นอกจากความงดงามในฝีมือการสลักแล้ว ยังมีคุณค่าเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้ง อันเห็นได้จากความรู้สึกที่แสดงออกมาจากภาพเหล่านั้น ซึ่งเป็นพยานหลักฐานชิ้นแรก ที่ทำให้เราทราบเกี่ยวกับชีวิตของชาวขอมในต้นพุทธศตวรรษที่ 16
ความละเอียดของงานแกะสลักนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ อองเดร มาลโรซ์ เจ้าของผลงาน เสน่ห์ตะวันออก เดินทางมาชมปราสาทนี้เมื่อ พ.ศ. 2466 ได้ใช้เลื่อยและลิ่มสกัดเอาซอกมุมรูปนางอัปสราออกไป 6 ชิ้น มาลโรซ์กับเพื่อนถูกจับบนเรือกลไฟที่พนมเปญ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ปีเดียวกันนั้นเอง
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 ศาลที่พนมเปญตัดสินให้จำคุกมาลโรซ์เป็นเวลา 3 ปีและเพื่อนได้รับโทษจำคุก 8 เดือนแต่รอลงอาญาทั้งคู่ สิ่งของที่ขโมยออกไปนั้นถูกนำกลับมาไว้ที่เดิมในปี พ.ศ. 2467
หลังจากกลับไปยังปารีส เขาได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ อินโดจีน เผยแพร่เรื่องราวของปราสาทในกัมพูชา ด้วยผลงานที่เป็นนักศิลปะจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2502
ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวที่ไปกัมพูชา ต้องไม่พลาดโอกาสที่จะเข้าชมปราสาทบันทายศรี เพราะปราสาทบันทายศรี มีมนต์เสน่ห์ที่จะดึงดูดให้ท่านอยากจะเข้าไปชม ท่านต้องใช้เวลานานในการถ่ายภาพในแง่มุมต่าง และท่านจะต้องกลับมาเพื่อชมปราสาทนี้อีกหลายๆ ครั้งในโอกาสต่อไป
เคร็ดลับการรักษาอาการหน้าแตก
เคร็ดลับการรักษาอาการหน้าแตก
สามารถอัปโหลดข้อมูลได้ที่นี้นะคับ
http://th.upload.sanook.com/A0/58c5579439ff3781c7537a2f6c7c1173
สามารถอัปโหลดข้อมูลได้ที่นี้นะคับ
http://th.upload.sanook.com/A0/58c5579439ff3781c7537a2f6c7c1173
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เรือนกาแล
เรือนกาแล
เรือนกาแลเป็นเรือนสำหรับผู้มีฐานะทางสังคม หรือผู้นำชุมชน หรือชนชั้นสูงในสังคม เอกลักษณ์สำคัญคือมีกาแลไม้แกะสลักอย่างสวยงามประดับบนยอดจั่ว และเป็นเหตุให้เรียกเรือนประเภทนี้ว่า เรือนกาแล
เรือนกาแลปลูกสร้างด้วยไม้จริง มีความประณีตเรียบร้อยมากกว่าเรือนของสามัญชนทั่วไป มีแบบแผนการสร้างที่ชัดเจน และระเบียบมากกว่าเรือนทั่วไป เรือนกาแลเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน และที่เหลือเก็บไว้ก็เพราะเหตุผลด้านอนุรักษ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรือนกาแลที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยกันจริงแทบจะหาไม่ได้แล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยมการปลูกสร้างบ้านเรือน โดยเฉพาะในชนชั้นสูงในสังคมที่เคยเป็นกลุ่มที่ปลูกเรือนกาแลอยู่อาศัย ได้เปลี่ยนไปสร้างบ้านเรือนตามแบบกรุงเทพฯหรือตะวันตกเป็นส่วนมาก สามัญชนที่พอมีฐานะ มีศักยภาพที่จะปลูกสร้างบ้านเรือนมีราคาได้ก็สร้างเรือนไม้ ทั้งเรือนบ่าเก่าและเรือนสมัยกลางกันมากกว่า โดยดัดแปลงไปจากเรือนกาแลในระยะแรก ก่อนจะเปลี่ยนแปลงไปจากเรือนกาแลอย่างสิ้นเชิงในระยะต่อมา
ลักษณะของเรือนกาแล
- ลักษณะเป็นเรือนแฝดหรือเรียกว่าสองหลังร่วมพื้นขนาด 5 ห้องเสา
- เรือนแฝดและเรือนครัวเชื่อมกันแบบหลวมๆ และการประกอบเข้าด้วยกันของรูปทรงเป็นแบบ dynamic balance
- เรือนแฝดกาแลไม่นิยมทำให้มีขนาดเท่ากัน แต่ใหญ่กว่ากันเล็กน้อย โดยเรือนนอนพ่อแม่จะมีช่วงเสาด้านสกัด (Bay) กว้างกว่าเรือนอีกหลัง
กาแล ลักษณะเป็นไม้แกะสลัก 2 อันไขว้ประดับยอดจั่ว ความหมายไม่สามารถระบุได้ชัดเจน มีความเชื่อหลายอย่างเช่น ป้องกันแร้งและกามาเกาะบนหลังคา พม่าบังคับให้ติดเพื่อให้แตกต่างจากบ้านพม่า ข้อเท็จจริงคือมีเรือนของชาติพันธ์ต่างๆใช้สัญญลักษณ์แบบเดียวกัน เช่น ไทลื้อ ไทดำ ลัวะ ลาว เขมร อินโด มาเลย์ ฯลฯ ซึ่งล้วนบูชาควายประกอบพิธีทั้งสิ้น และบางแห่งใช้เขาควายประดับบนสันหลังคาด้วย
ประกอบกับการทำฝาเรือนด้านข้างผายออก และเรียกแผ่นไม้แกะสลักเหนือประตูห้องนอนว่า หำยนต์ จึงมีผู้สันนิษฐานว่า ชาวล้านนาต้องการออกแบบเรือนให้มีลักษณะของควาย ใช้กาแลแทนเขา ฝาผายออกคล้ายลำตัวควาย และเรียกหำยนต์ซึ่งอยู่ตำแหน่งใกล้เคียงกับหำของควาย
ยกใต้ถุนสูง ใช้งานเอนกประสงค์พื้นที่ใต้ถุนเรือน
มีฮ่อมรินแล่นกลาง มีระดับพื้นต่ำกว่าระดับพื้นเรือนนอน มักทำเป็นช่องโล่งหัวท้ายไม่กั้นฝา
ฮ่อมริน คือ ระเบียงทางเดินที่อยู่ระหว่างเรือนแฝดสองหลัง ซึ่งมีรางน้ำวิ่งอยู่ตรงกลาง (ฮ่อม=ช่องหรือร่อง, ริน=รางน้ำ)
เติ๋น พื้นที่กึ่งเปิดโล่ง ยกพื้น เอนกประสงค์ เปรียบเหมือน Living room หรือ Living Area ใช้งานสารพัด ตั้งแต่ ทำงานต่างๆ นั่งพักผ่อน ต้อนรับแขก ตลอดจนกางมุ้งนอนบริเวณนี้
ฝาเรือนบริเวณเติ๋นนี้ บางครั้งจะทำฝาไหล เปิดรับลมเมื่อนั่งอยู่ที่เติ๋นได้
ระเบียง(พื้นที่เปิดโล่งมีหลังคาคลุม)และชาน(พื้นที่เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม)เป็นพื้นที่เชื่อมหน่วยต่างๆเข้าด้วยกัน
และมีร้านน้ำสร้างลอยตัวลักษณะคล้ายเรือนหลังเล็กอยู่บริเวณชานหน้าใกล้บันได หรือชานหลังใกล้ครัว
ประตูเรือนนอนที่ติดกับเติ๋นนิยมติดหำยนต์ ป้องกันความชั่วร้ายหรืออัปมงคลเข้าไปในเรือนนอน และใช้เป็นเหมือนสัญญลักษณ์แสดงเขตหวงห้าม หรือที่ส่วนบุคคลให้บุคคลอื่นรู้และไม่ล่วงเข้าไป หำยนต์เป็นของเฉพาะบุคคลที่มีขนาดเป็นจำนวนเท่าของความยาวปลายเท้าถึงส้นเท้าของเจ้าของเรือน กี่เท่าก็แล้วแต่จะได้ความยาวประมาณช่องประตู ต้องเป็นไม้แผ่นเดียวแกะสลักลวดลายสวยงาม หากมีการขายเรือน เจ้าของจะแกะหำยนต์ไว้ไม่ขายไปพร้อมกับเรือน
เรือนกาแลเป็นเรือนสำหรับผู้มีฐานะทางสังคม หรือผู้นำชุมชน หรือชนชั้นสูงในสังคม เอกลักษณ์สำคัญคือมีกาแลไม้แกะสลักอย่างสวยงามประดับบนยอดจั่ว และเป็นเหตุให้เรียกเรือนประเภทนี้ว่า เรือนกาแล
เรือนกาแลปลูกสร้างด้วยไม้จริง มีความประณีตเรียบร้อยมากกว่าเรือนของสามัญชนทั่วไป มีแบบแผนการสร้างที่ชัดเจน และระเบียบมากกว่าเรือนทั่วไป เรือนกาแลเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน และที่เหลือเก็บไว้ก็เพราะเหตุผลด้านอนุรักษ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรือนกาแลที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยกันจริงแทบจะหาไม่ได้แล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยมการปลูกสร้างบ้านเรือน โดยเฉพาะในชนชั้นสูงในสังคมที่เคยเป็นกลุ่มที่ปลูกเรือนกาแลอยู่อาศัย ได้เปลี่ยนไปสร้างบ้านเรือนตามแบบกรุงเทพฯหรือตะวันตกเป็นส่วนมาก สามัญชนที่พอมีฐานะ มีศักยภาพที่จะปลูกสร้างบ้านเรือนมีราคาได้ก็สร้างเรือนไม้ ทั้งเรือนบ่าเก่าและเรือนสมัยกลางกันมากกว่า โดยดัดแปลงไปจากเรือนกาแลในระยะแรก ก่อนจะเปลี่ยนแปลงไปจากเรือนกาแลอย่างสิ้นเชิงในระยะต่อมา
ลักษณะของเรือนกาแล
- ลักษณะเป็นเรือนแฝดหรือเรียกว่าสองหลังร่วมพื้นขนาด 5 ห้องเสา
- เรือนแฝดและเรือนครัวเชื่อมกันแบบหลวมๆ และการประกอบเข้าด้วยกันของรูปทรงเป็นแบบ dynamic balance
- เรือนแฝดกาแลไม่นิยมทำให้มีขนาดเท่ากัน แต่ใหญ่กว่ากันเล็กน้อย โดยเรือนนอนพ่อแม่จะมีช่วงเสาด้านสกัด (Bay) กว้างกว่าเรือนอีกหลัง
กาแล ลักษณะเป็นไม้แกะสลัก 2 อันไขว้ประดับยอดจั่ว ความหมายไม่สามารถระบุได้ชัดเจน มีความเชื่อหลายอย่างเช่น ป้องกันแร้งและกามาเกาะบนหลังคา พม่าบังคับให้ติดเพื่อให้แตกต่างจากบ้านพม่า ข้อเท็จจริงคือมีเรือนของชาติพันธ์ต่างๆใช้สัญญลักษณ์แบบเดียวกัน เช่น ไทลื้อ ไทดำ ลัวะ ลาว เขมร อินโด มาเลย์ ฯลฯ ซึ่งล้วนบูชาควายประกอบพิธีทั้งสิ้น และบางแห่งใช้เขาควายประดับบนสันหลังคาด้วย
ประกอบกับการทำฝาเรือนด้านข้างผายออก และเรียกแผ่นไม้แกะสลักเหนือประตูห้องนอนว่า หำยนต์ จึงมีผู้สันนิษฐานว่า ชาวล้านนาต้องการออกแบบเรือนให้มีลักษณะของควาย ใช้กาแลแทนเขา ฝาผายออกคล้ายลำตัวควาย และเรียกหำยนต์ซึ่งอยู่ตำแหน่งใกล้เคียงกับหำของควาย
ยกใต้ถุนสูง ใช้งานเอนกประสงค์พื้นที่ใต้ถุนเรือน
มีฮ่อมรินแล่นกลาง มีระดับพื้นต่ำกว่าระดับพื้นเรือนนอน มักทำเป็นช่องโล่งหัวท้ายไม่กั้นฝา
ฮ่อมริน คือ ระเบียงทางเดินที่อยู่ระหว่างเรือนแฝดสองหลัง ซึ่งมีรางน้ำวิ่งอยู่ตรงกลาง (ฮ่อม=ช่องหรือร่อง, ริน=รางน้ำ)
เติ๋น พื้นที่กึ่งเปิดโล่ง ยกพื้น เอนกประสงค์ เปรียบเหมือน Living room หรือ Living Area ใช้งานสารพัด ตั้งแต่ ทำงานต่างๆ นั่งพักผ่อน ต้อนรับแขก ตลอดจนกางมุ้งนอนบริเวณนี้
ฝาเรือนบริเวณเติ๋นนี้ บางครั้งจะทำฝาไหล เปิดรับลมเมื่อนั่งอยู่ที่เติ๋นได้
ระเบียง(พื้นที่เปิดโล่งมีหลังคาคลุม)และชาน(พื้นที่เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม)เป็นพื้นที่เชื่อมหน่วยต่างๆเข้าด้วยกัน
และมีร้านน้ำสร้างลอยตัวลักษณะคล้ายเรือนหลังเล็กอยู่บริเวณชานหน้าใกล้บันได หรือชานหลังใกล้ครัว
ประตูเรือนนอนที่ติดกับเติ๋นนิยมติดหำยนต์ ป้องกันความชั่วร้ายหรืออัปมงคลเข้าไปในเรือนนอน และใช้เป็นเหมือนสัญญลักษณ์แสดงเขตหวงห้าม หรือที่ส่วนบุคคลให้บุคคลอื่นรู้และไม่ล่วงเข้าไป หำยนต์เป็นของเฉพาะบุคคลที่มีขนาดเป็นจำนวนเท่าของความยาวปลายเท้าถึงส้นเท้าของเจ้าของเรือน กี่เท่าก็แล้วแต่จะได้ความยาวประมาณช่องประตู ต้องเป็นไม้แผ่นเดียวแกะสลักลวดลายสวยงาม หากมีการขายเรือน เจ้าของจะแกะหำยนต์ไว้ไม่ขายไปพร้อมกับเรือน
เรือนพื้นถิ่นในภาคเหนือ
เรือนพื้นถิ่นในภาคเหนือ
ปัจจุบันเรานับเอาดินแดนตอนบนของไทย ได้แก่ เขต 8 จังหวัดในภาคเหนือ คือจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ เป็นภูมิภาคล้านนา เพราะเป็นดินแดนของอาณาจักรล้านนาในอดีต และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันเป็นแบบล้านนา มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
การตั้งถิ่นฐาน- สภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือที่เป็นที่ราบลุ่มภูเขาและหุบเขาทำให้มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐาน 2 แบบ คือ
1. - ตั้งบนที่สูง ตามทิวเขา หุบเขา ได้แก่กลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ(ชาวเขา) ปลูกข้าวไร่หรือทำไร่เลื่อนลอย
2. - ตั้งตามที่ราบลุ่ม ทำนาแบบทดน้ำระบบเหมืองฝาย น้ำท่วมขังต้นข้าวซึ่งมีความแน่นอนและได้ผลผลิตสูงกว่า พอเลี้ยงผู้คนได้เป็นจำนวนมาก
- ล้านนามีสภาพการตั้งถิ่นฐานและลักษณะหมู่บ้าน 3 ลักษณะ คือ
1. หมู่บ้านป่าหรือชนบท
เป็นหมู่บ้านที่ตั้งโดดเดี่ยวห่างไกล ติดต่อกับภายนอกน้อย จึงมีลักษณะที่เลี้ยงตัวเองมาก วัสดุก่อสร้างเรือนพักอาศัยเป็นวัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก การก่อสร้างก็เป็นการสร้างกันเองหรือลงแขก มากกว่าที่จะมีผู้มีอาชีพช่างสร้างให้
2. หมู่บ้านนอกเขตเมือง
มักเกิดตามแนวเส้นทางสัญจร มีตลาดและศูนย์กลางปกครองท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างเมืองกับชนบท หรือระหว่างชุมชนเอง หมู่บ้านเหล่านี้ได้รับความเจริญด้านการก่อสร้างจากเมือง มีวัสดุก่อสร้างใหม่ๆ มีการใช้ช่างก่อสร้างเช่น ช่างไม้ มากกว่าการสร้างกันเองหรือลงแขก อาคารมีความประณีตมากขึ้นและมีลักษณะเป็นอาคารถาวรมากขึ้น ใช้กระเบื้องมุงหลังคา เช่นกระเบื้องดินเผา กระเบื้องซิเมนต์
3. หมู่บ้านในเขตเมือง
หมู่บ้านเหล่านี้ อาจอยู่ภายในหรือชานเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางหลักของจังหวัดหรือภูมิภาค ที่แม้ความเจริญทำให้เสียลักษณะของหมู่บ้านไปแล้ว แต่รูปแบบหรือลักษณะทางกายภาพของตัวเรือนยังคงมีเอกลักษณ์หลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้ของชนชั้นกลาง
รูปแบบของหมู่บ้าน 2 ลักษณะ1. หมู่บ้านแบบกระจายตัวตามแนวยาว (Linear scatter)
2. หมู่บ้านแบบกระจายเป็นกระจุก (Clustered scatter)
การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายของชุมชนล้านนา
ด้วยภูมิประเทศที่ไม่ใช่ที่ราบเหมือนภาคกลาง แต่ประกอบไปด้วยภูเขา เนินและที่ราบสูงต่ำไม่เสมอกันของล้านนา การนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติคือแม่น้ำสายต่างๆไปสู่พื้นที่ต่างๆที่ห่างไกลออกไปเพื่อการบริโภคและเกษตรกรรมจึงต้องอาศัยการชลประทานที่ดีและได้ผล ชาวล้านนารู้จักการทำระบบชลประทานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายหรือก่อนหน้านั้นและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบเหมืองฝายของล้านนาดังนี้
- พงศาวดารโยนกตอนหนึ่งว่า “ข้าจักลอมน้ำอันหนึ่งฟากน้ำปิง กล้ำวันออกให้เป็นแม่น้ำ ให้ชาวบ้านชาวเมืองแป๋งฝายเอาน้ำเข้านา”
- ชุมชนทำระบบเหมืองฝายเอง ทางการหรือชนชั้นปกครองไม่ได้ทำให้ แต่จะกำหนดนโยบายหรือให้คำแนะนำหรือจัดการเหมืองฝายขนาดใหญ่ให้ และส่งน้ำให้ชาวบ้านจัดการระบบเหมืองฝายขนาดเล็กในแต่ละชุมชนเอง
- ชนชั้นปกครองขุดเหมืองทำฝายเป็นพิธีกรรมแสดงอำนาจ เช่น พญามังรายขุดร่องน้ำประกาศชัยชนะต่อลำพูน
- มังรายศาสตร์กำหนดให้เป็นการร่วมแรงกันสร้างและบำรุงรักษาเหมืองฝาย มีการกำหนดโทษในการขโมยน้ำและทำเหมืองฝายชำรุดไว้ว่า “มันผู้ใดทำลายฝาย ให้เอาไปตัดหัว”
- ชาวล้านนามักเลือกทำเหมืองฝายบริเวณที่มีห้วยไหลมาจากเขา หรือตอนบนสุดของที่ราบ โดยทำทำนบกั้นแล้วส่งน้ำไปตามลำเหมืองสู่ที่ราบข้างล่าง
- เหมืองขนาดใหญ่ทำขวางลำน้ำ ยกระดับน้ำขึ้น ไหลสู่ลำเหมืองส่งไปเลี้ยงทุ่งนาได้เป็นบริเวณกว้าง โดยทำลำเหมืองขนาดต่างๆลดหลั่นกันไป
- ฝาย ใช้ไม้เป็นหลัก ตอกกั้นลำน้าเป็นแนวหนา โคนเสาเป็นตะแกรงไม้ไผ่สาน บรรจุแขนงไม้ลงไป หินกรวดทรายเททับลงไปเป็นคันกั้นน้ำ
- เหมืองเก่าแก่ คือ เหมืองแข็ง สร้างสมัยพญามังราย อ้ายฟ้าเกณฑ์ชาวหริภุญชัย มาขุดเหมืองขนาดใหญ่เชื่อมน้ำกวงกับน้ำแม่ปิงผ่านบริเวณพันนาเชียงเรือ ต่อมาสมัยพญากือนาเปลี่ยนชื่อเป็น เหมืองแก้ว
- แก่ฝาย และแก่เหมือง คือหัวหน้าชาวบ้านที่คอยดูแลการแจกจ่ายน้ำ ยุติข้อพิพาทแย่งน้ำ และปัญหาอื่นๆในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการกำหนดวันเวลาในการเกณฑ์กำลังชาวบ้านมาสร้างหรือซ่อมแซม ขุดลอก เหมืองฝาย ซึ่งชาวบ้านจะเลือกผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านยอมรับนับถือ มีคุณธรรม ชาวบ้านเชื่อถือ
- ปัจจุบันยังมีหลายพื้นที่ที่ชาวบ้านร่วมกันวางกฎระเบียบการใช้น้ำขึ้นใช้เฉพาะถิ่น ต่างๆกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีธรรมเนียมการลงโทษผู้ฝ่าฝืน แต่ลดน้อยลงไปมาก ความเจริญ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ เกิดความขัดแย้ง แก่ฝาย แก่เหมืองก็ไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยหรือยุติข้อพิพาทได้ เพราะเป็นนายทุนจากนอกพื้นที่
เรือนไม้ล้านนา
เป็นเรือนของผู้มีฐานะดี ใช้ไม้จริงทั้งหลัง ใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีมากกว่า 1 ห้องนอน เป็นเรือนที่คลี่คลายแบบแผนการสร้างมาจากเรือนกาแล ใช้รูปแบบและความพิถีพิถันน้อยลง เพราะเป็นเรือนสำหรับสามัญชนที่กฎเกณฑ์ด้านฐานานุศักดิ์สถาปัตยกรรมลดลง จากเดิมที่สามัญชนจะสร้างได้แต่เรือนไม้บั่วเท่านั้น เรือนไม้จริงหรือเรือนกาแลนั้นสงวนไว้สำหรับผู้มีศักดิ์ทางสังคมสูง อาจเป็นผู้นำในสังคมหรือเจ้านาย หลังคาทรงสูงของเรือนกาแลถูกปรับลดลง ป้านลง ไม่มีการประดับตกแต่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ต้องการทำให้ทัดเทียม หรือเป็นเพราะฐานะราคาที่ถูกกว่าทรงสูง หรืออาจเป็นเพราะมีวัสดุมุงหลังคาชนิดใหม่ๆเกิดขึ้น เช่นกระเบื้องคอนกรีต สังกะสี ความจำเป็นที่ต้องทำหลังคาทรงสูงให้น้ำฝนไหลเร็วเพื่อแก้ปัญหาหลังคารั่วจากวัสดุมุงแบบเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่มีการประดับกาแล แต่แบบแผนการใช้พื้นที่หรือผังพื้นยังคงเป็นแบบหรือใกล้เคียงแบบประเพณีเดิม
เรือนไม้มีการใช้ช่างไม้ออกแบบก่อสร้างแทนการสร้างเองโดยเจ้าของและเพื่อนบ้าน ทำให้รูปแบบของเรือนประเภทนี้จึงแตกต่างกันไปมากมาย มีความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรมมากขึ้น นอกชานด้านหน้าบ้านเหลือน้อยลง หรือตัดออกไป หรือเพิ่มหลังคาคลุมส่วนชานนี้เสีย
เรือนไม้นี้ ในระยะต่อมาเมื่อล้านนารับวัฒนธรรมการปลูกเรือนจากภาคกลางในช่วงรัชกาลที่ 5 ก็มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ประดับประดามากขึ้นตามแบบแผนบ้านพักอาศัยในกรุงเทพฯที่ได้รับอิทธิพลจากเรือนพื้นถิ่นอังกฤษที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง และมีการใช้ลายไม้ฉลุประดับตกแต่ง ชาวบ้านเรียกเรือนในยุคนี้ว่า เฮือนสมัยกลาง โดยเรียกเรือนไม้ตามแบบเดิมว่า เฮือนบ่าเก่า
ผังเรือนไม้ที่ยังคงรักษารูปแบบเรือนแฝด มีช่องระเบียงทางเดินแคบๆกั้นกลางและเป็นช่องทางเดินออกไปสู่ส่วนหลังบ้านซึ่งมักจะเป็นครัวไฟและชานหลัง มีเติ๋นอยู่ในตำแหน่งเดิมที่เคยมีในเรือนกาแล คือหน้าห้องนอนและมีประตูติดต่อกัน
เรือนไม้แบบเรือนแฝด
เรือนไม้แบบเรือนเดี่ยว ที่มีนอกชานวิ่งยาวตามแนวระเบียงทางเดิน
เรือนไม้แบบเรือนแฝดขนาดใหญ่ที่อำเภอแม่แจ่ม
มีเรือนขวางอยู่ด้านหน้าคลุมส่วนชานหน้าไว้ และเรือนขวางด้านหลังเป็นครัวไฟ
เรือนหลังนี้ยกใต้ถุนสูงเพื่อใช้งานเอนกประสงค์ บันไดขึ้นสู่ชานหน้ามีหลังคาคลุม ใต้ชานพักบันไดมีกระเบื้องดินขอที่เก็บไว้สำหรับซ่อมแซมหลังคา เพราะกระเบื้องดินขอนั้นบอบบางและแตกหักง่าย
เรือนไม้แบบเรือนร้านค้า สร้างหันด้านยาวและชิดทางสัญจร เพื่อเปิดร้านค้าขายที่ชั้นล่าง
เรือนสมัยกลางที่ยังเป็นเรือนแฝดแต่ประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย
เรือนไม้สมัยกลาง
เรือนสมัยกลางในจังหวัดลำพูนที่มีหลังคาซับซ้อน
เรือนสมัยกลางในจังหวัดลำพูนที่ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายอย่างงดงาม
การใช้เกล็ดไม้ติดตายในเรือนสมัยกลางประเภทเรือนร้านค้าที่ย่านวัดเกตุ
ปัจจุบันเรานับเอาดินแดนตอนบนของไทย ได้แก่ เขต 8 จังหวัดในภาคเหนือ คือจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ เป็นภูมิภาคล้านนา เพราะเป็นดินแดนของอาณาจักรล้านนาในอดีต และมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันเป็นแบบล้านนา มีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง
การตั้งถิ่นฐาน- สภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือที่เป็นที่ราบลุ่มภูเขาและหุบเขาทำให้มีลักษณะของการตั้งถิ่นฐาน 2 แบบ คือ
1. - ตั้งบนที่สูง ตามทิวเขา หุบเขา ได้แก่กลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ(ชาวเขา) ปลูกข้าวไร่หรือทำไร่เลื่อนลอย
2. - ตั้งตามที่ราบลุ่ม ทำนาแบบทดน้ำระบบเหมืองฝาย น้ำท่วมขังต้นข้าวซึ่งมีความแน่นอนและได้ผลผลิตสูงกว่า พอเลี้ยงผู้คนได้เป็นจำนวนมาก
- ล้านนามีสภาพการตั้งถิ่นฐานและลักษณะหมู่บ้าน 3 ลักษณะ คือ
1. หมู่บ้านป่าหรือชนบท
เป็นหมู่บ้านที่ตั้งโดดเดี่ยวห่างไกล ติดต่อกับภายนอกน้อย จึงมีลักษณะที่เลี้ยงตัวเองมาก วัสดุก่อสร้างเรือนพักอาศัยเป็นวัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก การก่อสร้างก็เป็นการสร้างกันเองหรือลงแขก มากกว่าที่จะมีผู้มีอาชีพช่างสร้างให้
2. หมู่บ้านนอกเขตเมือง
มักเกิดตามแนวเส้นทางสัญจร มีตลาดและศูนย์กลางปกครองท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างเมืองกับชนบท หรือระหว่างชุมชนเอง หมู่บ้านเหล่านี้ได้รับความเจริญด้านการก่อสร้างจากเมือง มีวัสดุก่อสร้างใหม่ๆ มีการใช้ช่างก่อสร้างเช่น ช่างไม้ มากกว่าการสร้างกันเองหรือลงแขก อาคารมีความประณีตมากขึ้นและมีลักษณะเป็นอาคารถาวรมากขึ้น ใช้กระเบื้องมุงหลังคา เช่นกระเบื้องดินเผา กระเบื้องซิเมนต์
3. หมู่บ้านในเขตเมือง
หมู่บ้านเหล่านี้ อาจอยู่ภายในหรือชานเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางหลักของจังหวัดหรือภูมิภาค ที่แม้ความเจริญทำให้เสียลักษณะของหมู่บ้านไปแล้ว แต่รูปแบบหรือลักษณะทางกายภาพของตัวเรือนยังคงมีเอกลักษณ์หลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้ของชนชั้นกลาง
รูปแบบของหมู่บ้าน 2 ลักษณะ1. หมู่บ้านแบบกระจายตัวตามแนวยาว (Linear scatter)
2. หมู่บ้านแบบกระจายเป็นกระจุก (Clustered scatter)
การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝายของชุมชนล้านนา
ด้วยภูมิประเทศที่ไม่ใช่ที่ราบเหมือนภาคกลาง แต่ประกอบไปด้วยภูเขา เนินและที่ราบสูงต่ำไม่เสมอกันของล้านนา การนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติคือแม่น้ำสายต่างๆไปสู่พื้นที่ต่างๆที่ห่างไกลออกไปเพื่อการบริโภคและเกษตรกรรมจึงต้องอาศัยการชลประทานที่ดีและได้ผล ชาวล้านนารู้จักการทำระบบชลประทานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายหรือก่อนหน้านั้นและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบเหมืองฝายของล้านนาดังนี้
- พงศาวดารโยนกตอนหนึ่งว่า “ข้าจักลอมน้ำอันหนึ่งฟากน้ำปิง กล้ำวันออกให้เป็นแม่น้ำ ให้ชาวบ้านชาวเมืองแป๋งฝายเอาน้ำเข้านา”
- ชุมชนทำระบบเหมืองฝายเอง ทางการหรือชนชั้นปกครองไม่ได้ทำให้ แต่จะกำหนดนโยบายหรือให้คำแนะนำหรือจัดการเหมืองฝายขนาดใหญ่ให้ และส่งน้ำให้ชาวบ้านจัดการระบบเหมืองฝายขนาดเล็กในแต่ละชุมชนเอง
- ชนชั้นปกครองขุดเหมืองทำฝายเป็นพิธีกรรมแสดงอำนาจ เช่น พญามังรายขุดร่องน้ำประกาศชัยชนะต่อลำพูน
- มังรายศาสตร์กำหนดให้เป็นการร่วมแรงกันสร้างและบำรุงรักษาเหมืองฝาย มีการกำหนดโทษในการขโมยน้ำและทำเหมืองฝายชำรุดไว้ว่า “มันผู้ใดทำลายฝาย ให้เอาไปตัดหัว”
- ชาวล้านนามักเลือกทำเหมืองฝายบริเวณที่มีห้วยไหลมาจากเขา หรือตอนบนสุดของที่ราบ โดยทำทำนบกั้นแล้วส่งน้ำไปตามลำเหมืองสู่ที่ราบข้างล่าง
- เหมืองขนาดใหญ่ทำขวางลำน้ำ ยกระดับน้ำขึ้น ไหลสู่ลำเหมืองส่งไปเลี้ยงทุ่งนาได้เป็นบริเวณกว้าง โดยทำลำเหมืองขนาดต่างๆลดหลั่นกันไป
- ฝาย ใช้ไม้เป็นหลัก ตอกกั้นลำน้าเป็นแนวหนา โคนเสาเป็นตะแกรงไม้ไผ่สาน บรรจุแขนงไม้ลงไป หินกรวดทรายเททับลงไปเป็นคันกั้นน้ำ
- เหมืองเก่าแก่ คือ เหมืองแข็ง สร้างสมัยพญามังราย อ้ายฟ้าเกณฑ์ชาวหริภุญชัย มาขุดเหมืองขนาดใหญ่เชื่อมน้ำกวงกับน้ำแม่ปิงผ่านบริเวณพันนาเชียงเรือ ต่อมาสมัยพญากือนาเปลี่ยนชื่อเป็น เหมืองแก้ว
- แก่ฝาย และแก่เหมือง คือหัวหน้าชาวบ้านที่คอยดูแลการแจกจ่ายน้ำ ยุติข้อพิพาทแย่งน้ำ และปัญหาอื่นๆในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงการกำหนดวันเวลาในการเกณฑ์กำลังชาวบ้านมาสร้างหรือซ่อมแซม ขุดลอก เหมืองฝาย ซึ่งชาวบ้านจะเลือกผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านยอมรับนับถือ มีคุณธรรม ชาวบ้านเชื่อถือ
- ปัจจุบันยังมีหลายพื้นที่ที่ชาวบ้านร่วมกันวางกฎระเบียบการใช้น้ำขึ้นใช้เฉพาะถิ่น ต่างๆกันไปแล้วแต่พื้นที่ มีธรรมเนียมการลงโทษผู้ฝ่าฝืน แต่ลดน้อยลงไปมาก ความเจริญ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ เกิดความขัดแย้ง แก่ฝาย แก่เหมืองก็ไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยหรือยุติข้อพิพาทได้ เพราะเป็นนายทุนจากนอกพื้นที่
เรือนไม้ล้านนา
เป็นเรือนของผู้มีฐานะดี ใช้ไม้จริงทั้งหลัง ใต้ถุนสูง หลังคามุงกระเบื้อง มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีมากกว่า 1 ห้องนอน เป็นเรือนที่คลี่คลายแบบแผนการสร้างมาจากเรือนกาแล ใช้รูปแบบและความพิถีพิถันน้อยลง เพราะเป็นเรือนสำหรับสามัญชนที่กฎเกณฑ์ด้านฐานานุศักดิ์สถาปัตยกรรมลดลง จากเดิมที่สามัญชนจะสร้างได้แต่เรือนไม้บั่วเท่านั้น เรือนไม้จริงหรือเรือนกาแลนั้นสงวนไว้สำหรับผู้มีศักดิ์ทางสังคมสูง อาจเป็นผู้นำในสังคมหรือเจ้านาย หลังคาทรงสูงของเรือนกาแลถูกปรับลดลง ป้านลง ไม่มีการประดับตกแต่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ต้องการทำให้ทัดเทียม หรือเป็นเพราะฐานะราคาที่ถูกกว่าทรงสูง หรืออาจเป็นเพราะมีวัสดุมุงหลังคาชนิดใหม่ๆเกิดขึ้น เช่นกระเบื้องคอนกรีต สังกะสี ความจำเป็นที่ต้องทำหลังคาทรงสูงให้น้ำฝนไหลเร็วเพื่อแก้ปัญหาหลังคารั่วจากวัสดุมุงแบบเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่มีการประดับกาแล แต่แบบแผนการใช้พื้นที่หรือผังพื้นยังคงเป็นแบบหรือใกล้เคียงแบบประเพณีเดิม
เรือนไม้มีการใช้ช่างไม้ออกแบบก่อสร้างแทนการสร้างเองโดยเจ้าของและเพื่อนบ้าน ทำให้รูปแบบของเรือนประเภทนี้จึงแตกต่างกันไปมากมาย มีความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรมมากขึ้น นอกชานด้านหน้าบ้านเหลือน้อยลง หรือตัดออกไป หรือเพิ่มหลังคาคลุมส่วนชานนี้เสีย
เรือนไม้นี้ ในระยะต่อมาเมื่อล้านนารับวัฒนธรรมการปลูกเรือนจากภาคกลางในช่วงรัชกาลที่ 5 ก็มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มความซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม ประดับประดามากขึ้นตามแบบแผนบ้านพักอาศัยในกรุงเทพฯที่ได้รับอิทธิพลจากเรือนพื้นถิ่นอังกฤษที่เรียกว่า เรือนขนมปังขิง และมีการใช้ลายไม้ฉลุประดับตกแต่ง ชาวบ้านเรียกเรือนในยุคนี้ว่า เฮือนสมัยกลาง โดยเรียกเรือนไม้ตามแบบเดิมว่า เฮือนบ่าเก่า
ผังเรือนไม้ที่ยังคงรักษารูปแบบเรือนแฝด มีช่องระเบียงทางเดินแคบๆกั้นกลางและเป็นช่องทางเดินออกไปสู่ส่วนหลังบ้านซึ่งมักจะเป็นครัวไฟและชานหลัง มีเติ๋นอยู่ในตำแหน่งเดิมที่เคยมีในเรือนกาแล คือหน้าห้องนอนและมีประตูติดต่อกัน
เรือนไม้แบบเรือนแฝด
เรือนไม้แบบเรือนเดี่ยว ที่มีนอกชานวิ่งยาวตามแนวระเบียงทางเดิน
เรือนไม้แบบเรือนแฝดขนาดใหญ่ที่อำเภอแม่แจ่ม
มีเรือนขวางอยู่ด้านหน้าคลุมส่วนชานหน้าไว้ และเรือนขวางด้านหลังเป็นครัวไฟ
เรือนหลังนี้ยกใต้ถุนสูงเพื่อใช้งานเอนกประสงค์ บันไดขึ้นสู่ชานหน้ามีหลังคาคลุม ใต้ชานพักบันไดมีกระเบื้องดินขอที่เก็บไว้สำหรับซ่อมแซมหลังคา เพราะกระเบื้องดินขอนั้นบอบบางและแตกหักง่าย
เรือนไม้แบบเรือนร้านค้า สร้างหันด้านยาวและชิดทางสัญจร เพื่อเปิดร้านค้าขายที่ชั้นล่าง
เรือนสมัยกลางที่ยังเป็นเรือนแฝดแต่ประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย
เรือนไม้สมัยกลาง
เรือนสมัยกลางในจังหวัดลำพูนที่มีหลังคาซับซ้อน
เรือนสมัยกลางในจังหวัดลำพูนที่ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลายอย่างงดงาม
การใช้เกล็ดไม้ติดตายในเรือนสมัยกลางประเภทเรือนร้านค้าที่ย่านวัดเกตุ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)